RSS

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดสวน

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดสวน


ก่อนการออกแบบจัดสวน
การออกแบบจัดสวน คือการทำให้สวนมีความสวยงาม จะต้องมีความรู้พื้นฐานค่อนข้างจะสูงมาก ในเรื่องของการออกแบบ นอกจากนี้ สวนสวย ไม่ใช่ว่า สวนจะอยู่ได้นาน จะต้องดูว่าสวนสวย จะต้องมีการดูแลรักษาที่ดี เพื่อให้เขามีชีวิต ที่อยู่ได้ยาวนาน ด้วย หลักการออกแบบ จึงมีความ จำเป็น ต่อการจัดสวนมาก
เพราะถือว่าการออกแบบ การเขียนแบบ เป็นจุดเริ่มต้น ของงาน การออกแบบ ที่ดีต้องอาศัยความรู้อยู่ 2 อย่างด้วยกัน

1. องค์ประกอบของศิลป์ เป็นศิลปะที่เกิดจากการผสมผสานของจิตใจ สอดคล้องกับวิถีชีวิต และเพื่ออำนวยประโยชน์สูงทางด้าน ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ องค์ประกอบของศิลป์ ที่สำคัญได้แก่ สี ต้องมีความเข้าใจเรื่องของสี เรื่องของเส้น เรื่องของพื้นผิว เรื่องของรูปทรง เรื่องของรูปร่าง เรื่องของช่องว่าง และก็ลวดลาย ซึ่งถือว่าเป็น องค์ประกอบของศิลปะ ผู้ออกแบบจะต้องทำความเข้าใจ

2. หลักในการออกแบบ จะเน้นที่ความสมดุล จะเป็นสมดุลที่แท้จริง สมดุลแบบเชิงล้อเลียนธรรมชาติ อะไรก็แล้วแต่ ช่วงจังหวะทั่ว ๆ ไปที่เราเรียกว่า ลิทึม สำหรับมาตราส่วน ที่เหมาะสมกับพื้นที่ ความเป็นเอกภาพจัดไปแล้ว มีความเป็นหนึ่งเดียว ไม่หลากหลาย หรือสับสนมากเกินไป ความกลมกลืนของกลุ่มวัสดุที่ใช้ เช่น กลุ่มของหิน กลุ่มของพืชพันธุ์ ในระหว่างการสร้างจุดเด่น รวมถึง ความขัดแย้งถ้าเผื่อจำเป็น จะต้องมีอันนี้เป็นหลักของการออกแบบที่ดี ผู้ออกแบบที่ดี จะต้องศึกษา ข้อมูลเหล่านี้ให้ชัดเจนและเข้าใจ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีบางประเด็น ที่อยากจะให้ข้อเสนอแนะว่า ในการออกแบบเราก็มีข้อคิดหลาย ๆ ข้อคิดที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น กรณีของการใช้สีในการจัดสวน ถ้าหากเป็น ชาวตะวันออก จะนิยมใช้กลุ่มสีที่เป็นสีเย็นหรือสีพื้น หรือใส่เสื้อผ้าสีพื้นมากกว่า ฉูดฉาด เพราะฉะนั้นลักษณะพืชพันธุ์ สิ่งของที่นำมาใช้ วัสดุมักจะเป็นสีพื้น ๆ และดูได้นาน มีความกลมกลืนค่อนข้างยาวนาน แต่ถ้าเป็น การจัดสวน แบบชาวยุโรปตะวันตก เนื่องจากสภาพอากาศค่อนข้าง จะแปรปรวนง่าย สีที่ใช้ส่วนใหญ่ของพืชพันธุ์วัสดุ มักจะเป็น สีซ้อนและสีค่อนข้าง จะฉูดฉาด เน้นค่าของสีต่อพื้นที่ พื้นผิวที่ต่างกัน จะมีแปลงไม้ดอกสดใสมากมายในแถบยุโรปซึ่งแตกต่างกัน ในเรื่องการใช้สี นอกจากนี้จะพิจารณาถึง ฉากหลัง หรือ ผนังของอาคาร ต่าง ๆ อย่างเช่น กรณีของผนัง ถ้าเป็น ผนังของอาคาร ที่เป็นสีสว่าง ๆ ก็จะเลือกใช้วัสดุที่มีสีเข้ม เพื่อให้มองดูสวยขึ้น และในทำนองเดียวกัน ถ้าหาก ผนังอาคาร สีเข้มอยู่แล้ว อาจจะใช้วัสดุ พืชพันธุ์ สีสว่าง เพื่อมองดูเด่นชัด อาจจะมีความขัดแย้งกันอยู่บ้าง กรณีพื้นผิวต่อ งานออกแบบ อันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ ถ้ากรณีพื้นผิวหยาบ พืชพันธุ์ ที่นำมาใช้ก็ควร จะใช้ที่มีพื้นผิวละเอียดจะมองดู เป็นความขัดแย้งแต่ ถ้าหากเราต้องการให้มี ความกลมกลืนอาจจะ ใช้พื้นผิวที่หยาบ เช่น พันธุ์ไม้ที่มีใบใหญ่ใบหนา ถ้าหากว่าพื้นผิวหยาบ จะไว้ส่วนหลัง ส่วนหน้าก็จะเป็นพื้นผิวค่อนข้างจะปานกลาง หน้าสุดก็จะเป็นละเอียด ถ้าเป็นสนามหญ้าเปิดกว้าง ๆ จะใช้หญ้านวลน้อย ถ้าหากใต้ร่มไม้ ที่มีแสงไม่มากนัก จะใช้หญ้ามาเลเซีย หรือพื้นที่ขนาดเล็ก อาจจะใช้หญ้าที่ละเอียด เช่น หญ้าญี่ปุ่น การจัดสวน เพื่อให้เกิด ความสวยงาม บางทีสวนที่จัดซับซ้อนเกินไป ไม่ได้บ่งชี้ความสวยงาม ระยะยาว แต่สวนที่จัดให้เกิดความสวยงาม กลับกลายเป็นจัดสวนที่ง่าย มีสนามหญ้าเปิดกว้าง ดูแลรักษาง่าย ยาวนาน และเสริมสิ่งก่อสร้างหลักให้สวยงามมากขึ้น การจัดสวน อย่าให้เป็นเหมือน การจัดเรือนต้นไม้ หรือ ร้านขายต้นไม้ เป็นหลักการ ที่ค่อนข้างจะสำคัญ

การจัดสวนนั้นต้องวางแผน และเตรียมงานเป็นอย่างดี

การจัดสวนนั้นต้องวางแผน และเตรียมงานเป็นอย่างดี


การจัดสวนนั้นต้องวางแผน และเตรียมงานเป็นอย่างดี เพื่อให้สวนเสร็จตามวัน และ เวลาที่ต้องการจากการจัดสวนโดยทั่วไปจะพบว่า มีลำดับการทำงานเป็นขั้น ๆ เพื่อความสะดวก ในการ ทำงาน และมีผลให้งานแต่ละส่วนได้ผลดี


1) การเลือกซื้อพรรณไม้ (Getting plant) เป็นการสำรวจ และ หาแหล่ง พรรณไม้ ที่มีในแบบตามแหล่งต่าง ๆ ของร้านขายพรรณไม้ภายในเมืองนั้น โดยพยายามหาทั้ง ชนิดของต้นไม้, ขนาด, รูปทรง และราคาให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ ควรพยายามหลีกเลี่ยง การเปลี่ยนต้นไม้จากแบบเดิม นอกจากจำเป็นจริง ๆ เช่น ในกรณีที่ไม่สามารถจะหาไม้ชนิดนั้นได้ หรือมีแต่ไม่ได้ขนาด ตามที่ต้องการ ก็ควรเป็นอย่างอื่นแทน แต่นักจัดสวน ควรจะอธิบายเหตุผล ให้เจ้าของบ้าน เข้าใจถึงปัญหา และทราบถึงสิ่งนำมาทดแทนว่า เป็นชนิดใด และราคาใกล้เคียงกันหรือดีกว่าอย่างไรบ้าง เมื่อได้เลือก พรรณไม้ ตามที่ต้องการแล้ว ควรจะฝากไว้ที่ร้านค้านั้น ก่อนจนกว่า จะปรับที่เตรียมหลุม พร้อมที่จะปลูกได้จึงต้อง ขนย้ายในวันเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อเป็น การประหยัดเวลา น้ำมัน โดยการขนจากหลาย ๆ ร้านรวมกันวันเดียว อีกทั้งจะได้ไม่เป็นภาระ ในการรดน้ำต้นไม้ ถ้านำเอาต้นไม้ไปไว้บ้านที่จัดสวนนานเกินไป


2) การปรับที่ (Grading) การปรับที่ก่อนจะมีการปลูกต้นไม้นั้น เป็นงานที่ยาก ใช้เวลาและแรงงานมาก ปัญหามีมากถ้าหากว่า การก่อสร้างบ้านไม่เสร็จเรียบร้อย เพราะอาจมีการขุดท่อวางสายไฟ ประปา อีกก็ได้ และหลังจากที่ปรับที่เสร็จ เมื่อฝนตกฝนก็จะชะหน้าดิน เป็นร่องทำให้เสียเวลา ในการปรับที่ใหม่ เนินที่แต่งไว้อาจจะถูกเหยียบย่ำโดยคนงาน ที่มาทำงานอื่นในบ้าน เช่น ทาสี, ตั้งศาลพระภูมิ ฯลฯ ดังนั้นการปรับที่จึงต้องรอเวลาที่เหมาะสม โดยให้งานก่อสร้างส่วนใหญ่เสร็จแล้ว จะใช้ผู้ที่มีฝีมือที่จะปรับที่ให้เป็นรูปร่างตามที่นักออกแบบได้การปรับที่อาจเริ่มจาก การปรับหน้าดินให้เรียบตามระดับที่ต้องการ ซึ่งต้องใช้จอบย่อยดินให้ละเอียด และนำดินมาถมตามจุดที่ต่ำไป หรือถากดินออก บริเวณที่หน้าดินสูงเกินไป ช่วงใดที่ต้องการให้เป็นเนิน ก็เอาปูนขาวโรย แสดงขอบเขตของเนินนั้น ๆ (ดูจากแปลน) และทยอยเอาดินมาถมในบริเวณปูนขาว ให้สูงตามที่ต้องการ โดยไล่จากจุดต่ำสุด มายังจุดสูงสุดของเนิน เมื่อถมที่ได้ตามที่ต้องการแล้วควรรดน้ำและย่ำให้ดินแน่นไม่เป็นโพรง ทั้งนี้เพื่อกัน การทรุดตัวของเนินในภายหลัง หลังจากการใส่ดินตามจุดที่ต้องการแล้ว ควรรดน้ำให้ชุ่มมาก ๆ แล้วทิ้งไว้ 1 คืน ให้ดินหมวดจึงใช้ลูกกลิ้งบดดินให้เรียบ ถ้าช่วงไหนที่ดินยุบมากควรเพิ่มดินอีกการปรับดินควรปรับถึงการระบายน้ำด้วยโดยทั่วไปไล่ระดับของดินให้สูงไปหาต่ำตรงบริเวณที่เป็นท่อระบายน้ำ เพราะไม่ให้น้ำขังเมื่อฝนตก ทุกจุดของการจัดสวนต้องคิดถึงเรื่องการระบายน้ำ โดยเฉพาะสวนช่วยที่อยู่ใกล้ชายคาที่น้ำไหลลงมาเมื่อฝนตก ควรระวัง เลือกใช้พรรณไม้ และ ปรับทาง ระบายน้ำ บริเวณนั้นให้ดี ส่วนของสนาม ที่ระดับดิน เท่ากันแต่งให้เรียบเสมอขอบธรรมดา และถ้าในดินมีสนาม สูงกว่าถนน ที่ควรแต่งขอบให้โค้งและ ปูหญ้า ถึง ขอบถนน เพื่อกันดินพัง

3) การปรับหลุมปลูกต้นไม้ (Soil Preparation) ควรปลูกต้นไม้หรือไม้ประธานก่อน แล้วจึงเป็นไม้พุ่ม ให้คลุมดิน ตามลำดับ วิธีการเตรียมก็ดูตำแหน่งของต้นไม้นั้น ๆ จากแปลน จะทราบถึงระยะห่างของต้นไม้จากำแพง หรือผนังบ้านได้ เมื่อได้ตำแหน่งของต้นไม้แต่ละต้นแล้ว ใช้ปูนขาวไปวงตามจุดนั้น เพื่อที่จะเตรียมขุดโดยกะขนาดหลุมให้ตามชนิดของต้นไม้ เมื่อขุดดินออกแล้ว ควรย่อยดินให้ละเอียดผสมกับปุ๋ยที่ขายทั่วไป ผสมปุ๋ยสูตรสเสมอและปูนขาวอย่างละกำ เพื่อช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี แล้วกลบลงไปในหลุมตามเดิมเพื่อเตรียมรอปลูกต้นไม้ต่อไปการขุดหลุมปลูกไม้พุ่มควรขุดลึกประมาณ 0.4 – 0.5 m ถ้าไม้พุ่มอยู่ติดกันหลายต้น ควรขุดต่อกันเป็นแปลง ตามรูปร่างของตำแหน่งที่จะปลูก แล้วผสมดินใส่ปุ๋ยและปูนขาว ตามสูตรหลังจากนั้น ก็ขุดหลุมปลูกไม้คลุมดินควรขุดลึกเพียง 0.25 – 0.3 m ก็พอ ดินปลูกก็ดูตามชนิดของต้นไม้ด้วย ไม้คลุมดินที่นิยมปลูกทั่วไป คาดตะกั่ว, หัวใจม่วง, ก้ามปูหลุด, มหากาษ, โป๊ยเซียนแคระ ฯลฯ


4) การกำจัดวัชพืช (Weed Control) ในระยะที่ทำการขุดหลุม เพื่อเตรียมปลูกต้นไม้นั้นหรือหลังจากปรับที่ประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ วัชพืชก็จะงอกขึ้นมาภายหลัง ก็ควรกำจัดวัชพืชบริเวณนั้นออกให้ได้มากที่สุด ถ้ามีมากควรใช้ยากำจัดวัชพืชฉีด แต่ถ้าฉีดก็ควรทิ้งไว้นานพอสมควร (ตามฉลากยา) จึงปลูกหญ้าได้การกำจัดวัชพืชก็ควรมีเรื่อย ๆ แม้ว่าจะปลูกหญ้าไปแล้ว ก็ตามก็ควรจะขุดวัชพืชทิ้งเมื่อเกิดขึ้นมาอีก

5) การวางก้อนหิน (Setting Stones) ก้อนหินมีรูปทรงต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยไม่ได้ถูกตัด เพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะธรรมชาติของหิน ที่เปลี่ยแปลงไป โดยภูมิอากาศต่าง ๆ ซึ่งแต่ละแบบจะบอกถึง บรรยากาศของถิ่นที่มาของหินนั้น ๆ เช่น หินอาจเรียบหรือขรุขระ เนื่องจากลมและพายุ จากแม่น้ำ มหาสมุทร สีจะแสดงถึงความมั่นคงสงบนิ่ง หินที่มีรูปร่างกลม, หรือหินที่ขัดถูแล้ว จะไม่นิยมใช้ในการจัดสวน เพราะจุทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ สีที่นิยมคือสีน้ำตาล, แดง, ม่วง, เขียวปนน้ำเงิน สีขาวไม่นิยม เพราะขาวเกินไป และไม่ประทับใจเมื่อมองดู และควรหลีกเลี่ยง การใช้สีก้อนหินที่ติดกันนักจัดสวน จะสำรวจรอบ ๆ หินแต่ละก้อนอย่างถี่ถ้วนก่อน เพื่อที่จะตัดสินใจดูว่า ด้านไหนเป็นด้านหน้า ควรจะโชว์แก่ผู้ที่มาพบเห็น สังเกตจุดศูนย์ถ่วงของก้อนหิน ควรวางตรงไหน และจมลงดินเท่าไหร่ เพื่อให้เกิดความสมดุลในแต่ละก้อนที่วาง
การวางก้อนหิน 2 ก้อนนอกจากก้อนหิน 2 ก้อนแล้วก็จะจัดเป็น 3 ก้อน, 7 ก้อน ถ้ากลุ่มใหญ่ก็แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย สองหรือสามกลุ่มโดยมี 1 กลุ่มจัดเป็นรูปสามเหลี่ยมสูงสูงที่สุด และมีอีก 2 กลุ่มเล็ก และมีอีก 2 กลุ่มเล็ก วางให้สมดุลกับกลุ่มแรก--การจัดวางหิน 3 ก้อนหลีกเลี่ยงการจัดวางก้อนหินที่มีขนาดรูปร่าง และกลุ่มก้อนวางอยู่ใกล้กัน เพราะจะดูไม่เป็นธรรมชาติ และไม่จุดเด่นใน กลุ่มหินนั้น ๆการเคลื่อนย้ายก้อนหิน ควรมีเครื่องทุ่นแรงช่วย เช่น รถเข็น ท่อนไม้ สำหรับงัดหิน เชือกสำหรับดึงหรือผูกก้อนหินเพื่อหาม เป็นต้น ถ้ามีการปรับที่แล้วไม่ต้องการให้ดินยุบไปตามน้ำหนักของล้อรถเข็นก็ใช้ไม้กระดาน วางพาดบนรองล้อรถเข็นไว้ ก็จะช่วยให้ดินไม่เป็นรอย ถ้าในกรณีหินก้อนใหญ่มากก็ต้องใช้บั้นจั่นช่วยยก ก่อนที่จะยกไปวาง ควรจะกะให้ดีถึงมุมใด ที่ก้อนหินจะตั้งและขุดดินไว้ลึกพอสมควร ที่ต้องการฝังหินลงจะได้ง่ายในการขยับ และเคลื่อนย้ายหิน เพื่อไม่ต้อง เปลี่ยนแปลงตำแหน่งบ่อย


6) การปลูกไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้คลุมดิน (Planting) เมื่อได้เตรียมหลุม และเตรียมดินในหลุมเรียบร้อยแล้ว ก็เตรียมปลูกต้นไม้มาจาก แหล่งชื้อต่าง ควรปลูกไม้ใหญ่ก่อน โดยนำต้นไม้ไปใกล้ปากหลุม ถอดกระถางออกหรือทุบกระถางให้แตก เพื่อกันการกระเทือนของราก โกยดินออกจากหลุมให้ลึกเท่ากับ ความสูงของกระถางวางต้นไม้ไว้ในหลุม กลบดินให้แน่นให้ โคนต้นไม้เสมอปากหลุมรอบ ๆ โดยต้นไม้ควรทำเป็นแอ่งรับน้ำไว้ เพื่อให้ต้นไม้ได้รับมากที่สุด เมื่อปลูกแล้วควรค้ำโดยไม้ไผ่, ไม้สน ใช้ไม้ประมาณ 3 อัน โดยจับต้นไม้ให้ตรงแทงกิ่งไผ่ลงในดิน ค้ำเป็นสามเหลี่ยมมัดด้วยเชือกให้แน่นทั้งนี้ เพื่อการกันโยกของต้น เมื่อลมพัด เพราะการโยกของต้น จะทำให้รากกระเทือน หรือขาดได้การปลูกไม้พุ่มในแปลงใหญ่ ที่เตรียมไว้ การเว้นระยะที่พอเหมาะพอ การเจริญเติบโตของไม้พุ่มชนิดนั้น ๆ ด้วย ถ้าต้นไม้อยู่ในตำแหน่ง ที่ลมพัดแรง ก็จะทำให้ทุกต้นและ ควรรอจนไม้เหล่านั้นตั้งตัวได้ จนแตกใบใหม่ออกมา จึงเริ่มตัดแต่งที่ตรงพุ่มให้เป็นตามที่ต้องการการปลูกไม้คลุมง่ายต่อ การถอดกระถางออก เพราะเป็นกระถางเล็ก จะลงไม้คลุมดินส่วนใหญ่ค่อนข้างทนทาน เมื่อถอดกระถอด อย่างลืมเอาเศษกระดาษที่รองใต้กระถางออก ด้วยถ้าภายในกระถาง มีหลายต้นก็แยกออกปลูกได้ จะได้ประหยัดต้นไม้อีก เพราะไม้คลุมดินเติบโตได้เร็ว และต้องตัดแต่งอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้หนาแน่นไป
การปลูกต้นไม้ชนิดต่าง ๆ สมควรให้เป็นไปตามที่กำหนด แต่เมื่อได้ทำการปลูกและจัดวางตามแปลงไว้ ความรู้สึกของ ผู้ออกแบบ ที่มองสวนในขณะนั้นไม่สมบูรณ์ หรือมีความรู้สึกว่าบางสิ่งบางอย่างขาดหายไป ก็สมควรที่ จะเพิ่มเติมบางส่วนโดยใช้ต้นไม้, หิน ฯลฯ เพื่อให้บริเวณนั้น ๆ ดูเหมาะสมกลมกลืนมากขึ้น การปรับปรุง และการเพิ่มเติมนี้จำเป็นแทบทุกครั้ง เพราะเคยกล่าวแล้วว่า แบบจะให้ผล สมบูรณ์เพียง 80 – 85 % เท่านั้นจะไม่ครบถึง 100% เต็มตามที่ได้กล่าวไว้ นอกจากในกรณีจำเป็นจริง ๆ เช่นงบประมาณที่กล่าวไว้มีจำนวนจำกัดมาก หรือเจ้าของบ้าน พอใจให้เป็นตามแบบ ซึ่งในกรณีนี้ผู้ออกแบบ อาจชี้แจงให้เข้าใจ หรือจะจบงานไว้เพียงแค่นี้ไม่ได้ แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่เป็นผลดีต่อผู้ออกแบบ เพราะในความรู้สึกของผู้ออกแบบจะทราบถึงข้อบกพร่อง ที่ต้องเพิ่มเติมแก้ไข แต่เมื่อทำไม่ได้ก็จะทำให้ผู้ออกแบบ ไม่ภูมิใจในผลงานเท่าที่ควร เพราะถือว่าไม่ได้ ทำหน้าที่ของตนเอง อย่างสมบูรณ์


7) การปูหญ้า (Lawn Installation) ก่อนที่จะปลูกหญ้า ควรจะปรับที่ให้เรียบ เพราะหน้าดินอาจจะถูกซะเป็นร่องหรืออาจเป็นหลุม ควรปรับให้เรียบ โดยใช้ดินถม หลุมอัดให้แน่น ดูการระบายน้ำเมื่อฝนตก หรือเมื่อรดน้ำเพื่อปรับระดับ ก่อนปลูกหญ้าเมื่อปรับระดับเรียบร้อยแล้ว ก็ควรสั่งทรายและหญ้า ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยเทศบาล โดยกะจำนวนให้ถูกต้องหญ้าควรเลือกชนิด ให้ถูกต้องต่อสภาพของแสง เช่น ในร่มใช้หญ้ามาเลเซีย, แดดจัดใช้หญ้านวลน้อย, ญี่ปุ่น เบอร์มิวด้า ควรคำนวณว่า อย่างละกี่ตารางเผื่อขาดเหลืออีก 10 – 20 m ควรสั่งหญ้ามาส่งภายในวันที่จะปลูก ถ้าปูหญ้าหลายวัน ควรทยอยส่ง จะไม่ทำให้หญ้าเหลืองทราย อาจใช้หนา 1 – 2 cm คำนวณคร่าว ๆ ใช้ทราย 1 ลูกบาศก์เมตร ต่อพื้นที่ 60 ตารางเมตร กะสั่งทรายมาส่งก่อนหญ้า 1 วันปุ๋ยคอก หรือปุ๋ย ก.ท.ม 1 กระสอบต่อพื้นที่ 60 ปูนขาว เพื่อลดความเป็นกรดของดิน 1 ถุงต่อพื้นที่ 60 ใช้ปูนขาวฝุ่น ไม่ควรใช้ปูนขาวก่อสร้าง มีดสำหรับตัดหญ้า, ไม้สำหรับทุบขอบหญ้า หรือลูกกลิ้งบกหญ้าเมื่อวัตถุมีพร้อมทุกอย่าง ควรเริ่มโดย การนำทรายไปเกลี่ย บนพื้นที่ปลูกหญ้าใช้ไม้ปาดให้เรียบ เพื่อปรับระดับที่เป็นหลุมบ่อเล็กน้อย ให้สม่ำเสมอ โปยปูนขาวและปุ๋ย คอยหรือปุ๋ยเทศบาลให้ทั่วเริ่มปลูกหญ้าที่วางพับกันไว้ อาจปูตามแนวใดแนวหนึ่ง ของสนามก็ได้ วางหญ้าให้ขอบชิดกันพอดี หรือห่างกัน 1 cm เพื่อจะได้ใช้ลูกกลิ้งอัดทั้ง 4 ด้าน อีกครั้ง แต่ถ้าไม่มีลูกกลิ้งก็ปูหญ้า โดยจับขอบให้ชิดกันสูงจากนั้น 1 นิ้ว แล้วใช้มือทุบลงให้ชนกัน สนิทที่พ้น หรือใช้ไม้ทุกอีกครั้งหนึ่ง ให้ทั่วและปูต่อกันไปเรื่อย ๆ บริเวณโคนต้นไม้ควรปูให้ทับโคนแล้วตัดออกเป็นรูปวงกลม หลีกเลี่ยงการปูที่ต้องแซมหญ้านั้นเล็ก ๆ นิดเดียวเพราะโดยโอกาสตาย จะมีมากกว่าพื้นใหญ ่เมือปูให้ส่วนหนึ่งแล้ว ควรลดน้ำตามให้ชุ่มนอกจากดิน จะชื้นมากอยู่แล้ว แต่ถ้ารดน้ำทันทีที่ปูเสร็จวันละ 2 – 4 ครั้งจนถึง 2 อาทิตย์ จึงลดวันละครั้งให้ชุ่ม


8) การปูทางเท้า (Laying pavements) ควรปูทางเท้าหลังจากที่ได้ปูหญ้าเรียบร้อยแล้ว ก็กำหนดแนวทางเท้าบนสนามหญ้าให้ถูกต้อง อาจจะใช้ปูนขาวโรยเป็น แนวทางตามแบบเลือกวัสดุที่ทำเป็นทางเท้า ซึ่งมีหลายเหลี่ยมและหลายขนาดโดยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 cm, 30 cm รูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม วงกลมหรือหกเหลี่ยม ส่วนความหนานั้นแล้วแต่ชนิดของวัสดุ
หินล้าง : สะดวกในการใช้ ปลอดภัย สวยพอประมาณ ราคาปานกลาง
หินกาบ : ระวังเรื่อง ความคมของหินกาบ สวยมาก ราคาสูง
ซีเมนต์อัด : เป็นรูปต่าง ๆ ของบริษัทปูนซีเมนต์
ซีเมนต์ : แบบเรียบสี่เหลี่ยม ไม่มีสี ราคาถูก
ศิลาแลง : หนา 10 cm สวยเหมือนธรรมชาติ แต่เปราะง่าย
นอกจากตัวอย่าง ทางเท้าสำเร็จรูปที่กล่าวมาแล้วก็อาจมีทางเท้าที่ทำขึ้น ด้วยซีเมนต์เป็น ตลอดแนว เช่น ลาดซีเมนต์เอากรวดโรย, หินหรืออิฐเป็นก้อน ๆ เป็นต้น ถ้าทำทางเท้าแบบนี้ควรทำก่อนจะปลูกหญ้าเมื่อเลือกวัสด ุที่จะทำเป็น ทางเท้าได้แล้ว ก็จะทำการปูไดเลย โดยปูห่างจาก จุดศูนย์กลางของแผ่นเท่ากับ 60 cm เพราะถ้าใกล้กันเกินไป จังหวะที่พลาดไปคือเดินลงไปบนหญ้าสลับกับทางเท้า ถ้าจะให้แน่ใจควรลองวางดูด่อนเล้ว เดินดูก่อนแล้วเดินดูก็จะดี เมื่อวางแผ่นทางทางเท้าลงบนเส้นที่กำหนด คือ ให้แนวปูนขาวเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางของแผ่นทางเท้าเท่ากันตลอด ใช้มีดเฉือนหญ้าตามรูปแผ่นทางเท้า

9) การตัดหญ้า, ให้ปุย, ฉีดยาฆ่าแมลง (Mowing, Fertilizing and Past Control)เมื่อปูหญ้าได้ประมาณ 2 อาทิตย์แล้ว ก็ควรตัดหญ้าที่ปูไว้จะขึ้นไม่เสมอกัน ไม่ควรปล่อยให้หญ้าสูงเกินไป หรือมีดอก เพราะจะทำให้ หญ้าเหลือง เมื่อตัดหญ้าออก ควรตัดหญ้าแห้งไม่เปียกน้ำ แต่โดยประมาณ 12 – 14 วันต่อ 1 ครั้ง โดยตัดออกประมาณ
ส่วนส่วนเครื่องมือที่ใช้ตัดหญ้ามี
1. กรรไกร ใช้ตัดแต่งสนามแคบ ๆ
2. เครื่องตัดหญ้าแบบใบพัดหมุน ใช้ตัดหญ้าได้สูง 1 – 5 นิ้ว
3. เครื่องตัดหญ้าแบบใบพัด หรือลูกกลิ้ง เมื่อตัดหญ้าเรียบร้อยแล้ว ควรใส่ปุ๋ยสูตร 13 - 13 - 13 สลับกับปุ๋ยยูเรีย







พันธุ์ไม้ที่ใช้ในการจัดสวน

พันธุ์ไม้ที่ใช้ในการจัดสวน


สวนกับต้นไม้เป็นของคู่กัน ความสวยของสวนขึ้นกับต้นไม้ พรรณไม้ รวมทั้งองค์ประกอบต่างๆ และ การจัดวางอย่างมีศิลปะ สวนขนาดเล็ก จัดได้จัดแบ่งกลุ่ม พรรณไม้ ไว้ดังนี้
1.ไม้ยืนต้น
2.ไม้ประธาน
3.ไม้พุ่ม
4.ไม้คลุมดิน
5.ไม้น้ำ


1.ไม้ยืนต้น
เป็นต้นไม้ใหญ่ สูงกว่า 3 เมตร สำหรับปลูกเพื่อให้ร่มเงากับพื้นที่ บ้าน หรือสนาม และเป็นฉาก ของต้นไม้อื่น สวนขนาดเล็ก ปลูกไม้ใหญ่ได้น้อยต้น จะปลูกได้กี่ต้นขึ้นกับขนาดพื้นที่ ในการใช้จัดสวน มีหลักในการปลูกดังต่อไปนี้
ไม้มุมบ้านเพื่อลดความกระด้างของเหลี่ยมเสา อาจปลูกต้นเดียว หรือปลูกสามต้นทำมุมกัน ขึ้นกับสภาพพื้นที่ ขนาดต้นไม้ การเจริญเติบโตของพืชนั้น ไม่นิยมปลูกเป็นแถว นอกจากจะปลูกเพื่อบังลมหรือบังสายตา ให้ปลูกไม้ยืนต้นทางด้านทิศตะวันตก เพื่อช่วยบังแสดงแดดที่ร้อนแรงของช่วงบ่ายจะช่วยลดความร้อนในตัวบ้าน ประหยัดค่าไฟแอร์ พัดลมไปได้มาก
ไม้ใหญ่หรือไม้ยืนต้น ไม้ประเภทนี้มีลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีลำต้นหลัก ตั้งตรง ต้นเดียวแล้วจึงแตกกิ่งก้านบริเวณยอด โตเต็มที่สูงเกิน 5 เมตร มีอายุยืนยาวหลายปี เช่น สน เต็ง รัง แดง สัก ประดู่ นนทรี จามจุรี มะขาม
ไม้ยืนต้น มีลำต้นแข็ง เป็นลำต้นเดี่ยว ๆ ขึ้นไปจนถึงยอด สูงใหญ่ และอายุยืน มีทั้งไม่ยืนต้นขนาดเล็ก เช่น แก้ว โมก แสงจันทร์ ยี่เข่ง เชอร์รี่ มะนาวเทศ หนามแดง คอร์เดีย ไม้ยืนต้นขนาดกลาง เช่น พิกุล ลั่นทม กุ่มบก มะกล่ำตาช้าง ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ อินทนิลบก และไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เช่น ขนุน แคแสด ชมพูพันธุ์ทิพย์ ประดู่ สาเก ปีป (สูง 10-25 เมตร เป็นทั้งไม้ขนาดกลางถึงไม้ขนาดใหญ่) ไทร เสลา ตะแบกนา ไม้ยืนต้นใช้ปลูกเป็นร่มเงา ปลูกเป็นจุดเด่นหรือไม้ประธานในสวน มีทั้งไม้ดอก และไม้ผล บางชนิดไม่ควรปลูกใกล้ตัวบ้านหรือกำแพงมากนัก เพราะระบบรากแข็งแรง โดเร็ว อาจชอนเข้าไปยังฐานรากหรือตัวบ้าน และกำแพงจนร้าว เช่น ไทร หางนกยูงฝรั่ง หูกวาง บางชนิดมีกิ่งเปราะหักง่าย และอันตราย โดยเฉพาะเวลามีพายุเช่น ชมพูพันธุ์ทิพย์ ประดู่ ดังนั้น การปลูกต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ต้องคำนึงถึงขนาดของมันเมื่อโตขึ้นในอนาคตด้วย
ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต
ดินเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการเกษตร เพราะเป็นแหล่งอาหารของพืช เป็นที่ยึดเกาะของรากพืช เพื่อยึดให้ลำต้นมั่นคงแข็งแรง รวมถึงเป็นที่เก็บน้ำ เพื่อการเจริญเติบโตของพืช
น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของทั้งพืช น้ำช่วยละลายธาตุอาหารในดิน น้ำมีส่วนช่วยลำเลียงอาหารจากรากไปยังส่วนต่างๆของพืช และช่วยลดอุณหภูมิของพืชด้วย
อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และแสงแดด ปัจจัยดังกล่าวมีผลกระทบกับการเจริญเติบโตของพืช พืชแต่ล่ะชนิดต้องการแสงแดดในปริมาณที่แตกต่างกันไป
การดูแลไม้ยืนต้น
ก่อนอื่นเราก็ต้องนึกถึงไม้ยืนต้นนั้นให้อะไรกับเรา ให้ร่มรื่น , ให้ผลไม้ , ให้ลำต้นประกอบความสวยกับ สวนของเรา ซึ่งการดูแลเราก็จะดูแลให้ มันได้จุดมุ่งหมายตามความต้องการของเรา เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้วเราก็จะแบ่งการ ดูแลรักษาออกไปตามนี้
การตัดแต่งกิ่ง สำหรับไม้ยืนต้น การแต่งกิ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ บางคนนึกว่าปลูก แล้วไม่ต้อง ตัดแต่งมัน พอเวลามันขึ้นใหญ่โต กิ่งไปบดบังบ้าน เกะกะก็ไปตัด ทำให้ต้นไม้เสียทรง พอแตก มาใหม่ก็จะไม่ สวยงาม สำหรับการตัดแต่งกิ่งถ้าเป็นไม้ให้ร่มเงา เราควรตัด ให้มีทรงพุ่มโปร่ง ทรงพุ่มด้านในควรแต่งให้โปร่งเหลือแต่ เรือนยอดเอาไว้ ตัดกิ่งกระโดงออก และเวลา ตัดกิ่งพวกนี้ ก็ควรตัดให้ชิดกับลำต้นใหญ่ การตัดแต่งกิ่งพวกนี้จะช่วยให้กิ่ง หลักรับ น้ำหนักน้อยทำให้กิ่งใหญ่ ไม่ฉีกขาด จะทำให้ทิศทาง ของลมพัดโกรก เข้าบ้าน หรือถ้าจะมีการตัดกิ่งใหญ่ก็ควรเอา กำมะถันผงหรือปูนกินหมากทาบริเวณแผล ลอยตัด เพื่อไม่ให้ เชื้อราเข้าทำลาย


2.ไม้ประธาน
พรรณไม้ กลุ่มนี้สูงประมาณ 1.2-3 เมตร ถ้เป็นสวนขนาดใหญ่ พรรณไม้ มีความสูงระดับนี้จะใช้เพื่อเป็นจุดหยุดสายตา หรือมุมมองเป็นบางช่วงของสวน แต่ในสวนขนาดเล็กนี้ เราจะใช้เป็นไม้ประธานเพื่อเป็นจุดเด่น หรือจุดดึงสายตา การวางตำแหน่งแสดง
ต้นไม้ประธาน ชนิดที่ชอบแสงแดดจัด
กรรณิการ์ กาหลง กุหลาบเมาะลำเลิง แก้วเจ้าจอม ข่อยดัด คอร์เดีย จันทร์ผา ซองออฟจาไมกา ซองออฟอินเดีย ดอนญ่า ตะโก เทียนหยด ไทร ไทรด่าง ปรงญี่ปุ่น ปาล์มแชมเปญ ปาล์มมนิลา ปาล์มแว็กซ์ ปาล์สิบสองปันนา ไผ่น้ำเต้า พุดพิชญาตอ พุดสามสี โมก สนแผง สนมังกร แสงจันทร์ หลิวทอง
ต้นไม้ประธานสูงมากกว่า 1.2 เมตร ชนิดที่ชอบแสงปานกลางถึงร่ม
กระดาดขาว กระดาดดำ กล้วยด่าง ของแดง จั๋งจีน ดาหลา ไทรย้อยใบแหลม ปาล์มจีบ ปาล์มไผ่ ปาล์มพัด ไผ่ฟิลิปปินส์ โมซ้อน วาสนา สร้อยกัทลี หน้าวัวใบ หมากเขียว หมากแดง เฮลิโคเนีย


3.ไม้พุ่ม
มีความสูงประมาณ 0.3-1.20 เมตร การปลูกไม้พุ่มให้สวยนั้น มีความสูงของไม้พุ่มมากกว่าหนึ่งระดับ เพื่อให้ ลดหลั่น และ เกิดมิติทาง ด้านสูง-ต่ำ นิยมปลูกเป็นแปลงเพื่อความเป็นระเบียบสวยงาม ดูแลรักษาง่าย และ เพื่อให้เห็น เส้นและรูปทรง ที่ชัดเจน โดยการแบ่งแปลงเป็นชั้นเพื่อให้เกิดมิติทางด้านหน้า-หลัง การออกแบบ จะเริ่มจาก เขียนขอบเขตของแปลง ไม้พุ่ม จากนั้นจึงเริ่มแบ่งแปลงต่อไป ไม่ควรแบ่งแปลงให้มีขนาดเท่ากันเกินไป โดยแปลงด้านหลัง ควรมีขนาดกว้างและสูงกว่าแปลงด้านหน้า และ แปลงด้านหน้าสุด จะมีความต่ำสุด และใช้เป็นไม้คลุมดิน นิยมแบ่งให้ได้ 3 ระดับ แต่สำหรับสวนขนาดเล็กอาจแบ่งแปลงเพียง 2 ระดับ ขึ้นอยู่กับกำแหน่ง และขนาดของพื้นที่
นอกจากนี้ยังสามารถปลูกไม้ประธาน เพื่อเพิ่มมิติให้ไม้พุ่ม หรือลดระดับ ความต่างกัน ของ ความสูง ระหว่าง ไม้ยืนต้น กับ ไม้พุ่ม ได้อีกด้วย
สำหรับสวนขนาดเล็กที่ไม่สามารถปลูกเป็นแปลง แต่ต้องการรายละเอียดสูงให้ดูเป็นธรรมชาติ การวางตำแหน่ง พรรณไม้ จะวางตำแหน่งชนิดละ 1 หรือ 2 ต้น หรือมากกว่า ขึ้นอยุ่กับสภาพพื้นที่ และความต้องการในออกแบบ
ไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 0.3-1.2 เมตร
ก้ามกุ้ง การะเกดหนู กำแพงเงิน โกสน ข้าวตอกพระร่วง เข็มเชียงใหม่ เข็มม่วง เข็มเงินอินเดีย ชบา ช้องนาง ชาฮกเกี้ยน แดงซีลอน ตรีชวา เทียนทอง นีออน บลูฮาวาย บานเช้า ใบเงิน ใบนาก ประทัดไต้หวัน ผกากรองเสียบกิ่ง ไผ่แคระด่าง พยับหมอก พลับพลึงหนู พุดซ้อน พุดตะแคง ฤาษีผสม
ต้นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 0.3-1.20 เมตร ชนิดที่ชอบแสงปานกลางถึงร่ม
กล้วยบัวชมพู ขาไก่ด่าง เขียวหมื่นปี คล้าแววมยุรา คล้าเสน่ห์ขุนแผน ซานาดู เดหลี เตยหอม ไผ่กวนอิม เฟินข้าหลวง มะขามเทศ่าง ลิ้นกระบือ สังกรณี สาคูด่าง สาวน้อยประแป้ง เสน่ห์จันทร์แดง หนวดปลาหมึกแคระ เหลืองคีรีบูน


4.ไม้คลุมดิน
(Ground Covering Plants)เป็น พรรณไม้ ที่อยู่ริมนอกสุดของแปลง มีความสูงน้อยกว่า 30 เซนติเมตร ปลูกเพื่อเชื่อมระดับ ความสูงของ ไม้พุ่มกับหญ้าหรือพื้นด้านหน้า และช่วยเน้นแนวขอบแปลงให้ชัดเจน สร้างความสูงของไม้พุ่มกับหญ้า หรือพื้นด้านหน้า และช่วยเน้นแนวของแปลงให้ชัดเจน สร้างความเป็น ระเบียบให้กับแปลงให้พื้นที่สวนมากขึ้น สำหรับไม้พุ่มบางชนิด โคนต้นจะทิ้งใบ ทำให้โคนต้นดูโล่ง ไม่สวยงาม การนำไม้คลุมดินมาใช้จะช่วยแก้ปัญหาส่วนนี้ได้ ในกรณีที่ไม้พุ่ม ภายในแปลงมีความสูงมาก ไม้คลุมดินก็ควรมีระดับสูงให้เหมาะสมกับไม้พุ่ม ซึ่งไม้พุ่ม บางชนิดอาจตัดให้สั้น เลี้ยงเป็นไม้คลุมดินได้ และในทางกลับกัน ไม้คลุมดินบางชนิดอาจเลี้ยงแบบปล่อยให้สูงเป็นไม้พุ่มได้เช่นเดียวกัน
กาบหอยแคลง ก้ามปูหลุด เงินไหลมา ดาดตะกั่ว ดาดทับทิม ปีกแมลงสาป เปเปอโรเมีย ผีเสื้อราตรี พรมกำมะหยี่ พลูด่าง(พลูทอง) เฟินเกล็ดหอย เฟินเงิน เฟินบอสตัน เหินใบมะขาม ระฆังทอง เศรษฐีเรือนนอก เศรษฐีก้านทอง หนวดปลาดุกแคระ กระดุมทองเลื้อย กำมะหยี่ เกล็ดแก้ว คุณนายตื่นสาย ซุ้มกระต่ายเขียว ซุ้มกระต่ายด่าง ดาห์ลเบิร์กเดซี่ ริบิ้นชาลี ไทรทอง บัวดิน บุษบาฮาวาย ผกากรองเลื้อย ผักเป็ดแดง ผักโขมแดง พิทูเนีย แพรเซี่ยงไฮ้ ฟ้าประดิษฐ์ ลิ้นมังกรแคระ
ตามบ้านเรือนและอาคารสถานที่ต่าง ๆ นั้น การปลูกต้นไม้ช่วยคลายเครียด ทำให้จิตใจแจ่มใส การจัดสวนประดับ พันธุ์ไม้ที่นำมาจัดตกแต่ง มีมากมายหลายชนิดหลายแบบ เพื่อให้การจัดสวนนั้น มีความกลมกลืนสวยงามและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่
ดับความ สูงต่ำของต้นไม้นับว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการจัด สวนประดับ กล่าวคือ ในสวนหย่อมหนึ่ง ๆ หรือมุมหนึ่ง จะประกอบไปด้วยต้นไม้หลัก ซึ่งจะเป็นจุดเด่นของมุมนั้น และมีต้นไม้รองเป็นส่วนประกอบอีก ซึ่งจะมีความสูงลดหลั่นกันไป ต้นไม้ประเภทหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ ในการจัดสวนก็คือ ต้นไม้ประเภท ไม้คลุมดินหรือ ไม้คลุมดิน
ไม้คลุมดินเป็นพืชที่มีความสูงจากพื้นดินไม่มากนัก นับตั้งแต่ผิวดินไปจนถึงสูงประมาณ 30 ซ.ม. ประโยชน์ของไม้คลุมดิน ใช้เป็นพืชรองรับไม้ประธานและไม้พุ่มใช้เพิ่มสีสันของสวน ใช้ตัดสีของต้นไม้กับสนามหญ้า หรือใช้ปลูกเป็นแปลงในรูปร่างต่าง ๆ ที่ออกแบบขึ้น เช่น รูปนาฬิกา รูปตัวอักษรต่าง ๆ เป็นต้น
ประโยชน์ของไม้คลุมดิน ก็คือ ไม้คลุมดินจะช่วยให้พื้นดินเก็บรักษาความชุ่มชื้นของน้ำได้ดีขึ้น ช่วยรักษาผิวหน้าดินไม่ให้ถูกน้ำไหลเซาะ ช่วยป้องกันการเจริญของวัชพืช และไม้คลุมดินเช่น พืชตระกูลถั่ว ยังช่วยบำรุงดินให้มีสภาพดีขึ้นด้วย
ไม้คลุมดินนั้นมีอยู่มากมายหลายชนิด ทั้งที่มีดอก และไม่มีดอก แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือไม้คลุมดินในร่ม และไม้คลุมดินกลางแจ้ง
ไม้คลุมดินในร่ม เป็นพืชที่ชอบแสงแดดน้อย สามารถปลูกได้ดีในสวนหย่อมบริเวณที่มีแสง-แดดส่องรำไร เช่นบริเวณใต้ชายคา ใต้ต้นไม้ใหญ่ ริมผนัง เป็นต้น ส่วนมากเป็นพืชที่มีสีใบสวยงาม ลำต้นค่อนข้างอวบน้ำ มีหลายชนิดที่สามารถปรับตัวเองให้รับแสงแดดมากได้ แต่จะมีสีและความยาวของข้อปล้องแตกต่างกันออกไปบ้าง ไม้คลุมดินที่นิยมปลูกในร่มเงา ได้แก่ ก้ามปูหลุด หนวดปลาดุกเปปเปอร์โรเมียกาบหอยแครง หัวใจม่วง อีพีเซีย เศรษฐีเรือนใน-เรือนนอก ฯลฯ
ไม้คลุมดินกลางแจ้ง เป็นพืชที่ชอบแสงแดดมากหรือแสงแดดจัด สามารถปลูกอยู่กลางแจ้งได้ดีส่วนใหญ่จะเป็นพืชที่มีดอกสวยงามและมีการนำไปใช้จัดสวนได้อย่างกว้างขวาง ประโยชน์ในด้านการตกแต่งมีมาก เช่นปลูกประดับในแปลง ปลูกในรูปร่างต่าง ๆ ขนานกับผิวดิน ปลูกประกอบกับไม้พุ่ม ฯลฯ ไม้คลุมดินกลางแจ้งที่นิยมใช้กัน ได้แก่ ผกากรองเลื้อย ฟ้าประดิษฐ์ ปอร์ทูลากาผักเป็ดสีต่าง ๆเกร็ดแก้ว บุษบาฮาวาย ไวท์ฮาวาย เวอร์บีน่า เดซี่เหลือง ฯลฯ
วิธีการปลูกไม้คลุมดิน ควรปลูกเป็นจำนวนมากหรือปลูกเป็นกลุ่มเพื่อความสวยงามดินที่ปลูกควรเป็นดินผสมอินทรียวัตถุ เช่น แกลบ ขุยมะพร้าว เปลือกมะพร้าวสับและปุ๋ยคอกเพราะรากของไม้คลุมดิน และอยู่ใต้ระดับผิวดินลงไปไม่มากนัก ถ้าปลูกในดินเหนียวแข็งพืชจะชะงักการเจริญเติบโต เพราะรากอยู่กับที่ ขยายออกไปไม่ได้ การปลูกไม้คลุมดิน โดยอาจทำเป็นร่องก็ได้ เพื่อแบ่งส่วนที่ปลูกพืชกับสนามหญ้าออกจากกัน เป็นการรักษาความชื้นและทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา
การดูแลรักษาไม้คลุมดิน จำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลรักษามากในเรื่องของการตัดแต่งกิ่งและการควบคุมขนาด เนื่องจากไม้คลุมดิน มีการเจริญเติบโตรวดเร็วมาก ต้องมีการตัดแต่งอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะเจริญเติบโตมากจนเกินไป ทำให้มองดูรก ไม่เป็นระเบียบ ไม้คลุมดินนั้น หากยิ่งตัดแต่งมากจะมีความสวยงามมาก เพราะทำให้แตกกิ่งก้านสาขาและยอดออกมามาก ทำให้ทรงต้นแน่นเป็นระเบียบโดยเฉพาะไม้คลุมดินที่ให้ดอกจำเป็นต้องตัดดอกออก เมื่อดอกเริ่มโรย หมั่นตัดดอก และเล็มยอดจะทำให้พืชแตกยอดและออกดอกมากขึ้น หลังจากตัดแต่งกิ่งแล้วใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรือ 16-16-16 กรณีที่ไม้คลุมดิน ควรใส่ปุ๋ยอัตรา 1 ช้อนชา บริเวณขอบ-กระถาง อาทิตย์ละครั้ง แล้วกลบทับด้วยปุ๋ยหมักและปลูกรดน้ำให้ชุ่ม เคล็ดลับของการปลูกใน ลักษณะกระถางดินผสมจะต้องสามารถระบายน้ำได้ดี เพราะไม้กระถางชอบชื้นไม่ชอบแฉะ ไม้คลุมดินจะสดชื่นออกดอกออกผลสวยงามอยู่ตลอดไป ในลักษณะเป็นกระถางแขวนควรทำขอบที่แปลงด้วย


5. ไม้น้ำ
เป็นไม้ที่สามารถเจริญเติบโตอยู่ในน้ำได้ดี แบ่งออกเป็น
5.1 ไม้น้ำที่รากหยั่งถึงดิน เช่น กกธูป กกญี่ปุ่น บัวชนิดต่าง ๆ ทั้งบัวหลวง (ปทุมชาติ : lotus) และบัวกินสาย บัวผัน บัวเผื่อน (อุบลชาติ : water-lily)
5.2 ไม้น้ำที่รากลอยน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด ผักตบชวา จอก แหน เป็นต้น
พรรณไม้ต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้วการเลือกใช้จะต้องพิจารณาว่า พรรณไม้นั้น ๆ เป็นไม้กลางแจ้ง (outdoor plants) หรือไม้ในร่ม (indoor plants) เป็นไม้ดอก (flowering plants) หรือไม้ใบ (foliage plants) จะปลูกเป็นกอในแปลงหรือปลูกเป็นไม้กระถาง (pot plants) แล้วนำไปวางประดับตามที่ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีไม้ประเภทอื่น ๆ เช่น ไม้ในตระกูลปาล์ม ไผ่ สน ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการจัดสวนได้สวยงาม การเลือกพรรณไม้สำหรับการจัดสวนที่ถูกต้อง จะทำให้การจัด ตกแต่ง ตลอดจนการดูแลรักษาสวน ทำได้ง่าย สวนจะมีลักษณะสวยงามและอำนวยประโยชน์ในการใช้สอยให้กับเจ้าของได้อย่างดียิ่ง

ไม้ดอกไม้ประดับที่ใช้ในการตกแต่งสวน

ไม้ดอกไม้ประดับที่ใช้ในการตกแต่งสวน


ไม้ดอกไม้ประดับ หมายถึง ไม้ดอกที่นำมาใช้ในการประดับตกแต่งสวน หรือสถานที่ต่างๆ โดยไม้ดอก (Flowering plant) หมายถึง พรรณไม้ที่ออกดอกมีสีสันสวยงาม หรือมีกลิ่นหอม อาจจำแนกไม้ดอกออกได้เป็น ๒ วิธี คือ วิธีแรกเป็นการจำแนกตามลักษณะของพรรณไม้ และวิธีที่ ๒ เป็นการจำแนกตามประโยชน์ใช้สอย


การจำแนกตามลักษณะของพรรณไม้ แบ่งออกเป็น ไม้ดอกที่เป็นไม้ล้มลุก ไม้ดอกที่เป็นไม้พุ่ม ไม้ดอกที่เป็นไม้เถาหรือไม้เลื้อย ไม้ดอกที่เป็นไม้ต้นหรือไม้ใหญ่ยืนต้น

1) ไม้ดอกที่เป็นไม้ล้มลุก (Flowering herb) หมายถึง ไม้ดอกประเภทที่มีวงจรชีวิตสั้น ส่วนใหญ่เมื่อเกิดมาแล้วจะเจริญเติบโตให้ดอกจนครบวงจรชีวิต แล้วตายภายในฤดูเดียวหรือปีเดียว จัดเป็นไม้ดอกฤดูเดียว เป็นไม้ดอกที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับมากที่สุด เพราะปลูกและตกแต่งได้ง่าย มีการเจริญเติบโตเร็ว นอกจากไม้ดอกล้มลุกที่มีอายุปีเดียวแล้ว มีไม้ดอกล้มลุกบางชนิดที่มีอายุมากกว่า ๑ ปี ซึ่งจัดเป็นไม้ดอกล้มลุกสองฤดู หรือไม้ดอกล้มลุกหลายฤดู


2) ไม้ดอกที่เป็นไม้พุ่ม (Flowering shrub) หมายถึง ไม้ดอกที่มีเนื้อไม้แข็ง ลำต้นตั้งตรงเป็นอิสระได้โดยไม่ต้องอาศัยต้นไม้หรือวัสดุอื่นยึดเหนี่ยวพาดพิง มีอายุอยู่ได้นานหลายปี มีความสูงไม่มากนัก และมีการแตกกิ่งก้านไม่สูงจากพื้นดิน เช่น เข็ม พุดลำโพง คริสต์มาส ชบา ชวนชม ดอนญ่า พยับหมอก ราชาวดี และยี่เข่ง


3) ไม้ดอกที่เป็นไม้เถา หรือไม้เลื้อย (Flowering climber) หมายถึง ไม้ดอกที่ไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้ด้วยตนเอง จำเป็นต้องอาศัยยึดเหนี่ยวพาดพิงต้นไม้หรือวัสดุอื่นในการทรงตัว หากไม่มีสิ่งใดให้พาดพิง ก็จะเลื้อยไปตามพื้นดิน เช่น เล็บมือนาง กระเทียมเถา ชำมะนาด อัญชัน กุมาริกา ถ้ามีอายุอยู่ได้หลายปี เราเรียกไม้ดอกดังกล่าวนี้ว่า ไม้เถายืนต้น แต่ถ้าเป็นไม้เถาที่มีอายุสั้น มีลักษณะล้มลุก เช่น รกฟ้า ผักบุ้งฝรั่ง เรียกว่า ไม้เถาล้มลุก


4) ไม้ดอกที่เป็นไม้ต้นหรือไม้ใหญ่ยืนต้น (Flowering tree) หมายถึง ไม้ดอกที่มีเนื้อไม้แข็ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นใหญ่กว่าไม้พุ่มและมีความสูงเกิน ๖ เมตร สามารถทรงตัวอยู่ได้ด้วยตนเอง มีอายุอยู่ได้นานปี เช่น เสลา ตะแบก อินทนิล นนทรี พิกุล ฝ้ายคำ ทองกวาว จามจุรี ประดู่ ประดู่แดง ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ แคแสด รัตมา แคฝรั่ง โสกอินเดีย ปีบ เหลืองอินเดีย และหางนกยูงฝรั่ง
การจำแนกตามประโยชน์ใช้สอย
เนื่องจากไม้ดอกมีอยู่มากมายหลายพันชนิด แต่ละชนิดมีประโยชน์ใช้สอยต่างกัน เพื่อความสะดวก และความคุ้มค่าในการนำไปตกแต่ง จึงมีการจำแนกประเภทไม้ดอกตามประโยชน์ใช้สอยดังนี้


1) ไม้ตัดดอก (Cut flower plant) หมายถึง ไม้ดอกที่ปลูก ณ สถานที่ที่มีภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม เช่น สายลม แสงแดด อุณหภูมิ ดิน น้ำ ความชื้นสัมพัทธ์ การคมนาคม และระยะทางที่เหมาะสม เพื่อตัดเฉพาะส่วนดอกหรือช่อดอกไปใช้ประโยชน์ หรือจำหน่าย เช่น แกลดิโอลัส เบญจมาศ เยอร์บีรา หน้าวัว กุหลาบ ดาวเรือง คาร์เนชัน และบัวหลวง ไม้ดอกดังกล่าวนี้ จะถูกตัดออกจากต้นไปใช้ประโยชน์พร้อมทั้งก้านดอกด้วย ทั้งนี้เพราะก้านดอกเป็นแหล่งสะสมอาหาร เมื่อดอกถูกตัดจากต้นเพื่อนำไปปักแจกัน หรือจัดกระเช้า อาหารที่เก็บสะสมไว้ที่ก้านดอกจะถูกนำมาใช้ ช่วยให้ดอกไม้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ดังนั้นคุณลักษณะสำคัญของไม้ตัดดอก นอกจากดอกจะต้องสวยสดแล้ว ก้านดอกก็ต้องใหญ่ ยาว และแข็งแรง แต่ไม่เกะกะเก้งก้าง บรรจุหีบห่อได้ง่าย ขนส่งสะดวก มีน้ำหนักไม่มากนัก และเก็บรักษาได้นาน ยังมีไม้ดอกอีกหลายชนิดที่มีก้านดอกสั้น ก้านดอกกลวงและเปราะหักง่าย แต่ดอกสวย หรือมีกลิ่นหอม อายุการใช้งานทนนาน สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีในวิถีชีวิตของคนไทย โดยการนำเฉพาะส่วนดอกไปร้อยมาลัย ทำอุบะ จัดพานพุ่ม หรือนำไปจัดแจกัน โดยใช้ก้านเทียมแทน เช่น รัก มะลิ พุด จำปี จำปา แวนดาโจคิม บานไม่รู้โรย 


2) ไม้ดอกกระถาง (Flowering pot plant) หมายถึง ไม้ดอกที่ปลูกเลี้ยงในกระถางตั้งแต่เริ่มเพาะเมล็ดหรือย้ายต้นกล้า โดยการเปลี่ยนกระถางให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ ให้เหมาะสมกับความสูงและการเจริญเติบโตของต้น เมื่อออกดอกจะนำไปใช้ประโยชน์ในการประดับทั้งต้นทั้งดอก พร้อมทั้งกระถาง ทำให้อายุการใช้งานทนนานกว่าไม้ตัดดอก เช่น บีโกเนีย แพนซี แอฟริกันไวโอเลต กล็อกซิเนีย อิมเพเชียน พิทูเนียม ไม้ดอกที่นำมาปลูกเป็นไม้กระถางจึงต้องมีทรงพุ่มต้นกะทัดรัด ไม่เกะกะเก้งก้าง หรือมีต้นสูงใหญ่เกินกว่าที่จะนำมาปลูกเลี้ยงได้ในกระถางขนาดเล็กพอประมาณ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการขนย้าย ที่สำคัญคือ ควรจะออกดอกบานพร้อมเพรียงกันเกือบทั้งต้น เพื่อความสวยงามในการใช้ประดับ ปัจจุบันวิทยาการเจริญก้าวหน้าอย่างมาก มนุษย์สามารถปลูกเลี้ยงไม้ดอกหลายๆ ชนิดแม้จะมีขนาดต้นสูงใหญ่ในกระถางขนาดเล็ก โดยการใช้สารเคมีที่เรียกว่า สารชะลอการเจริญเติบโต ราดหรือพ่น เพื่อทำให้ไม้ดอกเหล่านั้นมีขนาดต้นเตี้ยลงตามความต้องการ ตลอดจนใช้เทคนิคบางประการในระหว่างการปลูกเลี้ยง เพื่อบังคับให้ไม้ดอกออกดอกพร้อมเพรียงกันทั้งต้นได้ โดยคงจำนวน ขนาด และสี ตลอดจนความสวยงามของดอกให้ใกล้เคียงกับของเดิมทุกประการ
3) ไม้ดอกประดับแปลง (Bedding plant) หมายถึง ไม้ดอกที่ปลูกลงแปลง ณ บริเวณที่ต้องการปลูกตกแต่ง เพื่อประดับบ้านเรือน อาคารสถานที่ ตลอดจนสวนสาธารณะ โดยไม่ตัดดอกหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปใช้ประโยชน์ แต่ปล่อยให้ออกดอกบานสะพรั่งสวยงามติดอยู่กับต้นภายในแปลงปลูก เพื่อประโยชน์ในการประดับ จนกว่าจะร่วงโรยไป

ไม้ประดับที่ใช้ในการตกแต่งสวนภายในอาคาร

ไม้ประดับที่ใช้ในการตกแต่งสวนภายในอาคาร


การเลี้ยงไม้ประดับในอาคารนั้น ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นอะไรนักหนา แต่สำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มต้นเลี้ยงหรือผู้ที่เลี้ยงมานานแล้ว แต่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจดีพอ อาจประสบปัญหาได้เพราะการปลูกเลี้ยงไม้ประดับในอาคารนั้นใช่ว่าจะมีเพียงแค่การรดน้ำและการให้ปุ๋ยเท่านั้น แต่ยังมีข้อปลีกย่อยต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ที่จะนำท่านไปสู่ความสำเร็จในการปลูกเลี้ยงไม้ประดับในอาคาร


ข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ปลูกเลี้ยงไม้ประดับในอาคารควรจะทราบ
1. การเลือกซื้อไม้ประดับ
2. ข้อควรคำนึงในการเลือกซื้อไม้ประดับ
3. ข้อปฎิบัติในการนำต้นไม้กลับบ้าน
4. ข้อปฎิบัติเมื่อนำต้นไม้มาถึงบ้าน
5. ข้อควรคำนึงในการตั้งกระถางไม้ประดับ
6. ข้อควรจำในการรดน้ำต้นไม้
7. การดูแล่ต้นไม้ในฤดูร้อน
8. การทำความสะอาด
9. การทำหลักยึดเกาะ
10.การตัดแต่งกิ่ง
11. การรักษาความชุ่มชื้นให้กับต้นไม้
12. อันตรายจากความงาม
13. การสังเกตอาการผิดปกติของไม้ประดับและการแก้ไข


1. การเลือกซื้อไม้ประดับก่อนที่จะซื้อต้นไม้เข้ามาปลูกภายในบ้าน ควรจะต้องมีการวางแผนเอาไว้ล่วงหน้าเสียก่อน ไม่ใช้ไปพบเข้าโดยบังเอิญและเกิดชอบใจก็ซื้อกลับบ้าน คุณจะต้องแน่ใจก่อนว่าสภาพแวดล้อมภายในบ้านเหมาะกับต้นไม้ชนิดที่ต้องการหรือไม่ ถ้าคุณเริ่มต้นที่จะปลูกต้นไม้เป็นครั้งแรก อาจเริ่มต้นโดยการซื้อต้นไม้ที่มีความทนทานต่อทุกสภาพอากาศ เมื่อเลี้ยงให้รอดและเจริญเติบโตได้แล้วก็ค่อยเขยิบขึ้นไปทีละขั้นจนคุณมีความชำนาญ ค่อยหาพันธุ์ไม้ที่เลี้ยงยากมาปลูกการปลูปต้นไม้ภายในบ้านนั้นคุณต้องไม่ลืมว่าต้นไม้ต้องการแสง น้ำ อากาศ อุณหภูมิ ความชื้นและอาหาร เช่นเดียวกับต้นไม้ที่อยู่นอกบ้าน เพราะฉะนั้นก่อนที่คุณจะซื้อต้นไม้เข้ามาประดับภายในบ้าน คุณต้องรู้ถึงความต้องการของต้นไม้ว่าต้นไม้ชนิดนั้นต้องการปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตมากน้อยบแค่ไหน เพราะต้นไม้แต่ละอย่างย่อมมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้คุณอาจถามมาจากผู้ขายโดยตรงก็ได้สิ่งสำคัญอีกอย่างที่คุณต้องคำนึงถึงก็คือถ้าในบ้านของคุณมีเด็กหรือเลี้ยงสุนัข คุณตะต้องมีการเตรียมการป้องกันไว้ล่วงหน้าเสียก่อน เช่นกรณีที่คุณจะตั้งกระถางต้นไม้ไว้ที่พื้น คุณจะต้องหาพืชที่ทนทานต่อการเสียดสีหรือการจับต้องพอสมควร ส่วนต้นไม้ที่บอบบางเสียหายง่าย ควรจัดให้อยู่ในที่สูงหรือบริเวณที่จะไม่ถูกการจับต้องเสียดสีบ่อยนัก อีกข้อหนึ่งที่คุณไม่ควรจะลืมก็คือ คุณมีเวลาเหลือพอที่จะดูแลต้นไม้ที่คุณุซื้อมาปลูกบ้างหรือไม่ถ้าคุณพร้อมแล้วก็ไปเลือกซื้อต้นไม้มาประดับบ้านกันได้เลย

2. ข้อควรคำนึงในการเลือกซื้อไม้ประดับ
1. ควรซื้อจากร้านที่มีชื่อเสียงเชื่อถือได้ หรือซื้อจากสวนที่ผลิตโดยตรง
2. ไม่ควรซื้อต้นไม้ที่ตั้งขายอยู่นอกร้าน
3. ไม่ควรซื้อต้นไม้ที่มีตำหนิหรือร่องรอยของความเสียหายจากโรคและแมลง4.ตรวจดูกระถางและกันกระถางให้ดีอย่าเลือกต้นไม้ที่ปลูกอยู่ในกระถางที่มีรอยร้าวหรือแตกอย่างเลือกต้นไม้ที่รากโผล่ออกมาจากรูก้นกระถาง แล้วเป็ฯอันขาด เพราะทั้งสองอย่าง่นี้จะทำให้เกิดความเสียหายในขณะเคลื่อนย้ายได้
5. ไม่ควรซื้อต้นไม้ที่ดินในกระถางแฉะ เพราะนั้นแสดงว่าน้ำในกระถางไม่สามารถระบายออกไปได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหารากและโคนเน่าได
6. ในกรณ๊ที่เป็นไม้ดอก ควรเลือกเอาต้นที่ดอกกำลังตู่มเต็มที่ยังไม่บาน
7. จะต้องดูจนแน่ใจว่าต้นไม้ที่ซื้อนั้นไม่มีร่องรอยหรือตำหนิใด ๆ เลย
8. ไม่ควรซื้อต้นไม้ที่ใบเหี่ยว ใบลู่ลง หรือได้รับความเสียหายเป็นอันขาด
9. ไม่ควรซื้อต้นไม้เพราะเห็นว่าราคาถูกเป็นอันขาด
10. ขณะนำต้นไมักลับบ้าน ควรระมัดระวังอย่าให้ต้นไม้ได้รับความกระทบกระเทือนโดยเด็ดขาด

3.ข้อปฎิบัติในการนำต้นไม้กลับบ้านการนำต้นไม้ที่ซื้อมาแล้วกลับบ้านมีหลักปฎิบัติดังนี้
1. อย่าขนถ่ายต้นไม้ในวันที่มีลมแรง ฝนตกหนักหรืออากาษร้อนมาก ๆ
2.ถ้านำต้นไม้บรรทุกรถยนต์กลับบ้าน ควรยึดต้นไม้ไว้กับต้วรถให้แน่น อย่าให้ล้มหรือตะแคงได้
3. ต้นไม้ที่มีใบยาว ๆ หรือใบใหญ่มากควรใช้เชือกมัดรวบเข้าด้วยกันเพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากลม
4. รถยนต์ที่จะขนถ่ายต้นไม้ควรมีหลังคาเพื่อกันแดด ลมและฝนด้วย
5. ในกรณีที่ใช้รถกระบะที่ไม่มีหลังคาขนต้นไมั ควรใช้ตาข่ายหรืออวนคลุมต้นไม้ไว้เพื่อไม่ให้ลมตีใบไม้เสียหายขณะเดินทาง (ปัจจุบันใช้ซาแรน)
6. ควรขนถ่ายต้นไม้ในตอนเช้าและตอนเย็นที่อากาศไม่ร้อน
7. เมื่อนำต้นไม้มาถึงบ้าน ควรวางไว้ในที่ร่มเย็นสบาย อากาศถ่ายเทได้สะดวก
8. อย่ารดน้ำต้นไม้ทันทีที่นำมาถึง ควรให้ต้นไม้ได้ปรับตัวเอง ให้เข้ากับสภาพอากาศภายในบ้านสักพักหนึ่งก่อน


4. ข้อปฎิบัติเมื่อนำต้นไม้มาถึงบ้าน
1. อย่าให้น้ำทันทีที่ต้นไม้มาถึง ควรนำต้นไม้ไปตั้งไว้ในที่ร่มเย็นสบาย อากาศถ่ายเทได้สะดวก
2. ในระยะแรกควรให้น้ำแต่น้อย อย่าให้มากจนแฉะขัง
3. เมื่อต้นไม้สามารถปรับตัวได้แล้วคือประมาณ 2-3 สัปดาห์ จึงนำไปวางไว้ในตำแหน่งที่ต้อง
4. ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
5. อย่าพึ่งให้ปุ๋ยใด ๆ แก่ต้นไม้เป็นอันขาด
6. อย่ากระทำการใด ๆ กับต้นไม้ที่ใบและดอกร่วง นั้นคือผลจากการกระทบกระเทือนในขณะที่ขนต้นไม้มาบ้าน
7. เมื่อต้นไม้ตั้งตัวได้ดีแล้ว คือประมาณ 30-50 วัน จึงให้ต้นไม้ได้รับแสงแดดบ้างในช่วงเช้าที่แดดไม่ร้อนจัดจนเกินไป


5. ข้อควรคำนึงในการตั้งกระถางไม้ประดับ
1.ไม่ควรตั้งกระถางไม้ประดับในที่ที่มีลมพัดแรงๆหรือมีไอร้อนหรือไอเย็นพัดผ่านออกมาอยู่ตลอดเวลาเพราะไม้ประดับส่วนมากไม่ชอบลมโกรกหรือ มีอุณหภูมิสูง เนื่องจากจะมีการะเหยของน้ำออกมามากจนต้นไม้นั้นเหี่ยวเฉาตายได้
2.ต้องสังเกตหรือพิจารณาถึงแสงแดดหรือแสงสว่างเพราะไม้ประดับนั้นมีความต้องการแสงที่แตกต่างกันบางชนิดที่ต้องการแสงมากก็อาจตั้งไว้ใกล้กับ ประตูหน้าต่างหรือในที่ที่แสงสว่างส่องมาได้มากแต่บางชนิดที่ต้องการแสงน้อยก็ไม่ควรวางใกล้กับประตูหรือหน้าต่าง
3.ไม้ประดับที่มีกิ่งก้านเป็นพุ่มและต้องการเนื้อที่มากใม่ควรนำมาตั้งประดับใกล้กับทางเดินหรือทางเข้าออกเพราะจะทำให้กีดขวางต่อการสัญจรไปมา และอาจเป็นอันตรายต่อต้นไม้นั้นได้
4. ไม่ควรนำสิ่งใดมาผูกมัดกับไม้ประดับในกระถาง เพื่อตกแต่งประดับประดาสถานที่เป็นอันขาด
5. การใช้ไม้ประดับเพื่อตกแต่งภายในอาคารนั้น จำเป็นต้องมีไม้เพื่อสับเปลี่ยนไม่ควรใช้ไม้ประดับชุดเก่านานเกินไป เพราะจะทำให้โทรมได้
6. กระถางไม้ประดับนั้นควรจะมีจานรองก้นกระถาง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลออกจากรูกระถาง จนก่อให้เกิดความสกปรกเลอะเทอะ
7.ไม้ประดับที่ใช้ในอาคารนั้นควรมีความสูงไม่เกิน 6 ฟุต เพราะจะทำให้รก นอกจากจะเป็นอาคารที่มีหลังคาสูง
8.ควรระวังอย่าให้ไม้ประดับในกระถางรกเป็นอันขาดเพราะอาจเป็นที่ซุกซ่อนของสัตว์ร้ายเช่นงูหรือเป็นที่อยู่ของยุงและไม่ควรใช้ยาปราบศัตรูพืช กับไม้ประดับับในอาคาร
9. อย่าลืมว่าไม้ประดับที่อยู่ในกระถางนั้น ก็เหมือนกับสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในกรง นอกจากจะให้น้ำแล้ว ยังจะต้องไม่ลืมให้อาหารคือปุ๋ยอีกด้วย
10 การรดน้ำไม้ประดับที่อยู่ในอาคาร ควรรดแต่เฉพาะที่โคนต้น


6. ข้อควรจำในการรดน้ำต้นไม้
1. ควรรดน้ำต้นไม้ในตอนเช้าหรือตอนเย็นที่อากาศไม่ร้อน
2. น้ำที่ใช้รดไม่ควรใช้น้ำร้อนหรือน้ำเย็นรด
3. ต้นไม้ที่มีใบขนาดใหญ่ควรรดน้ำให้มาก เพราะพืชที่มีใบใหญ่จะมีการคราบน้ำมาก เพราะฉนั้นจึงต้องการปริมาณน้ำมากเพื่อทดแทนน้ำที่เสียไป
4.ต้นไม้ขนาดเล็กที่ปลูกอยู่ในกระถางใบใหญ่อย่ารดน้ำให้มากตามขนาดของกระถางเพราะต้นไม้ไม่สามารถที่จะรับได้หมดและถ้าหากระบายไม่ทัน อาจทำให้เกิดอาการรากเน่าได้
5. อย่ารดน้ำลงบนบริเวณดอกหรือใบในขณะที่แสงแดดร้อนจัด
6. ในฤดูหนาวไม่จำเป็นต้องรดน้ำมาก รดแค่เดือนละสองครั้งก็พอ
7. การรดน้ำแต่ละครั้งควรรดให้ชุ่มโชก แต่อย่ารดนานเกินไป
8.ต้นไม้บางชนิดมีใบบอบางเกินกว่าที่จะทนการรดน้ำที่แรงๆได้ควรยกกระถางไปแช่น้ำโดยให้ระดับน้ำเสมอกับระดับผิวดินแช่ไว้จนแน่ใจว่าน้ำชึม เข้าดีแล้วจึงยกกระถางขึ้นจากน้ำ
9. อย่ารดน้ำให้ขังอยู่บริเวณส่วนยอดของต้นไม้ นอกจากต้นไม้จำพวกสับประรดสี ที่มึวามสามารถเก็บน้ำไว้ทรงบริเวณยอดได้


7. การดูแลต้นไม้ในฤดูร้อนในฤดูร้อนนั้นอากาศมีอุณหภูมิสูงมาก และพืชก็จะมีการคายน้ำสูงขึ้น ถึงแม้ว่าผู้ปลูกจะให้น้ำมากเพียงใดก็ตาม รากของพืชก็ไม่สามารถทำจะดูดน้ำได้ทันกับอัตราการคายน้ำของพืชในหน้าร้อนที่มีอุณหภูมิสูงมาก ๆ เราจะสังเกตเห็นใบของไม้ประดับที่เคยสวยงามของเราหมองและไม่สดชื่นมีชีวิตชีว่าเอาเสียเลย แต่เหตุการณ์แบบนี้เราสามารถแก้ไขได้โดยการเพิ่มความชื้นในอากาศ ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้คือ
1. หมั่นฉีดพ่นน้ำให้กับต้นไม้อย่างสม่ำเสมอเป็นการเพิ่มความชื้นในอากาศ เพื่อให้ต้นไม้คงความสดชื่นไว้ได้
2. นำถาดใส่น้ำมาวางไว้ใกล้ ๆ กับต้นไม้หรือวางไว้ใต้กระถางโดยมีก้อนหินหรือภาชนะคว่ำรองก้นกระถางไว้ไม่ให้น้ำท่วมถึงก้นกระถาง เพื่อให้น้ำระเหยเป็นไอขึ้นมาลอยอยู่รอบ ๆ ต้นไม้
3.นำพืชหลายชนิดมาวางรวมกันอยู่ในภาชนะที่มีขนาดใหญ่เป็นกลุ่มๆเพื่อให้ไอน้ำที่เกิดจากการคายน้ำและไอน้ำจากดินในกระถางของพืชแต่ละต้น ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของกันและกันไว้ ในการเลือกเอาต้นไม้มารวมกันนี้ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่พืชต้องการนั้น จะต้องใกล้เคียงกันมากที่สุด
4.ในช่วงที่อากาศร้อนจัดของฤดูร้อนอาจช่วยให้ต้นไม้รอดตายได้ด้วยการยกกระถางต้นไม้มาฝังดินไว้ใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่รอจนกระทั่งฤดูร้อน ผ่าน ไปจึงค่อยยกกระถางกลับเข้ามาไว้ในบ้านเดิมวิธีการฝังกระถางนั้นจะไม่ฝังจนกระทั่งจมหมด แต่จะเหลือส่วนที่เป็นคอของกระถางไว้ให้อยู่เหนือดิน


8. การทำความสะอาดเมื่อวางกระถางต้นไม้ไว้กับที่เป็นเวลานาน ๆ จะมีฝุ่นละอองต่างๆ มาจับที่บนใบและลำต้นของต้นไม้ ฝุ่นละอองเหล่านี้นอกจากจะบดบังทำให้ต้นไม้ได้รับแสงน้อยลงแล้ว ยังอุดตันรูหายใจของต้นไม้อีกด้วย การหมั่นทำความสะอาดใบต้นไม้อยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่ควรปฎิบัติ เพราะนอกจากจะทำให้ต้นไม้ดูสวยงามขึ้น แล้วยังเป็นการกำจัดไข่ของแมลงและไรที่อยู่ตามใบอีกด้วย ต้นไม้ที่มีใบอ่อนนุ่มอาจทำความสะอาดได้โดยการใช้ฟองน้ำที่นุ่มและซุ่มชื้นเช็ดให้ทั่ว สำหรับต้นไม้ที่มีใบเป็นขนเหมือนกำมะหยี่ก็ทำความสะอาดได้โดยการใช้แปรงที่แห้ง มีขนนุ่มละเอียด ปัดบนใบเพื่อความสะอาดการใช้น้ำมันทาบนใบไม้เพื่อให้ดูเงางามและสวยขึ้นนั้น เป็นการปฎิบัติที่ผิดเพราะจะทำให้ฝุ่นละอองจับใบไม้ได้ดีขึ้น และอาจเกิดอันตรายต่อต้นไม้ได้


9 การทำหลักให้พืชยึดเกาะในขณะต้นไม้ยังมีอายุน้อย ลำต้นจะมีความอ่อนต้ว และมีความยืดหยุ่นสูง ดังนั้นจึงควรจะทำหลักเพื่อให้ต้นไม้ได้เกาะยึด ซึ่งจะทำให้ต้นไม้ดูสวยงามขึ้นด้วย การเลือกแบบของหลักให้ต้นไม้ยึดเกาะจึงควรจะคำนึงถึงลักษณะของต้นไม้แต่ละชนิด และควรมีการจัดลำต้นของต้นไม้ให้อยู่ในตำแหน่งที่ดูสวยงาม การทำหลักยึดเกาะให้ต้นไม้เวลาที่เปลี่ยนกระถางจะทำได้สะดวกเพราะสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้ปักหลังลงไปถูกราวของต้นไม้ขาดได้


10.การตัดแต่งกิ่งการปลูกไม้ในร่มบางชนิดด้องมีการตัดแต่งกิ่งในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้พืชชนิดนั้น ๆ มีขนาดกระทัดรัดสวยงามเหมาะสมที่จะปลูกไว้ภายในอาคารหรือมีรูปทรงที่โปร่งตาขึ้น กิ่งก้านมีระเบียบแบบแผนไม่ไขว้ทับกันจนเป็นเหตุให้ถูกรบกวนจากโรคและสํตรูได้ง่าย การตัดแต่งกิ่งในจุดที่เหมาะสมจะช่วยให้ใบของพืชมีโอกาสได้รับแสงสว่าง เพื่อนำไปใช้ในการปรุงอาหารได้มากขึ้น นอกจากนี้การตัดแต่งพืชบางชนิดเช่น เบญจมาศ จะเป็นผลให้ได้ดอกไม้ที่มีคุณภาพดี

การตัดแต่งกิ่งแบ่งออกเป็นวิธีใหญ่ ๆ ได้ 2 วิธี คือ

1. การเด็ดหรือขลิบ เป็นการตัดแต่งกิ่งขั้นต้นโดยการใช้มือหรือใช้กรรไกรขลิบยอดอ่อน การขลิบยอดอ่อนเช่น นี้จะช่วยควบคุมการเจริญเติบโตได้ เช่น เมื่อเด็ดยอดอ่อนด้านข้างก็จะเป็นการช่วยเร่งความเจริญเติบโตทางด้านยาวของกิ่ง
2. การตัดซอย เป็นการเลือกตัดกิ่งที่เจริญขึ้นในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ออกจากลำต้นใหญ่ทั้งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มดูโปร่งตาขึ้น11 การรักษาความชุ่มชื้นให้ต้นไม้ในบางครั้งเมื่อมีความจำเป็นต้องเดินทางไกลไปต่างจังหวัดหรือตากอากาศ 2-3 วัน และไม่มีคนทำหน้าที่ดูแลต้นไม้แทน อาจสร้างความกังวลใจเพราะกลัวว่าเมื่อกลับมาบ้านจะพบกว่าต้นไม้เหล่านั้นจะเหี่ยวเฉาไปเสียหมด ความกังวลใจเหล่านี้จะหมดไปได้ถ้าหากเลือกปฎิบัติตามวิธีใด วิธีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. หุ้มต้นไม้ที่มีขนาดเล็กด้วยถุงโพลีธีน หรือถงพลาสติกธรรมดาก็ได้ ไอน้ำจากการหายใจของพืชจะกลับไปสร้างความชุ่มชื้นให้กับดิน ทำให้พืชสามารถรักษาความสดชื่นไว้ได้
2. สอดไส้ตะเกียงผ่านรูระบายน้ำของกระถางเข้าไปในดินที่ใช้ปลูกต้นไม้ และแช่ปลายอีกข้างหนึ่งของไส้ตะเกียงลงในถาดที่มีน้ำบรรจุอยู่
3. วางกระถางต้นไม้ไว้บนผ้าหรือฟองน้ำที่มีรูพรุนเล็ก ๆ สามารถดูดซับน้ำได้ดีและเปิดก๊อกน้ำให้น้ำหยดลงบนผ้าหรือฟองน้ำอย่างช้างๆ ใส้ตะเกียงภาชนะที่ใช้รองกระถางบรรจุน้ำ12. อันตรายจากความงามเนื่องจากการที่ไม้ในร่มเป็นไม้ที่ปลูกอยู่ในอาคาร ซึ่งอาจจะเป็นสำนักงานหรือบ้านเรือนที่อยู่อาศัยก็ได้ ต้นไม้ที่ปลูกอยู่ในสำนักงานดูจะไม่ค่อยมีพิษภัยต่อคนเท่าไร ส่วนต้นไม้ที่อยู่ในบ้านเรือนบางครั้งก็อาจเกิดเป็นพิษภัยต่อผู้อยู่อาศัยได้ โดยเฉพาะบ้านเรือนที่มีเด็ก ๆ อยู่ด้วย

ความเป็นพิษจากพืชเหล่านี้เกิดขึ้นได้โดย 2 ทางคือ

1. อาการพิษต่อทางเดินอาหารอาการพิษของพืชเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้เนื่องจากการับประทานเข้าไปมักเกิขึ้นกับเด็ก ๆ เพราะความซุกซนและลักษณะสีสันที่น่าสนใจของต้นไม้เหล่านี้ มักมีดอกหรือผลที่มีสีสันสะดุดตาอาการพิษจะเกิดขึ้นมากน้อยขึ้นอยู่ากับชนิดของพืชและอวัยวะที่เกิดการระคายเคือง อวัยวะเหล่านั้นเริ่มตั้งแต่ปาก ลำคอ เยื่อกระเพาะอาหารไปจนถึงเยื่อลำไส้ พืชที่ทำให้เกิดอาการพิาต่อทางเดินอาหาร ได้แก่ สาวน้อยประแป้ง พญาช้างเผือกเสน่ห์จันทน์ขาว คูน ใบกระดาษ บอนสี พลูแฉก พลูฉีก พลับพลึง ผลเทียนหยด บานบุรีเหลือง แพงพวยฝรั่ง พุดฝรั่ง ฝิ่นต้น สบู่แดง ราตรี หนุมานนั่งแท่น
2. อาการพิษต่อผิวหนังที่จริงพืชพวกนี้ก็มีพิษต่อทางเดินอาหารด้วยเช่นเดียวกัน แต่อาจจะเป็นเพราะว่าเป็นพืชที่มีลักษณะไม่น่าสนใจของเด็ก ๆ จึงมักไม่ถูกกินลงไป อาการเป็ฯพิษจึงมักเกิดขึ้นจากการสัมผัสโดยไม่ตั้งใจเสียมากกว่าพืฃเหล่านี้ ได้แก่ พืชที่มีหนาม เช่นกุหลาบ กระบองเพชร หรือพืชที่มีสารพิษ เช่น สลัดได ต้นคริสต์มาส สามเหลี่ยมญี่ปุ่น โป๊ยเซียน พญาไร้ใบเมื่อทราบถึงชนิดของพืชที่มีพิษเช่นนี้แล้ว ก็ควรใช้ความระมัดระวังเลือกปลูกพืช ให้เหมาะสมกับสถานที่ เพื่อเป็นการลดอันตรายจากพืชเหล่านี้ลง กล่าวคือไม่ควรปลูกพืชที่มีหนามหรือมีพิษในห้องนอนของ เด็กหรือบริเวณที่เด็ก ๆ ชอบเล่นอยู่เป็ฯประจำ นอกจากนั้นพืชมีกลิ่นหอมหรือมีดอกทุกชนิดก็ไม่ควรจะนำมาปลูกในห้องนอนของเด็กในกรณีที่มีผู้กลืนพืชที่มีพิษลงไปให้รีบทำให้อาเจียนทานยาเคลือบกระเพราะ นมหรือไข่ขาว แล้วรีบนำส่งแพทย์เพื่อทำการล้างท้องโดยด่วน ถ้ามีผู้ถูกยางของพืชพวกสลัดไดหรือพญาไร้ใบ และเกิดเป็นพิษขึ้น หากล้างด้วยสบู่และน้ำไม่ออก ต้องใช้แอลกอฮอล์ล้าง

11. การสังเกตอาการผิดปรกติของไม้ประดับและการแก้ไขกรณีที่ต้นไม้มีอาการเฉา เหลือง ไม่เจริญเติบโต ผู้ปลูกเลี้ยงส่วนใหญ่จะสรุปว่าขาดปุ๋ย จึงทำให้เกิดอาการเช่นนี้ อันที่จริงแล้วสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้มีอยู่หลายประการและพอที่จะใช้พิจารณาป้องกันแก้ไขได้ดังนี้คือ
1. ขอบใบหงิกงอลงด้านล่าง ต่อมาก็จะแห้งและหลุดไปสาเหตุ เพราะว่าอากาศภายในห้องหรือตัวอาคารร้อนเกินไปการแก้ไข เปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทหรือถ้าไม่มีลม อาจใช้พัดลมช่วยเป่าก็ได้
2. ต้นไม้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่กิ่งก้านไม่แข็งแรง เปราะหักได้ง่าย สาเหตุ เพราะว่าต้นไม้ได้รับปุ๋ยมากเกินไป การแก้ไข ควรลดปริมาณปุ๋ยที่ใส่ลง โดยเฉพาะปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง
3. ต้นไม้เอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่งสาเหตุ เพราะต้นไม้ได้รับแสงเพียงด้านเดียวการแก้ไข ควรทำการหมุนกระถางต้นไม้บ่อย ๆ เพื่อให้ต้นไม้ได้รับแสงอย่างทั่วถึงกันทุกด้าน
4. ขอบใบเริ่มเหลืองและค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล พร้อมกับก้านก่อนที่กิ่งจะแห้งตายไป สาเหตุ ต้นไม้ขาดน้ำ เพราะรดน้ำน้อยเกินไป การแก้ไข ควรให้น้ำอย่างเพียงพอ และสม่ำเสมอ
5. ขอบใบเริ่มเป็นสีน้ำตาล โคนใบเริ่มเป็นสีเหลืองแล้วหลุดร่วงไป ต่อมาก้านก็จะเริ่มโกรํน สาเหตุ เพราะได้รับน้ำมากเกินไป และน้ำขังไม่ไหลผ่านเป็นเวลานาน การแก้ไข งดการให้น้ำสักระยะหนึ่งก่อน ถ้าน้ำยังไม่ซึมหมดไปให้ลองใช้ไม้แยงเข้าไปที่รูก้นกระถาง เพราะบางที่ก้นกระถางอาจจุอุดตัน แต่ถ้ายังไม่หายให้เปลี่ยนดินใหม่ เพราะดินในกระถางอาจมีดินเหนียวปนอยู่มากเกินไป น้ำไม่สามารถจะระบายออกไปได้
6. ใบมีสีซีดไม่สดใส และมีจุดสีเหลืองหรือสีน้ำตาลปรากฎขึ้นบนใบ สาเหตุ เพราะต้นไม้ได้รับแสงสว่างมากเกินไป การแก้ไข ลดการให้แสงลง หรืออาจย้ายไปวางไว้ตรงบริเวณที่แสงสว่างส่องเข้าไปถึงน้อยลง เพียงพอแก่ความ ต้องการของต้นไม้
7. กิ่ง ก้าน ที่เกิดใหม่มีลักษณะกุดสั้นและใบมีสีซีดผิดปกติ สาเหตุ เพราะว่าต้นไม้ได้รับแสงสว่างน้อยเกินไปการแก้ไข ควรเพิ่มแสงสว่างให้กับต้นไม้ โดยการยกไปตั้งในที่ ๆ จะได้รับแสงเพียงพอหรืออาจเปิดไฟฟ้าให้ก็ได้
8. ใบเริ่มเหลือง แต่กิ่งก้าน ยังเขียวอยู่ ใบช่วงล่างเริ่มร่วง ยอดและใบที่เกิดใหม่จะหงิกงอแคระแกรนสาเหตุ เพราะว่าต้นไม้ขาดปุ๋ยการแก้ไข ใส่ปุ๋ยให้กับต้นไม้ แต่ข้อระวังคือต้องใส่ให้พอดีกับความต้องการของพืชอย่าใส่ให้มากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอันตรายต่อต้นไม้ได้ (ุถ้าให้ปุ๋ยเคมีโดยวิธีละลายน้ำรด ต้องระวังอย่าให้ตกค้างอยู่ที่ใบ เพราะจะทำให้ใบไหม้ทางที่ดีเมื่อรดเสร็จแล้วควรใช้น้ำเปล่ารดที่ใบและลำต้นอีกทีหนึ่งเพื่อชะล้างปุ๋ยที่ตกค้าง)

การดูแลรักษากล้วยไม้

การดูแลรักษากล้วยไม้

น้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ต้องเป็นน้ำที่มีคุณภาพดี มีปริมาณเกลือแร่ไม่สูงเกินไป เพราะจะเป็นพิษต่อระบบรากทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ควรรดใน เวลาเช้าหรือบ่าย โดยใช้สายยางต่อกับหัวฉีดแบบฝอยละเอียด ลดการกระแทกที่ทำให้ดอก ใบช้ำ แต่ในช่วงที่ฝนตกหนักควรงดการให้ น้ำ 2-3 วัน รอจนกระทั่งเครื่องปลูกเริ่มแห้งจึงให้น้ำใหม่ ถ้าเป็นฤดูร้อนหรือฤดูหนาวควรรดน้ำให้บ่อยขึ้น


น้ำ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายสารอาหารต่างๆ เพื่อให้รากของกล้วยไม้สามารถดูดอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ กล้วยไม้ต้องการน้ำที่สะอาดปราศจากเกลือแร่ที่เป็นพิษ มีความเป็นกรดเป็นด่างหรือค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7 แต่น้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดต่อความต้องการของกล้วยไม้ คือ น้ำสะอาดบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ มีค่า pH ประมาณ 6.5 น้ำที่มี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 จึงไม่ควรนำมาใช้รดกล้วยไม้ การทดสอบคุณสมบัติความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำแบบง่ายๆ คือ ทดสอบด้วยกระดาษลิสมัส ในการเลี้ยงกล้วยไม้ถ้าน้ำมี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 หากมีความจำเป็นต้องใช้น้ำนี้รดกล้วยไม้ เนื่องจากไม่สามารถหาน้ำที่มีคุณสมบัติดีกว่า ควรทำให้น้ำมี pH อยู่ระหว่าง 6-7 ก่อน ดังนี้


- น้ำที่มีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 คือน้ำมีฤทธิ์เป็นกรดค่อนข้างมาก แก้ไขโดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ตุ่มหรือโอ่งไว้แล้วใช้ โซเดียมไฮดร็อกไซด์ ค่อยๆ เทใส่ลงไป แล้วคนให้เข้ากันจนทั่ว ทำการทดสอบระดับ pH จนกระทั่งน้ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7
- น้ำที่มีค่า pH สูงกว่า 7 คือน้ำที่มีเกลือแร่ที่เป็นพิษต่อกล้วยไม้ เช่น แคลเซียมไบคาร์บอเนตปนอยู่ในน้ำแสดงว่าน้ำนั้นมีความเป็นด่างมากไม่เหมาะที่จะนำไปรดกล้วยไม้ วิธีแก้หรือทำให้น้ำนั้นมี pH อยู่ที่ 6-7 ก่อน โดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ถัง ตุ่มหรือโอ่งไว้ แล้วใช้ กรดไนตริก ค่อยๆ เทใส่ลงไป คนหรือกวนให้เข้ากันจนทั่ว จนกระทั่งน้ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7
วิธีการการให้น้ำ
วิธีการให้น้ำกล้วยไม้สามารถทำได้หลายวิธี จะเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ อายุของกล้วยไม้ และความสะดวกของผู้ปลูกเลี้ยงเอง ซึ่งวิธีการให้น้ำมีดังนี้
- จุ่มน้ำ โดยตักน้ำใส่ภาชนะแล้วนำกล้วยไม้มาจุ่มลงในน้ำ การจุ่มน้ำมีข้อดีคือน้ำจะซึมไปทั่วทุกส่วนของเครื่องปลูก เหมาะกับกล้วยไม้ที่ไม่มีรากเกะกะ เช่น สกุลหวาย สกุลแคทลียา มีเครื่องปลูกแน่น เช่น กาบมะพร้าวอัด ออสมันด้าอัด หรือเครื่องปลูกหนัก เช่น อิฐ กรวด ถ้าเครื่องปลูกเบา เช่น ถ่าน ถ่านจะลอย การรดน้ำวิธีนี้เป็นการล้างเครื่องปลูกให้สะอาดอยู่เสมออีกด้วย ข้อเสียคือการจุ่มน้ำบ่อยๆ อาจทำให้ รากอ่อน หน่ออ่อน ไปกระทบกระแทกกับภาชนะที่ใส่น้ำได้ และถ้ากล้วยไม้มีโรคแมลงอาศัยอยู่ น้ำในภาชนะอาจเป็นพาหะให้โรคแมลงระบาดได้ง่าย และการให้น้ำวิธีนี้ไม่เหมาะกับปริมาณกล้วยไม้มากๆ เพราะเป็นวิธีที่ช้ามาก เหมาะกับกล้วยไม้จำนวนน้อย และปลูกเลี้ยงในที่ไม่ต้องการให้พื้นเฉอะแฉะ เช่นระเบียงบ้าน ริมหน้าต่าง เป็นต้น
- ไขน้ำให้ท่วม โดยทำโต๊ะปลูกกล้วยไม้ที่ขังน้ำได้ เวลาจะให้น้ำก็ไขน้ำให้ขังเต็มโต๊ะ ทิ้งไว้จนเห็นว่าเครื่องปลูกดูดซับน้ำเพียงพอแล้วจึงไขน้ำออก วิธีนี้ทำได้รวดเร็วกับกล้วยไม้จำนวนมาก ไม่ทำให้กล้วยไม้ไม่บอบช้ำ แต่ป้องกันโรคระบาดจากแมลงได้ยาก
- ใช้บัวรดน้ำ วิธีนี้มีข้อดีคือต้นทุนต่ำ ส่วนข้อเสียคือถ้ามีกล้วยไม้จำนวนมากจะต้องใช้เวลาในการรดน้ำมาก หรือถ้าขาดความระมัดระวังฝักบัว ก้านบัว อาจจะกระทบต้น กระทบดอกกล้วยไม้ ทำให้กล้วยไม้บอบช้ได้
- สายยางติดหัวฉีด การใช้สายยางควรใช้หัวฉีดชนิดฝอยละเอียด การรดน้ำวิธีนี้สะดวก รวดเร็วและทุ่นแรง เหมาะสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เป็นจำนวนมาก
- สปริงเกอร์ คือการใช้หัวฉีดติดตั้งอยู่กับที่แล้วพ่นน้ำเป็นฝอยให้กระจายไปทั่วบริเวณที่ต้องการ การรดวิธีนี้สะดวกสบายและรวดเร็วที่สุด ข้อเสียคือต้องลงทุนสูงและใช้ได้กับกล้วยไม้ที่มีความต้องการน้ำเหมือนๆ กัน ไม่เหมาะกับการเลี้ยงกล้วยไม้จำนวนน้อย แต่หลากหลายชนิด เวลาที่เหมาะสมแก่การให้น้ำ

การรดน้ำกล้วยไม้ปกติควรรดวันละครั้ง ยกเว้นวันที่ฝนตกหรือกระถางและเครื่องปลูกยังมีความชุ่มชื้นอยู่ การรดน้ำกล้วยไม้ควรรดในเวลาที่แดดไม่ร้อนจัด เวลาที่เหมาะสมคือตอนเช้าเวลาประมาณ 6.00-9.00 น. เพราะนอกจากจะไม่ร้อนแล้วจะมีช่วงเวลาที่มีแสงแดดยาวนาน กล้วยไม้มีความจำเป็นต้องใช้แสงแดดไปช่วยในการปรุงอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ฉะนั้นช่วงเวลากลางวันจึงเป็นเวลาที่กล้วยไม้ต้องใช้รากดูดความชื้นและนำอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากที่สุด การรดน้ำในเวลาเช้าจึงได้รับประโยชน์มากที่สุด ในการรดน้ำกล้วยไม้ควรรดให้เปียก เพื่อเป็นการชะล้างเศษปุ๋ยที่เหลือตกค้างซึ่งอาจเป็นพิษแก่กล้วยไม้ให้ไหลหลุดไป ไม่ควรรดน้ำแรงๆ หรือรดน้ำอยู่กับที่นานๆ ควรรดแบบผ่านไปมาหลายๆ ครั้งจนเปียกโชก ทั้งนี้เพื่อให้กระถางและเครื่องปลูกมีโอกาสดูดซึมอุ้มน้ำไว้เต็มที่ การรดน้ำกล้วยไม้ควรรดให้ถูกเฉพาะรากกระถางและเครื่องปลูกเท่านั้น ไม่ควรรดน้ำให้ถูกเรือนยอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้ที่มีเรือนยอดใหญ่ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้าและสกุลช้าง เพราะน้ำอาจตกค้างอยู่ที่เรือนยอดซึ่งอาจทำให้เกิดโรคยอดเน่าได้

การให้ปุ๋ย
ให้ปุ๋ยทุก ๆ 7 วัน โดยใช้ปุ๋ยละลายน้ำ สูตรสูง เช่น สูตร 20-20-20 ในระยะเริ่มปลูกควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อช่วยการเจริญเติบโตทางลำต้น และใบเมื่อต้นกล้วยไม้เจริญถึงระยะให้ดอกหรือต้องการเร่งให้ออกดอก ควรใช้ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูงไม่ควรฉีดพ่น ปุ๋ยในช่วงที่มีแดดจัด เพราะจะทำให้น้ำที่ละลายปุ๋ยระเหยไปอย่างรวดเร็วทำให้กล้วยไม้ไม่สามารถดูดปุ๋ยไปใช้ได้ และยังทำให้ความเข้มข้นของปุ๋ยสูงขึ้น อาจทำให้ใบไหม้หลังจากให้ปุ๋ยแล้ว ในวันรุ่งขึ้นต้องรดน้ำให้มากกว่าปกติ เพื่อชะล้างเกลือแร่ของปุ๋ยที่ตกค้างอยู่บนเครื่องปลูกและรากออก
นอกจากการให้ปุ๋ยแล้ว ผู้ปลูกเลี้ยงต้องฉีดพ่นยาฆ่าแมลงและยาป้องกันโรคอย่างสม่ำเสมออาจให้พร้อม ๆ กับการรดน้ำหรือให้ปุ๋ย หากมีการระบาดของโรค และแมลงก็ต้องเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับโรคและแมลงชนิดนั้น ๆ

ปุ๋ย ที่นำมาให้กับกล้วยไม้
โดยทั่วไปนิยมใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในการปลูกกล้วยไม้ เพราะนอกจากจะละลายน้ำได้ดี สะดวกในการใช้ ยังมีธาตุอาหารครบถ้วนตามความต้องการของกล้วยไม้ด้วย ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่ใช้กับกล้วยไม้มี 3 ลักษณะ คือ ลักษณะเป็นน้ำ เป็นเกล็ดละลายน้ำ และเป็นเม็ดละลายช้า

- ปุ๋ยน้ำ เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารละลายอยู่ในรูปของของเหลว เมื่อต้องการใช้ต้องนำมาผสมกับน้ำตามส่วนที่ระบุบนฉลาก ข้อดีของปุ๋ยน้ำคือละลายง่าย กล้วยไม้สามารถดูดไปใช้ได้เลย ไม่ตกค้างอยู่ในเครื่องปลูก ซึ่งถ้ามีปุ๋ยตกค้างอยู่ในเครื่องปลูกมากอาจเป็นอันตรายต่อกล้วยไม้ได้

- ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารต่างๆ ที่จำเป็นผสมอยู่ตามสัดส่วน เมื่อจะใช้ต้องนำไปผสมกับน้ำตามสัดส่วนที่ระบุไว้ข้างภาชนะบรรจุปุ๋ย ปุ๋ยผงบางชนิดละลายน้ำได้ดี แต่บางชนิดละลายไม่หมด ปุ๋ยผงจึงไม่เหมาะสำหรับรดกล้วยไม้มากเท่ากับปุ๋ยน้ำ

- ปุ๋ยเม็ดละลายช้า เป็นปุ๋ยชนิดเม็ดเคลือบที่ภายในบรรจุปุ๋ยไว้เพื่อให้ปุ๋ยค่อยๆ ละลายออกมาอย่างช้าๆ ปุ๋ยชนิดนี้จึงใส่เพียงครั้งเดียวจึงสามารถอยู่ได้นานหลายเดือน จึงทำให้ง่ายในการใช้ ประหยัดแรงงานไม่ต้องใส่บ่อยๆ แต่ปุ๋ยชนิดนี้มีราคาสูง และเหมาะกับกล้วยไม้ที่มีเครื่องปลูกอย่างกล้วยไม้ที่มีระบบรากดินและรากกึ่งอากาศ เช่น แวนด้า หวาย แคทลียา

วิธีการให้ปุ๋ย
ระยะแรกของการปลูกกล้วยไม้ควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของลำต้นและใบ เมื่อต้นกล้วยไม้เจริญถึงระยะให้ดอกหรือต้องการเร่งให้ออกดอก ควรใช้ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูงเพื่อกระตุ้นให้กล้วยไม้ออกดอก ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ในช่วงฤดูร้อนควรให้ปุ๋ยมากกว่าฤดูหนาวกับฤดูฝน ลูกกล้วยไม้ควรให้ปุ๋ยในอัตราที่อ่อนกว่ากล้วยไม้ใหญ่ ถ้าเป็นต้นที่โตเร็วและได้รับแสงแดดมากต้องให้ปุ๋ยมากกว่าพวกที่โตช้าและเลี้ยงในร่ม การให้ปุ๋ยควรให้สัปดาห์ละครั้ง การรดปุ๋ยกล้วยไม้ควรรดให้ถูกส่วนรากเพราะเป็นส่วนที่ดูดธาตุอาหารและน้ำได้ดีกว่าใบ และไม่ทำให้กล้วยไม้บอบช้ำ

วิธีการให้ปุ๋ยกล้วยไม้สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
- รดด้วยบัวรดน้ำชนิดฝอย การให้ปุ๋ยวิธีนี้ถ้ารดกล้วยไม้ที่แขวนราวหลายๆ ราว กล้วยไม้ที่อยู่ราวในๆ จะได้รับปุ๋ยไม่ทั่วถึง วิธีแก้ไขโดยแขวนกล้วยไม้เป็นแถวตามแนวตั้ง ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การรดน้ำหรือรดปุ๋ยด้วยฝักบัวและสะดวกแก่การบำรุงรักษาได้ทั่วถึงด้วย ถ้าใช้วิธีตั้งกล้วยไม้ไว้บนชั้นแล้วการรดน้ำหรือรดปุ๋ยด้วยวิธีนี้จะสะดวกขึ้น
- พ่นด้วยเครื่องฉีดชนิดฝอย เป็นวิธีที่เหมาะกับทุกลักษณะของกล้วยไม้ ไม่ว่าจะตั้งหรือแขวนกล้วยไม้ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ แต่ควรเป็นเครื่องฉีดชนิดสูบหรืออัดลม ข้อดีคือทำให้กล้วยไม้ได้รับปุ๋ยทั่วถึงโดยไม่เป็นอันตรายหรือบอบช้ำจากการกระทบกระเทือนหรือกระแสน้ำแรงเกินไป
- วิธีจุ่ม คือการให้ปุ๋ยโดยจุ่มกระถางกล้วยไม้ลงในน้ำปุ๋ยที่ผสมไว้ ข้อดีของวิธีนี้คือไม่เปลืองน้ำปุ๋ยเพราะน้ำปุ๋ยไม่รั่วไหลไปไหนนอกจากติดไปกับกระถางกล้วยไม้ ความชุ่มของน้ำปุ๋ยในกระถางทั่วถึงดี ข้อเสียคือกล้วยไม้บางกระถางอาจมีโรคและแมลงอาศัยอยู่ เมื่อจุ่มลงในน้ำปุ๋ยโรคและแมลงจะปนออกมากับน้ำปุ๋ย เมื่อนำกระถางกล้วยไม้อื่นมาจุ่มจะทำให้ติดเชื้อโรคและแมลงนั้นได้ ฉะนั้นวิธีนี้จึงอาจเป็นสื่อติดต่อของโรคและแมลงได้ง่าย และถ้าหากไม่ใช้ความระมัดระวังแล้วหน่อที่แตกใหม่อาจจะกระทบกับความแข็งของภาชนะที่ใส่ปุ๋ยทำให้บอบช้ำและเน่าได้
- ปล่อยน้ำปุ๋ยเข้าท่วมกระถางแล้วระบายออก วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้สำหรับการปลูกกล้วยไม้หรือต้นไม้กระถางในเรือนกระจกใหญ่ๆ โดยตั้งกระถางบนโต๊ะที่ทำเป็นอ่างเก็บน้ำได้ เมื่อต้องการให้ปุ๋ยก็ปล่อยน้ำปุ๋ยที่ผสมตามสัดส่วนให้เข้าไปท่วมกระถางกล้วยไม้ตามระยะกำหนดเวลาที่ต้องการ เมื่อเสร็จแล้วก็ระบายน้ำปุ๋ยออก วิธีนี้ถ้านำไปใช้กับบริเวณเนื้อที่ที่มีต้นไม้มากๆ และเป็นบริเวณที่ควบคุมสภาพของธรรมชาติแวดล้อมได้จะได้ผลดี
- ใช้เครื่องผสมปุ๋ยกับน้ำ เป็นเครื่องผสมปุ๋ยแบบอัตโนมัติที่ใช้ในการผสมปุ๋ยกับน้ำตามอัตราส่วนที่ต้องการ โดยต่อเครื่องเข้ากับท่อน้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ ภายในเครื่องมีปุ๋ยละลายน้ำเข้มข้นอยู่ เมื่อรดน้ำ ปุ๋ยก็จะผสมไปกับน้ำแล้วพ่นออกไปสู่กล้วยไม้ผ่านไปทางหัวฉีดทันที เครื่องผสมปุ๋ยนี้สามารถจะปรับหรือตั้งเพื่อให้ปุ๋ยผสมไปกับน้ำตามอัตราความเข้มที่ต้องการได้ จึงเหมาะสำหรับสวนกล้วยไม้ที่มีจำนวนกล้วยไม้มากๆ สำหรับการให้ปุ๋ยชนิดเม็ดละลายช้าทำโดยโรยเม็ดปุ๋ยบริเวณเครื่องปลูกที่ใกล้กับรากของกล้วยไม้ตามสัดส่วนที่ระบุไว้ข้างภาชนะที่บรรจุปุ๋ย
เวลาที่เหมาะแก่การให้ปุ๋ย

เนื่องจากสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับการให้ปุ๋ยอยู่มาก เช่น ปุ๋ยจะเป็นประโยชน์แก่กล้วยไม้ได้ต้องมีแสงสว่าง มีความอบอุ่น อุณหภูมิพอเหมาะและมีความชุ่มชื้นพอดี เป็นต้น แสงสว่างหรือแสงแดดที่เป็นประโยชน์แก่กล้วยไม้คือแสงแดดในตอนเช้า ตั้งแต่เช้าจนถึง เวลาประมาณ 11.00 น. หลังจากนี้แสงแดดจะแรงและมีความร้อนสูงเกินไป การรดปุ๋ยในเวลาเช้า แสงแดดจะช่วยให้กล้วยไม้ได้ใช้ปุ๋ยได้เต็มที่ เพราะแสงแดดช่วยผลิตกำลังงานที่จะใช้ดูดปุ๋ยขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการสร้างความเจริญเติบโตของกล้วยไม้ การรดปุ๋ยควรรดสม่ำเสมออาทิตย์ละครั้ง เพื่อกล้วยไม้จะได้รับปุ๋ยหรืออาหารอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากวันที่ครบกำหนดให้ปุ๋ยอากาศครื้มฝนไม่ควรรดปุ๋ย เนื่องจากไม่มีแสงแดดช่วยกล้วยไม้ก็ไม่สามารถดูดซึมปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ และถ้าหากฝนตกปุ๋ยก็จะถูกชะล้างไปกับฝนโดยที่กล้วยไม้ไม่ได้รับประโยชน์จากปุ๋ยนั้นเลย จึงควรงดการให้ปุ๋ยในวันดังกล่าว และอาจเลื่อนการให้ปุ๋ยไปในวันถัดไป หรืออาจงดให้ปุ๋ยในอาทิตย์นั้นแล้วไปรดในอาทิตย์ถัดไปก็ได้

การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูเป็นความจำเป็นอีกอย่างหนึ่งในการดูแลรักษาพรรณไม้ เพราะแมลงเป็นศัตรูต่อการเจริญเติบโตของพืช ที่พบมากมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ


1. ประเภทปากกัด ได้แก่ ตั๊กแตน หนอนผีเสื้อ ด้วง ฯลฯ ทำลายโดยกัดกินใบ ทำให้ต้นไม้ไม้สามารถปรุงอาหารได้ และชะงักการเจริญเติบโต แมลงปากกัดบางชนิดกัดแทะเข้าไปถึงกิ่งก้านหรือลำต้น ทำให้ท่อน้ำท่ออาหารของต้นไม้เสียหาย ถ้าถูกทำลายมากต้นไม้จะเหี่ยวและตายในที่สุด วิธีกำจัดโดยการใช้ยาประเภทถูกตัวตายหรือกินตายฉีดพ่น หากพบจำนวนไม่มากให้จับทำลาย


2. ประเภทดูดน้ำเลี้ยง ได้แก่ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน แมงมุมแดง เพลี้ยหอย ฯลฯ ทำลายโดยดูดน้ำเลี้ยงจากใบ แมลงปากดูดบางชนิดยังปล่อยสารพิษให้ต้นไม้ใบสีซีดเหี่ยวแห้ง ใบร่วงก่อนกำหนด ชะงักการเจริญเติบโต และแห้งตายในที่สุด วิธีกำจัดโดยการฉีดยาประเภทถูกตัวตาย

การดูแลรักษาไม้กระถาง

การดูแลรักษาไม้กระถาง

บ้านไหนที่นิยมปลูกไม้กระถางไว้ประดับบ้าน และอยากให้ไม้กระถางอยู่ได้นาน ๆ วันนี้มีวิธีดูแลรักษา การปลูกไม้กระถาง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลรักษาอย่างดี และสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้ไม้กระถางมีอายุยืน และคงความสวยงามไว้ได้นาน ไม่ต้องเปลี่ยนกระถาง หรือต้นไม้บ่อยครั้ง


- ไม่ควรตั้งไม้กระถางในที่ที่มีลมแรงมาก หรือตั้งใกล้ที่มีไอร้อนมาก เช่น อยู่ใกล้เครื่องทำความร้อน ไม้กระถางส่วนมากไม่ชอบให้ลมพัดโกรกมาก หรืออุณหภูมิสูง เพราะจะทำให้พืชมีการระเหยน้ำมากจนต้นไม้นั้นเหี่ยวเฉาตายได้ โดยเฉพาะการใช้ไฟส่องแสงสว่างแรง ๆ และใกล้ต้นไม้เกินไปทำให้ต้นไม้ทนความร้อนไม่ไหวทำให้เหี่ยวเฉาตายได้ในที่ สุด


- การนำไม้กระถางไปใช้งานหรือประดับในที่ต่าง ๆ ควรคำนึงถึงช่วงเวลาการใช้งานของไม้แต่ละกลุ่ม เช่น ไม้กลางแจ้งจำพวกหมากเหลือง ไทร ไผ่ วาสนา หากนำไปใช้ประดับในร่ม หรือในอาคาร ช่วงเวลาของการใช้งาน 6-8 สัปดาห์ ก็ควรสับเปลี่ยนไม้ชุดใหม่เข้าแทน เพื่อจะได้พักฟื้นไม้ประดับชุดเก่า


- ส่วนไม้ในร่มหรือกึ่งร่ม เช่น โมก คล้า อะโกลนีมา เปปเปอโรเมีย ฟิโล เดนดรอน พลูด่าง เฟิร์น รวมทั้งกลุ่มไม้ดอก เช่น กล็อกซีเนีย กล้วยไม้ อาฟริกันไวโอเลท จะอยู่ได้นานกว่า เพราะไม้กลุ่มนี้ต้องการแสงจำกัดอยู่แล้ว อายุการใช้งานอาจจะถึง 8-10 สัปดาห์ แต่อายุการใช้งานของไม้ทั้ง 2 กลุ่ม ถ้ายิ่งใช้งานช่วงเวลาสั้นจะดีกว่าเพราะไม่ทำให้ต้นไม้โทรมหรือช้ำมาก ไม้จะฟื้นตัวเร็วและคงความสวยงามได้นาน ดังนั้นสำหรับไม้ประดับในร่มแล้ว จึงควรเตรียมไม้ประดับไว้หลายชุด เพื่อใช้สับเปลี่ยน


-ไม้กระถางที่ใช้ประดับนอกอาคารนั้นสำคัญที่ สุด คือ การให้น้ำสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำแล้วจะเหี่ยวเฉา ถ้าใช้จานรองก้นกระถางหล่อน้ำเอาไว้ก็อาจจะช่วยได้บ้าง


- การดูแลทำความสะอาดใบ ก็นับเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพราะใบที่สะอาดคือใบที่แข็งแรง การล้างใบเป็นการล้างเอาฝุ่นละอองออกจากใบ นอกจากจะทำให้ใบสะอาดสวยงามแล้ว ยังทำให้พืชสามารถปรุงอาหารได้ดีขึ้น วิธีล้างใบควรใช้น้ำสบู่อ่อน ๆ จะไม่ทำให้เป็นอันตรายต่อใบ ไม่ควรใช้ผงหรือน้ำยาซักฟอกประเภทกัดรุนแรงโดยเด็ดขาด


- ส่วนโรคที่พบอยู่เสมอได้แก่โรคโคนเน่า มักเกิดกับพืชในระยะที่เป็นต้นกล้ายังตั้งตัวไม่ได้ แสดงอาการใบเหี่ยว เมื่อดูที่โคนต้นระดับผิวดินจะพบรอยเน่า และต้นล้มตายในที่สุด การป้องกันให้พยายามทำให้บริเวณโคนต้นโปร่ง มีการระบายอากาศดี มีแสงแดดส่องถึง และรักษาผิวหน้าดินปลูกอย่าให้ชื้นแฉะเกินไป
เนื่องจากการปลูกไม้กระถางประดับเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ชิดกับคน หากสามารถหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศตรูพืชได้มากเท่าไรหรือไม่ใช้เลยยิ่งดี โดยเฉพาะไม้กระถางที่ใช้ประดับในอาคารบ้านเรือน หากจำเป็นต้องใช้ยากำจัดแมลงควรกระทำอยู่ภายนอกอาคารและหลีกเลี่ยงยาที่มีอันตรายมากๆ มีฤทธิ์ตกค้างนานและมีกลิ่นรุนแรง ก่อนนำพรรณไม้เข้าประดับในอาคารควรงดฉีดยา หรือทิ้งไว้จนหมดกลิ่นและฤทธิ์เสียก่อน สิ่งสำคัญควรเลือกใช้ยาให้ถูกต้องกับแมลงที่ต้องการกำจัด แล้วนำมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพราะโดยทั่วไปยาฆ่าแมลงมีอันตรายต่อคนอยู่แล้วไม่มากก็น้อย ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีอันตรายก็ยิ่งมากขึ้น


การกำจัดโรคพืช
โรคพืชที่พบบ่อยในไม้กระถางได้แก่ โรคโคนเน่า ลักษณะอาการแสดงออกที่บริเวณโคนต้นระดับผิวดินจะเน่าและต้นจะล้มตายในที่สุด ทางป้องกันหรือลดความเสียหายทำได้โดยการกำจัดวัชพืชและตัดแต่ง ช่วยให้โคนต้นโปร่งมีการระบายอากาศ แสงแดดส่องได้ทั่วถึง และพยายามรดน้ำให้น้อยลง รักษาผิวหน้าดินอย่าให้ชื้นแฉะเกินไป


การกำจัดวัชพืช
วัชพืชหรือหญ้าต่างๆ ที่ขึ้นอยู่ในเครื่องปลูกจะเป็นตัวแย่งอาหารจากต้นไม้ ทำให้ต้นไม้ไม่สวย และยังเป็นที่อยู่อาศัยหรือแหล่งสะสมของโรคแมลงบางชนิดด้วย การกำจัดวัชพืชควรทำในขณะที่วัชพืชยังเป็นต้นอ่อนยังไม่ออกดอกติดเมล็ด เพราะเมล็ดแก่อาจหล่นลงในเครื่องปลูกงอกเป็นต้นอ่อนได้ ทำให้ต้องเสียเวลาในการกำจัดต่อไปอีก วิธีการกำจัดวัชพืชอาจใช้วิธีถอนด้วยมือ แซะหรือขุดด้วย พลั่วมือ เสียม หรือจอบ โดยพรวนดินร่วมไปด้วย


การตัดแต่ง
การตัดแต่ง ไม้ประดับหลังจากปลูกประดับไปนานๆ ส่วนยอด กิ่งก้าน หรือใบจะยืดยาวเจริญไม่เป็นระเบียบ ขาดความสวยงาม จำเป็นต้องมีการตัดแต่งกิ่งออกบ้าง เพื่อรักษาทรงพุ่มให้สวยงามยิ่งขึ้น หากมีกิ่งหักเสียหายที่เกิดจากการเคลื่อนย้าย กิ่งมีโรคแมลงเข้าทำลาย หรือกิ่งแห้ง ควรตัดออกให้ดูสวยงามและยังเป็นการรักษาสุขภาพของต้นไม้ให้ดีขึ้นด้วย โดยใช้กรรไกรตัดแต่งหรือมีดคมๆ เพื่อไม่ให้แผลที่ตัดช้ำมากนัก
การตัดแต่งต้นไม้ คือ การตัดส่วนที่ไม่ต้องการออกเพื่อให้ได้รูปทรงตามที่ต้องการ และการตัดแต่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับไม้ต้นและไม้พุ่ม
สิ่งที่ควรตัดเป็นสิ่งแรกของการตัดแต่ง
* กิ่งที่แห้งตาย
* กิ่งที่อ่อนแอ ฉีกขาด
* กิ่งที่เป็นโรค
* กิ่งที่เจริญผิดปกติ
* กิ่งที่แทงเข้าภายในพุ่มต้น


การตัดกิ่งเหล่านี้ จะทำให้ทรงพุ่งโปร่ง แสงสว่าง ลม จะพัดผ่านเข้าไปในทรงพุ่มได้สะดวก กรณีไม้ยืนต้น การตัดแต่งจะช่วยควบคุมการเจริญเติบโต ช่วยเพิ่มผลผลิต ส่วนไม้พุ่ม จะทำให้รูปทรงพุ่มต้นสมดุล
การตัดแต่งไม้พุ่ม จะเริ่มตั้งแต่การเด็ดยอด เพื่อให้ไม้พุ่มแตกตาข้าง ทำให้การเจริญเติบโตทางยอดลดลง หลังจากนั้นอาจจะมีการขลิบ แต่ง ลิดใบและยอดที่แทงออกมาจากทรงพุ่ม กรณีที่ทรงพุ่มแน่นเกิดไปควรจะตัดแต่งกิ่งออกบ้าง โดยตัดให้ชิดพื้นดิน ส่วนไม้พุ่มที่แทงหน่อออกมาจะต้องตัด ให้ลึกลงไปใต้ระดับดิน
ส่วนไม้พุ่มที่ต้องการให้มีการเจริญเติบโตใหม่ เนื่องจากมีอายุมาก ให้ตัดส่วนของไม้นั้น เหลือเพียงหนึ่งในสามของความสูงเดิม ดูแลรักษาให้เจริญเติบโตใหม่ การตัดแต่งไม้พุ่มให้เล็กลง จะช่วยให้มีการแตกกิ่งยอดใหม่ ทําให้ไม้พุ่มนั้นมีดอกมากขึ้น
การตัดแต่งแต่ละครั้ง ควรใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ เครื่องมือจะต้องคมและใช้ให้ถูกต้อง นอกจากนี้หากรอยแผลที่ถูกตัดแต่งมีขนาดใหญ่จะต้องใช้ยาทาแผล เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าไปทำลาย

ความเป็นมาของหญ้าและการดูแลสนามหญ้า

ความเป็นมาของหญ้าและการดูแลสนามหญ้า

อันว่าหญ้าที่เราเห็นเป็นแผ่น ๆ ที่ผู้รับเหมาปูหญ้าจัดสวนอามาปูไว้ในสนามบ้านเรานั้น ร้อยทั้งร้อยมาจากนาหญ้าหรือไร่หญ้า แต่เดิมนาหญ้ามีอยู่มากแถบมีนบุรี หนอกจอก ลาดกระบัง (แต่เดี๋ยวนี้เริ่มขยับห่างออกไปถึงปทุมธานีและจังหวัดอื่นรอบกรุงเทพฯ) ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่ยึดอาชีพทำนาหญ้าเป็นชาวไทยมุสลิมที่มาตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่บริเวณนี้ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินธ์ตอนต้น เหตุที่ชาวบ้านละแวกนี้ยึดอาชีพทำนาหญ้า เพราะในยุคหนึ่ง เจ้านายและขุนนางชั้นผู้ใหญ่นิยมทำสนามหญ้าไว้ในของตนเองตามแบบฝรั่ง แต่หาหญ้ามาปูสนามไม่ได้ จึงเกณฑ์ให้ชาวบ้านละแวกดังกล่าวปลูกหญ้ามาถวาย เมื่อสั่งสมประสบการณ์
จากรุ่นสู่รุ่นเป็นเวลาหลายสิบปีเข้า ชาวบ้านแถบนั้นจึงยึดการปลูกหญ้าแทนการทำนาเป็นอาชีพหาเลี้ยงครอบครัวเสียเลย

ขั้นตอนการทำนาหญ้าในอาณาบริเวณที่เราเรียกว่า “นาหญ้า” นั้น ชาวบ้านจะอัดพื้นดินข้างล่างจนแน่นแข็ง อาจจะใช้ดินลูกรังถมแล้วบดอัดจนแน่นคล้ายลานคอนกรีต บริเวณโดยรอบนาหญ้า จะขุดเป็นคูคลองเล็ก ๆ สำหรับชักน้ำเข้ามารดหญ้า
เมื่อถึงเวลาจะทำนา ชาวนาจะใช้เครื่องสูบน้ำสูบเอาดินเลนจากท้องคลองฉีดพ่นให้ทั่วผืนนา เรียกว่าการฉีดเลน และเผอิญเหลือเกินว่าดินเลนใต้คูคลองบริเวณนี้มีอินทรีย์สารอุดมสมบูรณ์ เป็นอาหารชั้นเลิศของหญ้าอย่างพอเหมาะพอดี เมื่อฉีดเลนจนได้ชั้นดินเลนเพียงพอแล้ว ก็ถึงกระบวนการดำหญ้า กล่าวคือ ใช้หญ้าที่มีอยู่ ไม่ว่าหญ้านวลน้อย หญ้าญี่ปุ่น หรือหญ้ามาเลย์ ตัดออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาดสัก 5 ซ.ม. แปะลงบนดินเลนในนาหญ้า ให้ห่างกันราวสักหนึ่งฟุต พอดำเสร็จก็ใช้ลูกกลิ้งเหล็กกลิ้งบดทับให้หญ้าติดแน่นกับดินเลน จากนั้นก็ทดน้ำเข้านา เร่งปุ๋ยให้หญ้าแตกกอเร็วจนเต็มพื้นที่ ระหว่างนั้นต้องให้น้ำและตัดหญ้าส่วนที่ยาวเกินไปออกเสียบ้าง เรียกว่าทำทุกวิถีทางเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของหญ้าให้เร็วที่สุด
เมื่อหญ้าแตกเต็มพื้นที่ ก็ใช้มีดคม ๆ ที่ดัดแปลงจากใบเลื่อยตัดเหล็กตัดหญ้าออกเป็นแผ่น ๆ แผ่นละครึ่งตารางเมตร แล้วใช้เครื่องมือที่ทำขึ้นเฉพาะแซะหญ้าออกจำหน่ายที่เล่ามาค่อนข้างละเอียดเช่นนี้ ก็เพื่อให้เห็นว่า หญ้าแต่ละแผ่นมีที่มาอย่างไร นาหญ้าเขาเร่งปุ๋ยเร่งน้ำกันอย่างไร หญ้าที่มาปูสนามหน้าบ้านของเราจึงเขียวขจีอย่างที่เห็นกันในวันแรก ๆ ที่เพิ่งปูหญ้าเสร็จคราวนี้กลับมาที่ คำถามข้างต้นดีกว่า หญ้าในสนามหน้าบ้านเริ่มเหลืองหลังจากปูไปได้ไม่ถึงเดือน มันจะตายไหม? จะแก้ไขอย่างไร?ก่อนจะตอบ ต้องถามกลับไปว่า ได้รดน้ำสนามหญ้าให้ชุ่มอย่างน้อยวันละสองครั้งหรือไม่? ถ้ารดแล้วหญ้ายังเหลืองเฉาอยู่อีก ก็สบายใจได้ครับ รดน้ำให้ชุ่มต่อไปอีกสักพัก หญ้าก็จะฟื้นตัวโดยทั่วไปเรามักปูสนามด้วยหญ้านวลน้อย เพราะราคาถูกกว่าหญ้าชนิดอื่น และหญ้านวลน้อยเป็นพันธุ์หญ้าพื้นเมืองของไทย ทนทานต่อภูมิอากาศบ้านเราได้ดีที่สุด แต่สาเหตุที่หญ้าเหลืองเฉาเหมือนหญ้าจะตายหลังจากปูไปได้สักพัก ก็เพราะหญ้ายังปรับตัวไม่ทัน จากที่เดิมเคยอยู่ในนาหญ้า มีน้ำเลี้ยงชุ่มฉ่ำ มีการให้ปุ๋ยและสารอาหารอย่างล้นเหลือ เมื่อปุบปับต้องมาอยู่ในสนามหน้าบ้าน ถึงจะรดน้ำชุ่มอย่างไรก็ไม่มีทางเทียบได้กับในนาหญ้า อีกทั้งรากของหญ้าที่เพิ่งปูก็ยังไม่ทันแทงลงดินในสนาม ทำให้หญ้าเหลืองเฉาอย่างที่เราเห็น

รดน้ำต่อไปครับ เพราะช่วงแรกนี้สำคัญมาก ให้เวลาหญ้าเขาได้ปรับตัวกับบ้านใหม่สักพัก ให้รากของเขาแทงลงดินและหาเลี้ยงลำต้นได้สักหน่อย คราวนี้แหละ เขาจะแตกใบอ่อนเขียวขจีจนตามตัดกันไม่ทันเชียวละ ต่อปัญหาข้อนี้จึงแนะนำว่า สนามหญ้าใหม่ ๆ อย่าเสียดายน้ำ ให้ขยันรดน้ำสนามให้ชุ่มอย่างน้อยวันละสองครั้ง ถ้าเป็นไปได้อาจรดน้ำถึงวันละ 3-4 ครั้งยิ่งดี อย่าไปสับสนกับการรดน้ำต้นไม้ที่เคยได้ยินมาว่า ไม่ควรรดน้ำตอนเที่ยง ๆ เพราะจะทำให้ต้นไม้สะบัดร้อนสะบัดหนาวตาย หญ้าในสนามไม่ใช่ต้นไม้ครับ ปลูกใหม่ ๆ น้ำต้องมาก และก็อย่าเพิ่งใจร้อนให้ปุ๋ยชนิดใด ๆ แก่หญ้าในสนามในช่วงนี้ เพื่อให้เขาปรับตัวให้ได้เสียก่อนอย่างน้อยสัก 2- 3 เดือน ต่อจากนั้นก็ค่อยเพลาการรดน้ำเหลือวันละครั้งหรือสองครั้งและค่อยเริ่มให้ปุ๋ย

สนามหญ้าที่เพิ่งทำเสร็จไม่เรียบ มีแอ่งบ้าง ดินทรุดเป็นหลุม เตรียมซื้อทรายหยาบแบบใช้ในการก่อสร้าง พร้อมกับปุ๋ยเทศบาลหรือที่เรียกว่า ปุ๋ยกทม. ถ้าหาไม่ได้ก็ใช้ปุ๋ยหมักทั่วไปสักสองสามถุง ไม่แนะนำให้ใช้ปุ๋ยคอกที่ทำจากขี้วัวขี้ควาย เพราะเจออยู่บ่อย ๆ ที่ในปุ๋ยคอกจะมีเมล็ดหญ้าชนิดอื่น ๆ เมื่อใส่ลงในสนามหญ้า ปรากฎว่ามีหญ้าแปลกประหลาดงอกแทรกขึ้นมา ต้องตามถอนตามทำลายในภายหลังเมื่อพบว่าสนามหญ้าบริเวณใด ดินทรุดตัวจนเป็นแอ่ง หรือเป็นหลุม ให้ใช้ทรายผสมกับปุ๋ยสัดส่วนอย่างละครึ่งถมบริเวณนั้นแล้วบดอัดด้วยลูกกลิ้ง หรือตบด้วยด้ามจอบให้แน่น แรก ๆ จะดูไม่สวย เพราะเหมือนสนามหญ้าเป็นรอยด่าง แต่พอรดน้ำให้ชุ่มฉ่ำไปสักพัก หญ้างอกข้ามาคลุมจนหมดก็จะได้สนามหญ้าที่สวยเหมือนเดิมแล้ว พูดถึงความราบเรียบของสนามอีกนิด ถ้าสังเกตให้ดี ตอนที่จ้างเขามาปูหญ้า คนที่มาปูหญ้าจะมีลูกกลิ้งเหล็กขนาดใหญ่มาด้วย พอปูหญ้าเสร็จ เขาจะใช้ลูกกลิ้งเหล็กที่มีน้ำหนักมาก ๆ กลิ้งบดทับสนามหญ้าให้แน่นและราบเรียบ แต่จะอย่างไรก็ตาม โอกาสที่สนามจะไม่ราบเรียบเนื่องจากถูกน้ำฝนหรือน้ำที่รดสนามกัดเซาะ หรือเพราะดินที่อยู่ด้านล่างทรุดตัวในภายหลังก็มักเกิดขึ้นได้เสมอถ้าไม่คิดอะไรมาก ก็แนะนำให้รอครับ รอไปสักปีครึ่งปี ดินในสนามจะมีการปรับสมดุลย์ของเขาเอง ไม่นานก็ราบเรียบอย่างที่เราอยากให้เป็น แต่ถ้าใจร้อน อยากให้เรียบเร็ว ๆ ก็คงต้องลงทุนหน่อย คือต้องซื้อหาหรือหยิบยืมลูกกลิ้งเหล็กแบบที่กล่าวถึงข้างต้นมาไว้ใช้งานสักอันหนึ่ง ก่อนใช้ก็รดน้ำสนามหญ้าให้ชุ่ม แล้วกลิ้งลูกกลิ้งทับไปทับมาเหมือนรถบดถนนสร้างถนนนั่นแหละครับ ลูกกลิ้งที่ว่า อาจดัดแปลงหล่อขึ้นใช้เอง โดยใช้ท่อคอนกรีตเส้นผ่าศูนย์กลางสัก 6 นิ้ว ใช้ท่อเหล็กหรือท่อ PVC ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้วเป็นแกนกลาง แล้วผสมคอนกรีตเทกรอกเข้าไป ให้ร้านที่รับจ้างอ๊อกเหล็กอ๊อกแกนและมือจับให้ ลูกกลิ้งประดิษฐ์เองแบบนี้ก็ใช้งานได้ดีเหมือนของมืออาชีพเช่นกัน คนรักสนามหญ้าส่วนใหญ่จะมีลูกกลิ้งชนิดนี้ติดบ้านไว้เสมอ แต่ถ้าหาไม่ได้ หรือไม่อยากทำให้วุ่นวาย ก็รดน้ำให้ชุ่มจนแฉะ แล้วยอมเลอะเทอะหน่อย ใช้ด้ามจอบตบอัดพื้นสนามให้เรียบ ก็พอจะแก้ไขปัญหาได้เช่นกัน

การให้ปุ๋ยสนามหญ้าหญ้าก็เหมือนต้นไม้อื่น ๆ คือต้องการแร่ธาตุในดิน แต่ดินที่ใช้ถมที่สร้างบ้านสมัยนี้ ส่วนใหญ่เป็นดินใต้บาดาล ได้มาจากบ่อดินที่ขุดเสียลึกท่วมหัวท่วมหู สารอาหารที่จำเป็นต่อหญ้าและต้นไม้อื่น ๆ ก็พลอยน้อยไปด้วย จึงจะเห็นว่า ตอนที่จ้างเขามาปูหญ้า คนปูหญ้าส่วนใหญ่มักจะเอาปุ๋ยเทศบาล หรือปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักโรยหน้าเสียก่อน แต่เมื่อหญ้าดูดกินอาหารจากปุ๋ยที่โรยหน้าไว้จนหมดแล้ว คราวนี้ก็เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องเติมปุ๋ยให้กับดินเสียทีก็อีกนั่นแหละ แนะนำให้ใช้ปุ๋ยเทศบาลหรือปุ๋ยกทม. ถ้าหาไม่ได้ค่อยใช้ปุ๋ยหมัก (ส่วนปุ๋ยคอกหลีกเลี่ยงได้ก็หลีกเลี่ยงเถอะครับ ด้วยเหตุผลที่ว่ามาแล้ว) และถ้าขยัน อาจใช้น้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตราส่วนที่กำหนดไว้ข้างขวดรด หรือฉีดพ่นให้ทั่วสนามก็จะยิ่งดี เพราะจะช่วยปรับความสมดุลย์ของจุลินทรีย์ในดินได้อีกทางหนึ่ง ใส่ปุ๋ยชนิดใดชนิดหนึ่งที่ว่ามาเดือนละครั้งก็พอครับ ใช้มากเปลืองทั้งแรงทั้งเงินการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ควรเป็นตัวเลือกท้าย ๆ เพราะนอกจากสิ้นเปลืองแล้ว ยังมีผลข้างเคียงต่อดินในระยะยาวด้วย คือทำให้ดินกระด้าง แต่ถ้าอยากใช้เพราะเห็นผลทันใจวัยรุ่น ก็อาจใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 หรือที่เรียกว่าปุ๋ยยูเรีย ลักษณะเป็นเม็ดสีขาวขุ่น ๆ คล้ายเม็ดสาคูหว่านให้ทั่วสนาม แล้วรดน้ำตามให้ชุ่ม หรืออาจใช้สลับกับปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 16-16-16 หรือ 15-15-15 ที่หาซื้อได้ตามร้านต้นไม้หรือจำหน่ายวัสดุทางการเกษตรทั่วไป หว่านบาง ๆ ให้ทั่วสนามก็ได้เช่นกัน แต่ไม่ควรใช้เกินปีละสองครั้ง จะทำให้ดินแข็งและกระด้าง

สนามหญ้าประการต่อมาถัดจากการใส่ปุ๋ยก็คือ การเติมดินให้กับสนามหญ้าครับพูดแค่นี้หลายคนอาจงง เพราะตั้งแต่ทำสนามหญ้ามาเป็นสิบปี บางคนอาจไม่เคยเติมดินเลย สำหรับคนที่ไม่พิถีพิถันกับความงดงามของสนามหญ้ามากนัก อาจจะผ่านเลยข้อนี้ไปก็ได้ แต่ถ้าต้องการสนามหญ้าที่สวยงาม น่าดูน่านั่งเล่น การเติมดินให้แก่สนามนับเป็นวิธีการดูแลสนามหญ้าที่จำเป็นอีกประการหนึ่งทุกครั้งที่เราตัดหญ้า เรามักเอาเศษหญ้าใส่เข่ง ใส่ถุงทิ้งไปครั้งละไม่น้อย เศษหญ้าที่เราทิ้งทำลายออกไปนั่นถามว่ามาจากไหน? ก็ต้องตอบว่ามาจากดินที่อยู่ในสนามบ้านเรานั่นเอง ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลของการเติมดินให้แก่สนามถ้าไม่พิถีพิถันอะไรมาก ก็เอาดินร่วน หรือง่ายที่สุดคือดินถุงที่มีขายอยู่ทั่วไปนั่นแหละ หว่านได้เลย หว่านให้ทั่วสนาม แล้วรดน้ำตาม วิธีนี้ในช่วงสองสามอาทิตย์แรกสนามหญ้าอาจดูสกปรกด้วยเศษดินสีดำ ๆ ที่ยังอาจติดอยู่ตามลำต้นและใบของหญ้า แต่สักพักเมื่อโดนน้ำที่รด หรือโดนฝนชะ ก็จะค่อย ๆ ละลายลงไปเอง บางคนอาจถือโอกาสนี้ ผสมปุ๋ยกทม. หรือปุ๋ยหมักหว่นไปพร้อมกับดินด้วย เป็นการให้ทั้งดินทั้งปุ๋ยปริมาณการใช้ดินก็ไม่ต้องมากครับ สนามหญ้าขนาด 100 ตารางเมตร ใช้ดินสัก 3-4 ถุงก็พอ หว่านบาง ๆ อย่าให้หนามาก เอาแค่พอทดแทนดินที่หายไปในแต่ละปีก็พอครับ

วิธีการตัดหญ้าและขั้นตอนการตัดหญ้า

วิธีการตัดหญ้าและขั้นตอนการตัดหญ้า


การตัดหญ้าดูแล้วไม่น่ามีปัญหา มีเครื่องก็ตัดไป หญ้ายาวก็ตัดให้สั้นคิดอย่างนั้นก็ถูกครับ แต่หลายคนอาจเจอปัญหาว่า ทำไมตัดหญ้าเสร็จใหม่ ๆ สนามหญ้าจะกลายเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาล ไม่เขียวสบายตาเหมือนก่อนตัด หรือตัดหญ้ายากมาก หญ้าเหนียวตัดลำบาก จนเข็นเครื่องตัดหญาแทบไม่ไหว เราจะมาดูว่าตัดหญ้าอย่างไรจึงจะถูกต้อง


วิธีการตัดหญ้าในที่นี้ขอพูดถึงเฉพาะคนที่ใช้เครื่องตัดหญ้าเท่านั้น ส่วนที่ใช้กรรไกรตัดหญ้าขอยกไว้ในฐานะบุคคลผู้มีความเพียรเป็นเลิศอันไม่สมควรพาดพิงก้าวล่วงด้วยประการใด ๆบางคนเคยตัดหญ้าอยู่บ่อย ๆ อ่านถึงตรงนี้อาจแย้งว่า ไม่เห็นยาก ติดเครื่องได้ก็ลุยเลย ไม่เห็นจะต้องมาพูดพล่ามให้วุ่นวายช้าก่อนครับ ก่อนตัดหญ้ายังมีอย่างน้อยสองสามอย่างที่น่ากระทำก่อน

1. เดินสำรวจสนามให้รอบ ดูว่ามีเศษอิฐเศษหินหลงมาอยู่ในสนามหญ้าของเราหรือไม่ อาจจะมาจากเด็กซน ๆ ข้างบ้านปาเข้ามา หรือจากการแตกบิ่นของพื้นผิวของบ้าน ฯลฯ ถ้าเจอก็เก็บออกให้หมด เพราะเศษหินเศษปูนที่ว่า เป็นตัวบ่อนทำลายใบมีดตัดหญ้าได้อย่างชะงัด


2. ตัดแต่งไม้พุ่มต่าง ๆ ในบริเวณบ้านให้เสร็จสิ้นก่อนตัดหญ้าเสมอ เก็บกวาดกิ่งใหญ่ ๆ ออกให้หมด ส่วนเศษใบเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ตกอยู่ในสนามหญ้า เอาไว้พอเครื่องตัดหญ้าตัดผ่าน เครื่องที่มีกล่องเก็บหญ้าอยู่ด้วยจะดูดเก็บเศษใบไม้เหล่านี้ไปได้เป็นส่วนใหญ่ เป็นการผ่อนแรงไปได้อีกไม่น้อย ช่วยให้ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อน


เวลาไหนที่สมควรตัดหญ้า
เวลาที่เหมาะสำหรับการตัดหญ้าอย่างยิ่งคือเวลาบ่าย สักประมาณบ่ายสามโมง เนื่องเพราะเป็นเวลาที่ใบหญ้าถูกแดดจนน้ำค้างแห้งดีแล้ว ใบหญ้าที่ยังชื้นจะตัดยากกว่าใบหญ้าที่แห้ง และเมื่อตัดเสร็จประมาณ 5-6 โมงเย็น ก็พอดิบพอดีกับเวลาเย็นย่ำ พระอาทิตย์ตกดิน อีกสักพักน้ำค้างก็จะเริ่มลงช่วยให้หญ้าที่ช้ำเพราะเพิ่งถูกตัดฟื้นตัวได้เร็วแต่ก็อีกนั่นแหละ พ่อบ้านแม่บ้านยุคนี้ เวลาเป็นของหายากเสียยิ่งกว่าทองคำ บ่ายวันเสาร์อาทิตย์อย่างนี้ ใครก็อยากนอนเอกเขนกอยู่กับบ้านให้หนำใจ ใครจะขยันตัดหญ้าตอนบ่าย ๆ ก็เลยอนุโลมว่า ตัดหญ้าได้ตามแต่จะสะดวก สะดวก ตอนสาย ๆ ว่าง ๆ ก็ตัดไปเลย หญ้าอาจเหนียวสักนิดก็ทนเอาหน่อย บ่าย ๆ จะได้นั่ง ๆ นอน ๆ ฟังเพลง หรือชวนเพื่อนมาตั้งวงถองกันที่สนามหญ้า ขอแต่ให้ได้ตัดสักเดือนละสองครั้งก็พอแล้วครั้นพอได้ฤกษ์ลงมีด ก็อย่าลืมเช็คความพร้อมของเครื่องเสียก่อน ถ้าเป็นเครื่องใช้น้ำมัน ก็เปิดฝาถังน้ำมันดูว่ามีน้ำมันเหลือพอตัดหญ้าทั้งสนามหรือไม่ ถ้าไม่มีก็รีบไปซื้อมาเตรียมไว้ก่อน เพราะขณะตัด ๆ อยู่แล้วน้ำมันหมด อาจเกิดอาการอารมณ์ค้าง ขัดใจจนไม่อยากตัดต่อ ทิ้งให้ค้างเติ่งอยู่แค่ครึ่งสนามเสียอย่างนั้น อีกอย่างควรเช็คดูความคมของใบมีดตัดหญ้าเสียหน่อย ปกติ ถ้าหญ้าไม่ยาวมาก และเครื่องตัดแรงดีพอสมควร ใบมีดจะทื่อไปสักนิดก็ไม่เป็นปัญหาต่อการตัด หญ้าที่ตัดอาจจะช้ำไปบ้างก็ไม่ถึงกับเสียหาย แต่ถ้าอยากได้งานที่เนี้ยบ และทำงานได้เร็ว การลับใบมีดก็เป็นสิ่งจำเป็นที่นิยมกันทั่วไปคือ ถอดใบมีดไปให้ร้านเครื่องเหล็ก หรือร้านขายต้นไม้ หรือร้านขายเครื่องตัดหญ้าลับใบมีดให้ ร้านพวกนี้เขาจะมีแท่นเจียร์ไว้ลับมีด ใช้เวลาไม่ถึงห้านาทีก็เสร็จ อัตราค่าจ้างก็อยู่กับความเขี้ยวของแต่ละแห่ง หามาตรฐานไม่ค่อยได้ สำหรับผู้เขียนเอง ชอบลับใบมีดเป็นงานอดิเรก ใช้เพียงหินลับมีดก้อนละร้อยกว่าบาทนั่นแหละ ค่อย ๆ ลับไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จะรีบร้อนกับชีวิตไปทำไม ลับแบบนี้ได้ทั้งงาน ได้ทั้งฝึกสมาธิเจริญสติ เห็นลับใบมีดเครื่องตัดหญ้าอยู่ดี ๆ ผบ.ทบ. ก็ช่วยอนุเคราะห์ ขนมีดในครัวมาช่วยเพิ่มงานให้อีกหลายเล่ม ก็เลยได้ทำสมาธิกันจนแทบบรรลุมรรคผลเป็นเทพโน่นแน่ะ โบราณเขาว่า คนลับมีดไม่คม มักเป็นคนกลัวเมีย แต่ในกรณีผู้เขียน ดูเหมือนจะเป็นไปในทางตรงข้าม ลับมีดยิ่งคม ก็ยิ่งกลัว.... งานนี้ที่โบราณว่ามาท่าจะใช้ไม่ได้เสียแล้วอ้อ เมื่อลับใบมีดแล้ว ไม่ว่าจะจ้างเขาลับหรือลับเอง ก็อย่าลืมเช็คว่าที่ลับมาเรียบร้อยแล้วนั้นใบมีดสมดุลกันหรือไม่ ตรวจสอบได้โดยเอาแท่งดินสอสอดเข้าไปในแกนกลางของใบมีดแล้วยกขึ้นให้ได้ระนาบกับพื้น ดูว่าใบมีดทั้งสองข้างหนักสมดุลกันหรือไม่ ถ้าไม่ก็รีบแก้ไขเสีแต่ตอนนั้นเลยเอาละ ได้ฤกษ์ก็แล้ว น้ำมันก็มีแล้ว (ไฟฟ้าโดยทั่วไปมีอยู่แล้ว) ใบมีดก็คมแล้ว ไปตัดหญ้ากันเลยตามตำราบอกว่า ไม่ควรตัดหญ้าไปในทิศทางเดียวกันทุกครั้ง ควรตัดสลับกันบ้าง เช่น ทุกครั้งตัดจากซ้ายไปขวา มาตัดอีกครั้งให้ตัดจากบนลงล่างบ้าง สลับกันไปมาแบบนี้ เพื่อไม่ให้หญ้าเอนลู่ไปทางเดียวกัน นานเข้าจะทำให้สนามเป็นร่อง น้ำอาจขัง ถ้าทำได้ตามตำราก็ตัดสลับแบบที่ว่าก็ดี แต่โดยทั่วไป บ้านสมัยนี้เนื้อที่ไม่มาก บางสนามก็จะมีแนวบังคับด้านกว้างนิดเดียว ด้านยาวยาวย้วย จะมาตัดแบบที่ว่าก็ไม่สะดวก อันนี้ก็เลยอนุโลมเอาตามความสะดวกก็แล้วกัน อย่ายึดตามตำรามากเกินไปเลย แค่นี้ก็หาเวลาพักผ่อนในวันหยุดยากพอแรงแล้วในระหว่างการตัดหญ้า หากมีเสียงดังผิดปกติเกิดขึ้นที่เครื่องตัด อย่าได้ละเลยเด็ดขาด รีบดับเครื่องและตรวจตราใบมีดใต้เครื่องตัดให้ดีเสียก่อน หากเป็นกรณีเครื่องตัดไปโดนของแข็งอย่างก้อนกรวดก้อนหิน ถ้าหากใบมีดบิ่น ให้หยุดตัดไว้ก่อน แล้วถอดใบมีดไปลับให้เสมอกันทั้งสองด้าน การฝืนตัดต่อไปในขณะใบมีดบิ่นจนทำให้จุดศูนย์ถ่วงของใบมีดเสียไป จะทำให้เครื่องสั่นผิดปกติ ตัดไปนาน ๆ มือที่จับเครื่องจะชา และยังอาจทำให้เครื่องสึกหรอได้มากกว่าปกติ โดยเฉพาะเครื่องแบบใช้ไฟฟ้า มอเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ จะพาลเสียหายได้

ในการตัดหญ้า ให้เข็นเครื่องตัดหญ้าไปข้างหน้าเป็นเส้นตรงจากปลายข้างหนึ่งของสนาม แล้วย้อนกลับมายังปลายอีกข้างหนึ่ง โดยแต่ละเที่ยว ควรกะประมาณให้ใบมีดของเครื่องล้ำเข้าไปในแนวเดิมสัก 5-10 เซ็นติเมตร เพื่อให้หญ้าทั้งสองแนวสั้นยาวกลมกลืนกัน เมื่อตัดไปสักพัก ให้ก้มลงมองแนวหญ้าที่ตัดไปแล้ว อาจพบว่ามีบางหย่อมที่เผลอตัดไม่หมด ให้จัดการเสียก่อนย้ายไปตัดที่ใหม่สำหรับคนที่ใช้เครื่องตัดหญ้าไฟฟ้า ควรพักเครื่องตัดหญ้าของท่านทุก 15-20 นาที เพื่อป้องกันมอเตอร์ร้อนจัดจนเกินไป แม้ว่าเครื่องตัดหญ้าที่ดีจะมีวงจรป้องกันมอเตอร์ไหม้เนื่องจากร้อนจัดแล้วก็ตาม แต่การพักเครื่องเป็นระยะ ก็ช่วยให้อายุการใช้งานของเครื่องยาวนานขึ้นด้วยความปลอดภัยในการตัดหญ้าแม้ว่าเครื่องตัดหญ้าที่ใช้ตามบ้าน ผู้ผลิตจะพยายามออกแบบมาให้ป้องกันอุบัติเหตุจากการดีดกระเด็นของของแข็งที่อาจหลงอยู่ในสนามหญ้ามาแล้วระดับหนึ่ง แต่เพื่อความปลอดภัย ควรสวมรองเท้าบูตในขณะตัดหญ้าเพื่อเพิ่มความปลอดภัยบริเวณเท้าและต้นขาของท่านด้วยจะดีกว่า ผู้เขียนเคยตัดหญ้าอยู่เพลิน ๆ ได้ยินเสียงดังป๊อก ที่เครื่องตัดหญ้า พอหยุดเครื่องสำรวจดู พบว่าใบมีดไปฟาดโดนตะปูเก่า ๆ ดอกหนึ่งที่หลงหูหลงตาอยู่ในสนาม ตะปูโดนใบมีดฟาดกระเด็นไปเสียบทะลุโครงเครื่องตัดหญ้าด้านในอย่างน่าหวาดเสียว ยังนึกเสียวไส้ว่า หากมันกระเด็นผิดทิศผิดทางออกมาเสียบเข้าที่เท้าเข้า ผลคงออกมาน่าสยดสยองกว่านี้อีกมาก ความปลอดภัยในการใช้เครื่องจึงเป็นข้อพึงระวังต้น ๆ ของการตัดหญ้า


หลังการตัดหญ้าเมื่อตัดหญ้าในสนามเสร็จ อย่าปล่อยให้เศษหญ้าหลงเหลืออยู่ในสนาม แม้จะตัดด้วยเครื่องแบบที่มีกล่องเก็บหญ้าที่สามารถดูดเก็บเศษหญ้าได้เป็นส่วนใหญ่แล้วก็ตาม แต่ก็จะมีเศษหญ้าจากการตัดอีกส่วนหนึ่งตกค้างอยู่ ควรเก็บกวาดเศษหญ้าเหล่านั้นให้เรียบร้อยสมัยนี้มีเครื่องดูดหญ้าทำงานคล้ายเครื่องดูดฝุ่น แต่จะมีแรงดูดมากกว่า ผลิตออกมาเพิ่มอำนวยความสะดวก แต่ผู้เขียนคิดว่าเกินความจำเป็นสำหรับสนามหญ้าในบ้านอยู่อาศัยทั่ว ๆ ไป ใช้เพียงไม้กวาดทางมะพร้าวกวาดใส่บุ้งกี๋ก็เพียงพอแล้ว เวลากวาดหญ้าในสนาม จะลากไม้กวาดแบบการกวาดบ้านทั่วไปไม่ได้ ต้องกวาดโหย่ง ๆ ลักษณะเดียวกับการเขี่ยเศษหญ้า ค่อย ๆ ตะล่อมให้มารวมกันแล้วจึงโกยใส่บุ้งกี๋บางคนอาจคิดแบบมักง่ายเข้าข้างตัวเองว่า เศษหญ้าในสนามทิ้งไว้นาน ๆ ก็กลายเป็นปุ๋ยให้หญ้าได้ แต่ในความเป็นจริง ก่อนที่เศษหญ้าเหล่านี้จะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย มันจะกลายเป็นแหล่งหมักหมมเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงศัตรูพืช ทั้งยังติดเสื้อผ้าเลอะเทอะยามที่เรานั่งเล่นในสนาม และปิดกั้นแสงแดดไม่ให้ส่องถึงต้นหญ้าบริเวณนั้น ทำให้หญ้าเหลืองเป็นหย่อม ๆ อีกด้วยกิจวัตรอีกอย่างหนึ่งหลังตัดหญ้าเสร็จคือ ทำความสะอาดเครื่องตัดหญ้าให้เรียบร้อย ให้พร้อมใช้งานได้ในครั้งต่อไป เศษหญ้าจำนวนมากมักจะจับเป็นคราบอยู่ในตัวเครื่อง ควรใช้เกียงเล็ก ๆ แซะทิ้งไปเสียก่อนที่จะติดแน่นกว่านี้ ทำให้แซะลำบาก จากนั้นให้ทำความสะอาดบริเวณไส้กรองอากาศในกรณีเป็นเครื่องน้ำมัน ให้เอาไส้กรองออกเคาะแล้วจึงเก็บเครื่องเข้าห้องเก็บของ ถ้าเป็นเครื่องไฟฟ้าให้ทำความสะอาดช่องระบายอากาศที่มักจะมีฟองน้ำหนา ๆ ทำหน้าที่เป็นตัวกรอง อย่าให้มีเศษหญ้าติดค้างอยู่ ตรวจดูสายไฟ และม้วนเก็บให้เป็นระเบียบถ้ายังมีเวลาเหลือ ควรรดน้ำสนามหลังตัดหญ้าเสร็จเสียในเย็นนั้นเลย จะช่วยให้หญ้าฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

อันสนามหญ้าดูไปก็เหมือนเป็นพนักงานต้อนรับคนแรกของบ้านหลังเก่งของเรา ทั้งยังเป็นตัวบ่งบอกลักษณะนิสัยของเจ้าบ้านได้อย่างดี ถ้าสนามหญ้ารกรุงรัง ขาดการเอาใจใส่ ก็จะประจานถึงความเกียจคร้านและความมักง่ายของเจ้าของบ้าน ตรงข้ามกับสนามที่สวย หญ้าได้รับการตัดแต่งเป็นระเบียบ ผู้มาเยี่ยมเยียนก็จะรู้ได้ทันทีว่า เจ้าของบ้านเป็นพ่อบ้านแม่บ้านที่ขยันหมั่นเพียร เป็นคนรักบ้านรักครอบครัวในเมื่อรักจะมีสนามหญ้าอยู่หน้าบ้านแล้ว ก็ขอให้ดูแลสนามให้สวยให้เรียบร้อยอยู่เสมอ ให้เป็นภาพเชิงบวกสะท้อนตัวตนของเจ้าของบ้านกันเถิด อย่าปล่อยให้เป็นภาพเชิงลบประจานลักษณะนิสัยของเจ้าของบ้านเลยครับ เสียเงินจัดสวนไปแล้วยังพอว่า อย่าให้ต้องเสียหน้าซ้ำซ้อนอีก หากกิจกรรมยามว่างของคุณ คือการดูแลต้นไม้และสวนย่อมหน้าบ้าน การตัดหญ้าคงเป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องทำเป็นประจำและเครื่องตัดหญ้าก็เป็นอุปกรณ์ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการตัดหญ้าได้เป็นอย่างดี

แนะนำวิธีใช้เครื่องตัดอย่างถูกวิธีและปลอดภัย ดังนี้


§ ต้องมั่นใจว่าใบมีดของเครื่องตัดหญ้าที่คุณใช้มีความคมอยู่ตลอดเวลา ทุกครั้งที่ใช้
§ ห้ามตรวจสอบหรือทำบางสิ่งบางอย่างกับเครื่องตัดหญ้าขณะที่เครื่องกำลังทำงานอยู่
§ ห้ามใช้มือหรือเท้าเขี่ยเศษหญ้าออกจากเครื่องตัดหญ้าขณะที่เครื่องกำลังทำงาน ให้ทำเมื่อปิดเครื่องแล้วเท่านั้น
§ ก่อนใช้จะต้องมั่นใจว่าเครื่องป้องกันไม่หลุดหาย
§ ถ้าจำเป็นต้องไปทำกิจกรรมอื่น ต้องปิดเครื่องตัดหญ้าก่อนทุกครั้ง
§ ผู้ใช้ควรสวมชุดป้องกัน เช่น แว่นตา กางเกงขายาวและถุงมือ ไม่ควรใส่รองเท้าฟองน้ำ
§ ก่อนทำการตัดหญ้าให้ตรวจสอบว่าไม่มีวัตถุแปลกปลอมอยู่ในสนามหญ้า อย่างเช่น ของเล่น ท่อนไม้หรือก้อนหิน เป็นต้น
เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถตัดหญ้าได้อย่างปลอดภัย สนามหญ้าสวยงามและคุณก็ปลอดภัยจากอุบัติเหตุได้อีกด้วย

หญ้าที่นิยมปลูกในเประเทสไทย

หญ้าที่นิยมปลูกในเประเทศไทย


หญ้านวลน้อย (Manila Grass)หญ้านวลน้อย เป็นหญ้าพื้นเมืองของไทย เป็นหญ้าที่นิยมปลูกกันมาก สามารถขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินเหนียวหรือดินปนทราย และยังปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ดีได้ง่าย นอกจากนี้ยังทนต่อร้อนและแห้งแล้ง หรือที่น้ำท่วมขังแฉะได้เป็นครั้งคราว จึงนิยมปลูกกันมากเป็นหญ้าที่จัดอยู่ในประเภทใกล้เคียงกับหญ้าญี่ปุ่น แต่มีใบกว้างกว่า และการเจริญเติบโตเร็วกว่า ใบไม่แข็งกระด้างเหมือนหญ้าญี่ปุ่น หญ้าชนิดนี้ขึ้นง่ายและเจริญเติบโตเป็นแผ่นได้เร็วพอสมควร แต่ช่อดอกค่อนข้างยาวและเห็นได้ชัด ซึ่งจะขอกล่าวถึงลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้


1. ลำต้น จะตั้งและแข็งแรง มีลำต้นใต้ดินมาก ปลูกง่ายแตกกอได้เร็ว มีปล้องสั้น และลำต้นยืดหยุ่นตัวดี
2. ใบมีขนาดปานกลาง สีเขียวอ่อน ใบจะยืดหยุ่นตัวดีเช่นกันในเวลาที่เหยียบย่ำ แวลาเดินแล้วจะนุ่มเท้า ขึ้นคลุมดินได้แน่นดี ใบนุ่มกว่าหญ้าญี่ปุ่น และไม่ระคายผิวหนัง เมื่อตัดเรียบร้อยแล้วดูกล้ายพรม
3. ช่อดอกค่อนข้างยาว และดอกมีสีน้ำตาลดำเห็นได้ชัดในเวลาออกดอก
หญ้านวลน้อยนี้ ชอบขึ้นในที่กลางแจ้ง แต่ในที่ร่มมีแดดพอเพียงก็สามารถขึ้นได้ ถ้าไม่ตัดหญ้านี้เลยจะสูงประมาณ 6 นิ้ว


เป็นหญ้าที่ทนต่อการเหยียบย่ำ ทนต่อความแห้งแล้งหรือน้ำขังแฉะเป็นครั้งคราว ตลอดจนทนต่ออุณภูมิสูงได้ดี แต่ในฤดูแล้งต้องหมั่นรดน้ำอยู่เสมอมิฉะนั้นใบจะเหลืองแต่ไม่ถึงตาย นอกจากนี้ทนต่อดินเค็มได้บ้าง รวมทั้งยังต้านทานต่อโรงแมลงได้ดีใช้ทำสนามหญ้าทั่วไป เช่น สนามกีฬา สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ สถานที่ราชการ สวนหย่อมในบริเวณบ้าน โรงแรม สวนอาหาร บริษัทร้านห้างใหญ่ ๆ ในสนามกอล์ฟ ใช้ทำกรีน (Green) ซึ่งเป็นที่ตีลูกกอล์ฟลงหลุม ใช้ทำบริเวณ (Tee) ซึ่งเป็นที่เริ่มต้นตีกอร์ฟ ตลอดจนปลูกบนทางตีกอล์ฟ (Fair Wap) นอกจากนี้ยังใช้ในการจัดสวนทั่ว ๆ ไป เพราะเป็นหญ้าที่ทนการเหยียบย่ำ รวมทั้งเป็นหญ้าที่ดูแลรักษาง่าย กว่าหญ้าชนิดอื่น ๆ ถึงแม้จะปล่อยปละละเลยไปบ้าง เมื่อกลับมาดูแลรักษาใหม่ ก็ยังจะได้สนามหญ้าที่มีคุณภาพดีเหมือนกัน


การตัดหญ้า
ควรตัดในระยะ 0.75 - 1.5 นิ้ว โดยตัดทุก ๆ 1 - 2 สัปดาห์ เพราะด้วยเหตุที่ว่าหญ้านี้จะมีช่อค่อนข้างยาว ดอกมีสีน้ำตาลออกดก จึงทำให้สนามหญ้าไม่สวยในเวลาออกดอก จำเป็นต้องคอยระวังกำจัดช่อดอกให้หมดในช่วงฤดูกาลออกดอด เครื่องตัดหญ้าทั่วๆไปก็ไช้ได้ แม้กระทั้งกรรไกร หรือรถเข็นหญ้าก็ได้

การขยายพันธุ์
ใช้ลำต้นปลูก เพราะขยายพันธุ์ได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นหญ้าที่มีเมล็ดน้อย จึงไม่มีผู้ผลิตเมล็ดจำหน่ายข้อดี เป็นหญ้าที่ปลูกใช้ประโยชน์ได้ทั่วไป ใบมีขนาดกลางและนุ่มเท้า ทนต่อการเหยียบย่ำ ทนแล้ง และทนร่มบ้างการดูแลรักษาง่ายกว่าพันธุ์อื่นๆ
ข้อจำกัด ถ้าปล่อยให้หญ้าออกดอก ดอกของหญ้าเมื่อแก่จะเป็นสีดำ ดูแล้วสนามไม่สวย ถ้าปลูกในที่ร่มเงามากเกินไปจะไม่ได้ผล เพราะต้นหญ้าจะยาวมาก
ข้อแนะนำ ควรตัดตามกำหนด อย่าปล่อยให้ยาวจนมีดอก

หญ้าญี่ปุ่น หญ้าญี่ปุ่นนี้ มีถิ่นกำเนิดในแถบแมนจูเรีย ซึ่งบางที่ก็เรียก Kerean Lawngrass เนื่องจากมีการนำเมล็ดเข้าไปในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2473 แต่ภายหลังนิยมเรียกกันว่า japanese Lawngrass มากกว่า ซึ่งก็คงเนื่องจากอิทธิพลของการจัดสวนญี่ปุ่น ที่ใช้หญ้าชนิดนี้ เป็นส่วนประกอบใหญ่ ก็เลยเรียกว่า หญ้าญี่ปุ่น ติดปากกันมาทุกวันนี้เป็นหญ้าที่เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อน แต่สามารถเจริญเติบโตได้ในเขตหนาวและแห้งแล้ง ซึ่งมีการเจริญเติบโตดีพอสมควร แต่ปลูกในที่ชื่นหรือที่เฉาะไม่ดีนัก กล่าวคือ สามารถทนร่มได้ 50 % ในดินเค็มก็พอจะปลูกได้แต่ก็ไม่ดีนัก ดินที่เหมาะสมกับหญ้านี้ควรมีความเป็นกรดเป็นด่าง pH ประมาณ 6 - 7 และหญ้าก็ยังชอบขึ้นในดินเหนียวด้วย

หญ้าญี่ปุ่นมี 2 ชนิด
1. ชนิดใบกว้าง จะมีใบประมาณ 4 มิลลิเมตร
2. ชนิดใบกลม ใบเล็กและละเอียดกว่า ซึ่งเป็นที่นิยมปลูกในประเทศไทยมากลักษณะของหญ้าญี่ปุ่นลำต้น เป็นพวกเลื้อยตามดิน และลำต้นจะตั้งแข็งทั้งลำต้นบนดิน และลำต้นใต้ดินใบ ใบสีเขียวเข้ม ใบเล็กละเอียดกลมแข็ง ปลายใบแข็งและแข็งกระด้างเวลาสัมผัสจะระคายผิวหนัง ขอบใบเรียบไม่มีขนดอก ช่อดอกสั้น ดอกเล็ก และมีสีน้ำตาลออกดำ ดอกจะรวมกันแน่นบนก้านดอก ดอกจะบานจากส่วนล่างขึ้นบนหญ้าญี่ปุ่นนี้ ต้องการน้ำมาก และการเจริญเติบโดช้า ต้องใช้เวลาเป็นเดือนเป็นปีกว่าจะขึ้นเต็มสนาม ถ้าแห้งแล้งนาน ๆ หรือขาดน้ำใบจะเหลืองทันทีเป็นหญ้าที่ทนต่อการเหยีบย่ำพอสมควร และไม่ค่อยยืดหยุ่นตัวเหมือนหญ้านวลน้อยเป็นหญ้าที่ต้องการปุ๋ยไม่มากนัก ทนต่ออากาศหนาวได้ดี อาจทนได้ถึงประมาณ 10 - 20 องศาฟาเรนไฮด์ ทนต่อโรคหรือแมลงต่าง ๆ ได้มากกว่าหญ้าชนิดอื่นหญ้าญี่ปุ่นนี้เจริญเติบโตช้า แต่เมื่อขึ้นแล้วจะหนาแน่นมาก ขึ้นคลุมดินวัชพืชไม่สามารถขึ้นแข่งได้ การแต่งไม่บ่อยนัก เพราะเจริญเติบโตช้า ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ ก็จะเป็นกระจุก การตัดแต่งลำบาก

การตัดแต่ง
หญ้าชนิดนี้จำต้องตัดให้สั้นประมาณ 0.5 - 1.0 นิ้ว โดยตัดทุก ๆ 5 - 10 วัน ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานวัน หญ้าจะขึ้นเป็นจุก เมื่อตัดหญ้าจะมีสีเหลืองเป็นหย่อม ๆ มองดูแล้วหน้าเกลียด ไม่สวยงาม ซึ่งเป็นข้อเสียของหญ้าชนิดนี้ เนื่องจากหญ้าญี่ปุ่นมีลำต้นและใบแข็งกระด้างมาก ดังนั้นการใช้เครื่องตัดหญ้าต้องมีกำลังสูงและมีใบมีดที่คมมาก ใช้กรรไกรดัตไม่กี่วันก็หมดแรง เพราะมันขึ้นเป็นกระจุกทำให้ตัดยาก ลำต้น และใบก็เหนี่ยวด้วย ซึ่งทำให้กินแรงใน การตัดมาก แม้กระทั่งใช้ เครื่องตัดหญ้า ก็ต้องลับมีดบ่อยครั้ง เพื่อให้คมอยู่เสมอ

การขยายพันธุ์
สามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และใช้ส่วนต่าง ๆ ปลูก เช่น ลำต้น เหง้า ไหล แต่นิยมกันมากก็ใช้ส่วนต่าง ๆ โดยปลูกแยกต้นปลูก การปลูกเป็นกระจุก และการปูเป็นแผ่น ๆ ส่วนการปลูกด้วยเมล็ดไม่นิยมเพราะการเจริญเติบโตช้ามากข้อดี เป็นหญ้าที่เล็กมองดูแล้วสวยงามดี เหมาะสำหรับปลูกเป็นสวนหย่อม และพื้นที่ก็ควรไม่กว้างมากนัก และใช้ปลูกในบริเวณที่เป็นทางเข้าได้ดี เพราะสามารถป้องกันและควบคุมไม่ให้บุกรุกบนทางเท้าได้ง่ายกว่าหญ้าชนิดอื่นข้อจำกัด ใบหญ้าจะแข็งกระด้าง และปลายใบเล็กเรียวแหลม ทิ่มตำระคายผิวหนัง การตัดลำบากและกินแรงมาก

หญ้ามาเลเชีย หญ้ามาเลเชีย มีด้วยกัน 2 ชนิด

1. Common Carpet Grassเป็นหญ้าดั้งเดิมของอเมริกา ในแถบร้อน ซึ่งก็ปลูกกันทั่ว ๆ ไปในเขตร้อน และร้อนชื้น ใบกว้างประมาณ 2 - 6 มิลลิเมตร มีจำกัด คือ ช่อดอกย่อย จะมีลักษณะรูปไข่ปลายจะแหลม

2. Tropical Carpet Crassเป็นหญ้าที่ขึ้นอยู่ในแถบอเมริกากลาง อเมริกาตอนใต้ แถวเม็กซิโก บราซิล และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก แล้วนำมาปลูกในเขตร้อน ทนต่อ อุณหภูมิต่ำสู้ไม่ได้ แต่ก็ สามารถปรับตัวได้ดีในดินที่แห้งแล้ง มีใบกว้างประมาณ 2.0 - 2.5 มิลลิเมตร ใบมีขน ช่อดอกย่อย จะเป็นรูปไข่และแหลม หญ้ามาเลเชียชนิดนี้ นิยมปลูกในประเทศไทยสำหรับในเมืองไทยปลูกกันมานานแล้วในสวนยางพาราภาคใต้ ติดกับประเทศมาเลเชีย ซึ่งเราเรียกกันว่า หญ้าเห็บ และในบางท้องที่ก็เรียกว่า หญ้าไผ่ แต่เมื่อก่อน จะมีการปลูกขาย ก็ได้ตั้งชื่อเสียใหม่ว่า หญ้ามาเลเชีย จนติดปากกัน มาถึงทุกวันนี้ ซึ่งก็คิดว่าผู้ที่ปลูกขาย คงต้องการให้เห็นว่ามาจากเมืองนอก เพื่อให้ถูกใจคนไทย ที่นิยมของเมืองนอก เพื่อให้ขายได้ง่ายและได้ราคาสูง ซึ่งก็เป็นจริงตามที่คิดไว้


ลักษณะลำต้น จะแบนและมีลำต้นบนดินแตกออกทั้ง 2 ข้างของลำต้น ลำต้นบนดินไม่ยาวนัก รากจะแตกออกจากข้อของลำต้นบนดิน ที่เรียกว่า ไหล เมื่อไหลนี้สัมผัสกับดินรากและลำต้นใหม่ก็จะแตกออกจากข้อของไหล แล้วเจริญเติบโตแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วใบ ใหญ่กว่าใบหญ้าทุกชนิด ใบมีสีเขียวอ่อน มีรากตื้น ตัวใบแบน ตรงกลางใบจะหักพับคล้ายหลังคาบ้าน ขอบใบมีขนตั้งแต่ข้อต่อระหว่างตัวใบกับก้านใบจนถึง ยอดของใบในใบแก่จะมีขนเห็นได้ชัดเจนกว่าใบอ่อน และใบอ่อนจะเห็นเป็นคลื่นมากกว่าใบแก่ ขนที่ใบจะอยู่ด้านหน้าใบ ส่วนทางหลังใบจะเป็นมันไม่มีขน เส้นกลางใบทางด้านหลังจะนูนเด่นชัดเจน ยอดใบแหลมมนดอก ช่อดอกเกิดจากปล่องสุดท้ายของลำต้น มี 3 - 5 ช่อ ดอกย่อยเป็นรูปไข่แหลม ยาวประมาณ 2.0 - 2.5 ซม.ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางก็สามารถขึ้นได้ดี และสามารถขึ้นได้ดีในสถานที่ที่มีแสงน้อยหรือร่มรำไร เช่น บริเวณชายคาบ้าน และอาคารหรือใต้ต้นไม้ที่มีแดดรำไรไม่ชอบที่น้ำขังแฉะ ถ้าน้ำขังแฉะต้นจะแคระแกร็น ใบจะเหลืองและตายได้ การเจริญเติบโตได้ดี และมีรากแน่นถ้าปลูกในที่มีแสงน้อย ถ้าปลูกในที่มีแสงแจ้งมีแดดจัด จะทำให้ต้นแคระ ข้อปล้องจะสั้นมีสีแดง ส่วนใบก็จะเล็กลงและมีสีแดงด้วยหญ้านี้มีความต้องการน้ำมาก ซึ่งก็เนื่องจากมีใบใหญ่ จึงมีการคายน้ำมาก ในฤดูแล้ง ถ้าหากขาดน้ำไใบจะเหลือง และชงักการเจริญเติบโต และไม่ทนต่อการเหยียบย่ำหญ้ามาเลเชียนี้ไม่ต้องการการเอาใจใส่มากนัก และไม่ต้องตัดบ่อย ๆ เหมือนหญ้าอื่น ๆ นิยมใช้เป็นหญ้าคลุมหญ้าคลุมวัชพืชในสวนยาง สวนผลไม้ทางภาคใต้ เพราะขึ้นได้แน่นดี 

วัชพืชอื่น ๆ ไม่มีโอกาสขึ้นแซมได้
ประโยชน์ หญ้ามาเลเชียเป็นหญ้าที่ใช้ทำ สนามหญ้า และจัดสวนหย่อม เช่นเดียวกับ หญ้าชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะในที่ร่มร่ำไร สามารถเจริญ เติบโต ได้ดีในที่มี ความอุดม สมบูรณ์ต่ำ ไม่ทนต่อดินเค็ม หญ้ามาเลเชียที่ใช้ปลูกโดยเมล็ด จะสามารถ ป้องกัน การพังทะลายของดิน ในที่มีความลาดชันสูงได้ดีเช่นกัน ทนต่อดินเป็นกรดที่มี pH ประมาณ 4.5 - 5.5 เป็นหญ้าที่ชอบความชื้นสูง ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด

การตัดหญ้า ควรตัดในระยะ 1 - 2 นิ้ว โดยตัดทุก ๆ 10 - 15 วัน เครื่องตัดหญ้า สามารถใช้ได้ทุกชนิด รวมทั้งกรรไกร ก็ตัดได้ไม่กินแรง มากนักเหมือนกับหญ้าญี่ปุ่นการขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ได้ดีและเร็วในฤดูฝน มีการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และการใช้ส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะลำต้นเป็นกระจุก แบบปูเป็นแผ่น การปลูกด้วยเมล็ดจะลงทุนน้อย โดยการใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตรา 3 - 4 ปอนด์ ต่อเนื้อที่ 1,000 ตารางฟุต
ข้อดี เป็นหญ้าที่เหมาะสำหรับปลูกในที่ร่มร่ำไร หรือมีแสงน้อยได้ดี ต้องการการดูแลรักษาต่ำข้อจำกัด ถ้าปลูกในดินที่มีสภาพเหมาะสมสามารถเจริญเติบโตได้เร็วมาก ใบและกิ่งก้านจะหนาอวบใหญ่ เมื่อตัดต้นหญ้าแล้ว จะเป็นเสี้ยนดูไม่สวยงาม เมื่อปลูกรวมกับหญ้าชนิดอื่น ก็จะลามเข้าไปทับหญ้าชนิดอื่นตายได้ เป็นหญ้าที่ต้องการน้ำมาก และต้องมีความชื่นสม่ำเสมอ ถ้าปลูกในที่กลางแจ้งก็ปลูกได้ แต่ต้องให้น้ำมากกว่าปกติ และใช้เป็นหญ้าที่เหยียบย่ำมากไม่ได้ เพราะเมื่อเหยียบย่ำมาก ๆ ก็ฟื้นตัวช้า

ปัญหาที่พบกับงานดูแลสวนกับพรรณไม้ชนิดต่างๆ

ปัญหาที่พบกับงานดูแลสวนปัญหาที่เกิดกับพรรณไม้ชนิดต่างๆ

1ปัญหาที่พบกับไม้ยืนต้น
จากการสำรวจความผิดปกติและการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้นในพื้นที่โครงการ ปัญหาที่พบได้แก่
ก. วัชพืช ขึ้นตามพื้นที่ต่างๆเช่นสนามหญ้า กลุ่มไม้พุ่ม และไม้ยืนต้นต่างเป็นต้นพืชพรรณ ขาดการตัดแต่ง กิ่ง ก้าน ใบ และลำต้น ส่วนใหญ่พบมากกับไม้ยืนต้นที่มีลักษณะลำต้นสูง ตามริมรั้ว หากไม่มีการตัดแต่งกิ่งในบางส่วนทิ้งไปจะทำให้เกิดปัญหา คือ ทำให้ต้นไม้เสียรูปทรงและเกิดการเบียดเสียดของกิ่งที่ไม่ได้รับการตัดแต่ง หรือกิ่งที่แผ่ออกมาซึ่งปัญหาเหล่านี้จะทำให้ส่งผลกระทบแก่ ต้นไม้ที่อยู่ชั้นล่างจะไม่ได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่อาจทำให้พรรณไม้หยุดการเจริญเติบโตหรือการเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่
ข. ใบไม้ร่วงลงบนพื้นสนามหญ้า ทางเท้า ถ้าหากไม่มีการเก็บกวาดเศษใบไม้ที่ร่วงลงบนสนามหญ้าถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ จะส่งผลทำให้ปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ก่อให้เกิดการเน่าเปื่อยและเกิดการสะสมของเชื้อโรค โดยเฉพาะบริเวณในพื้นที่โครงการจะต้องทำการดูแลรักษาให้ดีและสนามหญ้าก็อาจตายได้ ในกรณีที่เป็นใบสนปฏิพัทธ์
ค. เกิดโรคใบเหลือง ใบไหม้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง และลำต้นตาย พบกับไม้จำพวก ปาล์มขวด, อินทนิล, เป็นต้น
ง. หนอนกัดกินใบ เช่น หนอนเจาะลำต้น หนอนปลอก พบกับต้นปาล์มชนิดต่างๆ
จ. ขาดการสับขอบ พรวนดิน ถอนหญ้า กำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้น การสับขอบบริเวณโคนต้นไม้มีอยู่หลายรูปแบบแล้วแต่การออกแบบว่าต้องการแบบไหน มีทั้งรูปวงกลม วงรี สี่เหลี่ยม หรือรูปห้าเหลี่ยม ก็ได้ ซึ่งประโยชน์ในการสับขอบได้แก่ ทำให้พื้นที่เกิดความสวยงาม ง่ายต่อการรดน้ำ การดูแลรักษา และประหยัดปริมาณน้ำที่ใช้รดต้นไม้

2) ปัญหาที่พบกับไม้พุ่ม จากการสำรวจพืชพรรณไม้พุ่มในพื้นที่โครงการ ปัญหาที่พบ ได้แก่
ก. ขาดการตัดแต่ง กิ่ง ก้าน ใบ และลำต้น พบกับไม้จำพวก โกสน , เทียนทอง, ชาใบข่อย , เข็มเชียงใหม่ เป็นต้น ถ้าหากไม่มีการตัดแต่งกิ่งเป็นระยะเวลานานๆ หากตัดแต่งแต่ละทีจะทำให้ต้นไม้ตั้งตัวไม่ได้และทรงพุ่มก็จะไม่ได้ตามต้องการ เช่น ต้องการตัดแต่งไทรทองให้มีทรงพุ่มกลม ก็จะต้องทำการตัดแต่งบ่อยๆ เพราะจะทำให้ได้รูปทรงที่แน่นและรูปทรงที่เราต้องการ
ข. ต้นไม้บางกลุ่มตาย ซึ่งเกิดจากสาเหตุของโรค และแมลงที่เข้าทำลาย รวมถึงขาดการดูแลรักษาจากคนสวน เช่น โรคใบไหม้ โรครา โรคใบจุด เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย ส่วนแมลงที่พบได้แก่ แมงกะชอน มดและปลวกความผิดปกติที่เกิดกับต้นไม้ทำให้ต้น ไม้ตาย รูปทรงผิดแปลกไปจากเดิม แคระแกรน ใบหยิกงอ ลำต้นเตี้ย ไม่สมบูรณ์ ใบเหลือง ใบไหม้ อันเนื่องมาจากการเกิดโรคและแมลงเข้าทำลาย
ค. ไม้บางต้นในพื้นที่โครงการไม่มีการสับขอบ และพรวนดิน เนื่องมาจากการดูแลไม่ทั่วถึงพื้นที่
ง. ต้นไม้บางกลุ่มถูกสายยางทับ เช่น การลากสายยางในการรดน้ำต้นไม้ น้ำหนักของน้ำในสายยางทำให้ไปกดทับไม้พุ่มที่มีอยู่ในพื้นที่โครงการ ทำให้ล้มตายได้
จ. วัชพืชขึ้นแซมในแปลงปลูกไม้พุ่ม เช่น หญ้าแห้วหมู หญ้าตีนนก ซึ่งวัชพืชเหล่านี้จะทำความเสียหายให้แก่ต้นไม้ที่ปลูกไว้ เป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ต้นไม้เจริญเติบโตไม่เต็มที่เนื่องจากถูกวัชพืชที่ขึ้นแซมแย่งธาตุอาหาร เกิดโรคที่ติดมากับวัชพืชแพร่มาใส่ต้นไม้ ต้นไม้ที่ปลูกไว้ไม่มีความสวยงาม
ฉ. ต้นไม้บางกลุ่มปลูกใต้ต้นไม้ยืนต้นที่มีขนาดใหญ่ แต่ขาดการดูแลตัดแต่งทำให้ไม้พุ่มที่เจริญเติบโตอยู่ด้านล่างของไม้ยืนต้นขนาดใหญ่นี้มีการเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่หรือส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต เช่น มีการเปลี่ยนแปลงของสีใบ , แคระแกร็น เป็นต้น

3) ปัญหาที่พบในไม้คลุมดิน
จากการสำรวจพรรณไม้คลุมดินในพื้นที่โครงการ ปัญหาที่พบได้แก่
ก. มีวัชพืชขึ้นแซมในแปลงไม้คลุมดิน เช่น หญ้าแห้วหมู หญ้าหวาย หญ้าตีนกา หญ้าเจ้าชู้ เป็นต้น ซึ่งวัชพืชเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อต้นไม้ที่ปลูกไว้หลายๆ อย่าง ได้แก่ การเจริญเติบโตไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากวัชพืชแย่งธาตุอาหาร รูปทรงรูปร่างผิดแปลกไปจากเดิม ใบหยิกงอ และเป็นที่มาของโรคที่ติดมากับวัชพืช เป็นต้น
ข. มีอาการของโรคและแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายไม้คลุมดินบางชนิดต้นไม้ที่พบได้แก่่ รางทอง, บัวดิน, หลิวไต้หวัน สำหรับโรคที่พบคือ โรคใบจุด รา เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง ไรแดง ใบม้วน ส่วนแมลงสัตว์ ศัตรูพืช ได้แก่ หนอนด้วง หนอนปลอก มด เป็นต้น อาการของโรคเหล่านี้ากไม่รีบทำการรักษาและแก้ไขจะระบาดไปทั่วทั้งพื้นที่
ค. ปัญหาที่พบกับไม้คลุมดินอีกอย่างคือ การดูแลรักษาพื้นที่ทั่วๆ ไปไม่ทั่วถึง เช่น การให้น้ำแก่พืชพรรณ การพรวนดิน การกำจัดวัชพืชในบางส่วนที่ทำไม่ทั่วทั้งพื้นที่
ปัญหาที่พบกับงานประเภทสนามหญ้า
สนามหญ้าในพื้นที่โครงการ มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ หญ้านวลน้อย และหญ้ามาเลเซีย ซึ่งหญ้าทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกัน คือ หญ้านวลน้อยเป็นหญ้าที่เจริญเติบโตได้ดีในที่กลางแจ้ง ชอบแสงแดดเต็มวัน ส่วนหญ้ามาเลเซียจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มและแสงแดดรำไร หากมีการนำไปใช้ผิดประเภทของคุณสมบัติของหญ้า อาจทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายโดยสิ้นเปลือง และเกิดผลเสียต่อหญ้าได้

ปัญหาที่พบกับหญ้านวลน้อย
หญ้านวลน้อย จากการสำรวจในพื้นที่โครงการ จะพบพื้นที่ที่มีการปลูกหญ้านวลน้อยเป็นส่วนใหญ่ เพราะหญ้านวลน้อยเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่กลางแจ้งและชอบแสงแดดเต็มวัน ปัญหาที่พบกับหญ้านวลน้อยได้แก่
1.1 ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบในสนามหญ้านวลน้อยในพื้นที่โครงการ โดยได้ทำการสำรวจและจากการสัมภาษณ์สอบถามคนงานในสวน พบว่า วัชพืชที่ขึ้นแซมตามพื้นที่การปลูกหญ้า เช่น หญ้าแห้วหมู, หญ้าคา, หญ้าหวาย, หญ้าพันโยชน์, หญ้าตีนกา ซึ่งวัชพืชเหล่านี้มักสร้างปัญหาให้กับสนามหญ้าและการดูแลรักษาสนามหญ้ามาก
1.2 ปัญหารองลงมาคือ แมลงศัตรูสนามหญ้า เป็นพวก มดแดงไฟ มดดำ หนอน และไส้เดือน แมลงเหล่านี้จะทำให้สนามหญ้าเกิดการเจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ หญ้าบาง แห่งมีสีเหลือง และใบแห้งตาย และมีขุ๋ยดินตามพื้นที่สนามหญ้าที่เกิดจากไส้เดือน
1.3 ปัญหาเรื่องการตัดหญ้าไม่ทันเพราะบางฤดูหญ้าจะมีการเจริญเติบโตเร็วกว่า ฤดูอื่นๆ รวมไปถึงวัชพืชที่ขึ้นในสนามหญ้าและที่อื่นๆ ซึ่งในโครงการ การ์เด้น ปาล์ม คันทรี่ รีสอร์ท มีคนงานในการตัดหญ้าน้อย แต่พื้นที่การดูแลมาก ในการปฏิบัติงานต่างๆ จึงไม่ ทั่วถึง
1.4 ปัญหาเรื่องของเศษใบไม้ร่วงลงบนสนามหญ้า หากไม่มีการเก็บกวาดเศษใบไม้ออกจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย และทำให้มองดูแล้วไม่สวยงามแก่ สนามหญ้า

การจัดการปัญหากับงานดูแลสวน

การจัดการปัญหากับงานดูแลสวน

จากการศึกษาสำรวจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับพืชพรรณภายในพื้นที่โครงการไม่ว่าจะเป็นไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้คลุมดิน ในพื้นที่โครงการพอจะสรุปถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดมีลักษณะคล้ายกัน คือ ปัญหาเรื่องการดูแลทั่วๆ ไป เช่น การตัดแต่ง การรดน้ำ การพรวนดิน วัชพืช โรคและแมลงที่เข้าทำลายพืชพรรณ ปัญหาเหล่านี้ได้สร้างความเสียหายให้แก่พืชพรรณต่าง ๆ หากไม่รีบทำการแก้ไขโดยเร็วและมีการแก้ไขอย่างถูกวิธีก็จะทำให้ปัญหาเหล่านี้ลุกลามไปทั่วพื้นที่ก่อนที่จะสายเกินไป ดังนั้นการจัดการเกี่ยวกับงานดูแลรักษาภูมิทัศน์จึงเป็นสิ่งสำคัญ

การจัดการปัญหาทั่วๆ ไป
- การตัดแต่ง การตัดแต่งพืชพรรณมีวัตถุประสงค์หลายอย่างและมีรูปแบบแตกต่างกันไป แล้วแต่วัตถุประสงค์ของการออกแบบสวนและการใช้ประโยชน์ การตัดแต่งจะ ช่วยให้ต้นไม้มีรูปร่าง รูปทรงที่สวยงาม มีการเจริญเติบโตที่สม่ำเสมอ สามารถตัดแต่งได้ตามที่เราต้องการ
- การรดน้ำ การให้น้ำต้นไม้เป็นสิ่งที่จำเป็นมากหลังจากที่เราปลูกต้นไม้แล้ว ถ้าหากต้นไม้ไม่ได้รับน้ำเพียงวันเดียวหรือชั่วข้ามคืน การเจริญเติบโตก็ไม่เป็นไปตามปกติ เช่นเดียวกับคน ถ้าหากไม่ได้ทานอาหารหรือน้ำก็จะทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า เปรียบเสมือนต้นไม้ที่ไม่ได้รับน้ำการรดน้ำต้นไม้มีหลายแบบซึ่งแต่ละแบบมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป
- การพรวนดินและการสับขอบ นอกจากจะทำให้เกิดความสวยงามแล้ว การพรวนดินเป็นการแก้ไขเรื่องดินแน่นเกินไป และเป็นการคลุกเคล้าเวลาใส่ปุ๋ยแก่ต้นไม้เพื่อที่ต้นไม้จะได้น้ำได้ปุ๋ยไปใช้ได้เร็วและทั่วถึง เป็นการย่อยสลายธาตุอาหารในดิน ส่วนการสับขอบโคนต้นหรือรอบๆ แปลงปลูก มีรูปแบบ หลายอย่าง เช่น การสับขอบเป็นรูปวงกลม วงรี รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปห้าเหลี่ยม ฯลฯ ขึ้นอยู่กับการออกแบบและความสะดวกในการสับขอบ การสับขอบนอกจากจะทำให้เกิดความสวยงามแล้วยังเป็นการประหยัดและรดค่าใช้จ่าย โดยการรดน้ำเป็นการสร้างขอบเขตพื้นที่ในการรดน้ำต้นไม้ไม่ให้น้ำไหลออกนอกบริเวณอื่น
การจัดการป้องกันโรคและแมลง
โรคและแมลงที่เป็นปัญหาต่อพืชพรรณในโครงการมีด้วยกันหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีลักษณะการเข้าทำลายที่แตกต่างกันตามชนิดของโรคและแมลงศัตรูพืช การจัดการดูแลรักษาก็แตกต่างกันไป การเลือกกำจัดโรคและแมลงผู้ใช้ต้องมีความรู้ความเข้าใจมากพอสมควร เพื่อความปลอดภัยและถูกวิธี รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องซื้อยาฆ่าแมลงต่างๆปัญหาที่พบในพืชพรรณที่มีสาเหตุมาจากโรคและแมลงนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ปัญหาที่เกิดจากแมลง เช่น เพลี้ยแป้ง หนอน เพลี้ยหอย ฯลฯ และปัญหาที่เกิดจากโรคซึ่งเกิดจากเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส
ก. การกำจัดแมลง ในการกำจัดแมลงนั้นแบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ

- แบบชนิดที่แมลงกินเข้าไป หรือถูกตัวแล้วตาย (Contact Poisons)เช่น เซฟวิน (Sevin) หรือ S-85 โดยใช้กำจัดแมลงที่กัดกินใบ ตา กิ่ง ผล ดอก ซึ่งเป็นแมลงทีอยู่ภายนอกสามารถสังเกตเห็นตัวได้
- แบบชนิดที่ดูดซึมเข้าไปในต้น (Systemic Poisons) เช่น อโซดริน (Azodrin) แลนเนท (Lannate) ฟูราดาน (Furadan) ใช้กำจัดแมลงที่ใช้ปากเจาะเข้าไปดูดซึมน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของต้นไม้
ข. การกำจัดโรค ในการกำจัดโรคต่างๆ แบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ
- ยาที่ใช้ฉีดที่สำหรับกำจัดเชื้อราเช่น เบนเลท (Banlate)
- ยาที่ใช้ตรงโคนต้นสำหรับกำจัดเชื้อรา เช่น ไดเทน (Dithane)
ค. การป้องกันกำจัดแมลงและโรคในพืช แบ่งได้เป็น
- เก็บไข่แมลงหนอนผีเสื้อส่วนต่างๆ ที่เป็นโรคไปทำลายโดยการเผา
- ตัดแต่งกิ่ง ใบ ของต้นไม้ให้โปร่งเพื่อให้แสงแดดส่องเข้าไปในทรงพุ่มได้
- กำจัดวัชพืชบริเวณโดยรอบให้สะอาด
- ใช้ยากำจัดแมลงและโรคในกรณีที่มีการระบาดมาก ๆ ซึ่งวิธีการใช้และ ส่วนผสมของยาที่ถูกต้องจะมีบนฉลากยาเรียบร้อยแล้ว
โดยหลักการแล้วหากมีการจัดการที่ดีที่ถูกต้อง และพรรณไม้มีความสมบูรณ์แข็งแรงโรคต่างๆ จะไม่สามารถเข้ามาทำอันตรายให้แก่พืชพรรณได้ หรือหากมีก็จะมีจำนวนน้อย ดังนั้น นักภูมิทัศน์ละผู้ดูแลจึงควรให้ความสำคัญในขั้นตอนของการจัดการดูแลรักษางานภูมิทัศน์ อย่างสม่ำเสมอ

ตัวอย่างโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ

ก. โรคใบแห้ง ใบเหลือง (Leaf Blight) เป็นโรคที่พบมากเท่ากับโรคแอนแทรกโนสของต้นไม้และโรคทั้งสองนี้มักจะพบเกิดร่วมกัน ทำให้อาการร้ายแรงเพิ่มมากขึ้นกว่าที่จะเป็นเฉพาะโรคใดโรคหนึ่ง ต้นไม้ที่พบโรคนี้ระบาดเสมอไปทั่ว ได้แก่ พวกเข็ม คัทรียา ออนซิเดียม ลูกผสมแวนด้า รองเท้านารีฯลฯ
- อาการ ใบเริ่มแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อน บางทีมีขอบสีน้ำตาลแก่ อาการใบแห้งใบเหลืองอาจจะเริ่มจากจุดใดจุดหนึ่งนใบหรือเริ่มจากโคนใบไปหรือจากปลายใบเข้ามา แผลที่กล่าวนี้จะขยายวงกว้างออกไป ไม่มีขอบเขตจำกัด ซึ่งอาจจะทำให้ใบแห้งหมดทั้งใบหรือแห้งกว่าครึ่งใบก็มี บนเนื้อเยื่อที่แห้งเป็นสีน้ำตาล จะเห็นการเจริญของเชื้อราขยายตามออกไปด้วย โดยมีตุ่มสีดำเล็กๆ ขึ้นเรียงเป็นวงกลมซ้อนกันขยายใหญ่ออกไปตามแผล ถ้าปล่อยไว้อาจจะลามไปยังใบอื่นๆ ทำให้ต้นทรุดได้ อาการบนต้นไม้สกุลต่างกัน อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง เช่น พวกรองเท้านารีบางชนิดใบแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง
- สาเหตุ โรคนี้เกิดจากเชื้อราที่มีชื่อสกุล Phyllostucta sp.
- การแพร่ระบาด เชื้อโรคแพร่ระบาดโดยสปอร์ ซึ่งเกิดภายในตุ่มเล็ก ๆบนแผลแตกปลิวกระจายไปตามลมได้มากกว่าวิธีอื่นๆ
- การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นยาพวกแคปแทน 50 หรือยาป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดอื่นที่มีขายในท้องตลาดเป็นระยะๆ เช่นเดียวกับโรคแอนแทรกโนส การฉีดยาป้องกันโรคนี้จะคุ้มกันไปถึงโรคแอนแทรกโนสและโรคอื่นๆ อีกหลายโรค

ข. โรคใบจุดสีดำ (Black Spot) เป็นโรคที่ระบาดร้ายแรงและรวดเร็วมาก ต้นไม้ที่เป็นโรคนี้แล้วใบจะเหลืองและร่วงหมด ทำให้ต้นไม้ชะงักการเจริญเติบโต กว่าจะผลิใบและดอกใหม่อีกก็กินเวลานาน ต้นไม้อาจจะหมดกำลังถึงแก่ความตายได้ ถ้ามีการผลิใบแล้วร่วงไปหลายครั้งในเวลาติดต่อกันโรคนี้จะระบาดมากในฤดูฝนตกชุก ซึ่งอากาศมีความชื้นมาก หรือในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง
- อาการ ใบที่เป็นโรคนี้เริ่มมีจุดวงกลมสีดำที่ผิวด้านบนของใบ วงกลมนี้จะขยายวงกว้างออกไปอย่างรวดเร็วในที่มีอากาศชื้นขนาดของวงกลมแตกต่างกันบ้าง แต่ส่วนมากมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ½ - 1 เซนติเมตร ถ้าสังเกตดูดี ๆ จะเห็นเป็นวงกลมสีดำ เป็นลักษณะของเส้นใยขนาดเล็กที่เจริญแผ่ออกไปเป็นรัศมีวงกลมและอาจจะมี ก้อนสีดำเล็กๆ กระจัดกระจายอยู่ตรงกลางบนเส้นใยเหล่านั้น วงกลมสีดำ ดังกล่าวบางวงอาจจะมีเนื้อเยื่อโดยรอบแผลเป็นสีเหลือง หรืออาจจะมีเนื้อใบเหลืองแล้วร่วงหลุดไปตามก้านใบอาจจะพบแผลวงกลมลักษณะเดียวกัน ซึ่งจะทำให้ใบเหลืองและร่วงเร็วยิ่งขึ้น
- สาเหตุ โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Diplocarpon rosae Wolf ในเมืองไทยมีอากาศร้อนและความชื้นสูง เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราชนิดนี้มาก จึงพบการสร้างสปอร์และการเจริญเติบโตในลักษณะของเชื้อรา ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ อีกชื่อหนึ่งว่า Marssonina rosae (Lib.) Lind.
- การแพร่ระบาด เชื้อโรคแพร่ระบาดไปได้โดยสปอร์ของเชื้อราที่เกิดบนแผลปลิวกระจาย ไปตามลม หรือถูกฝนชะล้างไป หรือติดไปกับตัวแมลงต่างๆ ที่มีวนเวียน อยู่ในสวน เชื้อโรคอาศัยอยู่บนใบที่ตกหล่นอยู่บนพื้นดินได้เป็นระยะเวลานาน ๆ นอกจานี้การ แพร่หลายกระจายระบาดจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง เกิดได้โดยติดไปกับกิ่งพันธุ์จากสวนที่มีโรคนี้ระบาดอยู่ก่อน ในฤดูฝนโรคจะระบาดมากเพราะสภาพสิ่งแวดล้อมเหมาะสมกับการเกิดโรค

- การป้องกันกำจัด มีหลักในการปฏิบัติที่จะทำให้เกิดโรคนี้ลดน้อยลงหรือหมดไปได้ ดังนี้คือ

1. กิ่งพันธุ์ที่ซื้อมาปลูกควรจะตรวจดูอย่าให้มีใบที่มีแผลดังกล่าวติดมา ถ้ามีก็ให้รีบนำไปเผาไฟทำลายเ
2. ถ้าพบโรคนี้เกิดในสวนให้รีบทำการเก็บใบที่เป็นโรคออกให้หมด แล้วรวบรวมทำลายเสีย โดยการนำไปเผาไฟทำลาย
3. เมื่อเก็บไปทำลายแล้วจะต้องรีบทำการฉีดยาป้องกันกำจัดโรคนี้โดยเร็ว ควรจะฉีดพ่นยาทุกๆ 7-10 วัน ถ้าเกิดในฤดูที่มีฝนตกชุกจะต้องร่นระยะเวลาฉีดพ่นยาให้สั้นเข้าไปทุกๆ 5-7 วัน ต่อครั้ง ถ้าโรคระบาดมากยาป้องกันกำจัดเชื้อราที่มีประสิทธิภาพมีหลายจำพวกและหลายชนิด เช่น จำพวกสารประกอบทองแดง ซึ่งมีชื่อการค้าในตลาดแตกต่างกัน เช่น ยาคิวปราวิต (Cupravit) ยาคอปปริไซด์ (Coppricide) ฯลฯ ยาจำพวกไดไทโอคาร์บาเมท (Dithiocarbamates) ซึ่งมีชื่อการค้าต่างๆ เช่น ยาโลนาโคล (Lonacol) ยาไดเทนแซด 78 (Dithane Z78) ยาซินนิไซด์ (Zinicide) ยาโพลีแรม แซด (Poiyram Z) ฯลฯ ยาจำพวกแคปแทน (Captan) ซึ่งมีชื่อการค้าว่า Orthocide 50 ฯลฯ ยาจำพวกแพลแทน (Phaltan) และยาดาโคนิล (Daconil) ซึ่งมีจำหน่ายในท้องตลาด ยาอีกจำพวกหนึ่งเป็นยาประเภทดูดซึมเข้าไปทั่วลำต้นทำให้มีผลการป้องกันกำจัดดีขึ้น ยาประเภทนี้มีราคาสูง แต่ปริมาณที่ใช้น้อยกว่ายาจำพวกอื่นๆ ยานี้มีหลายชนิด เช่น ยาเบนโนมาย (Benomy) ซึ่งมีชื่อการค้าว่า เบนเลท (Benlate) ยาเต็กโต 90 (Tecto 90) ฯลฯ ยาที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนี้มีประสิทธิภาพต่อการป้องกันกำจัดโรคนี้เหมือนกันหมด จะได้ผลมากน้อยอย่างไรนั้นอยู่ที่ผู้ปฏิบัติบำรุงรักษา การฉีดพ่นยากุหลาบมิใช่เป็นการรักษาโรค แต่เป็นการฉีดยาไปเคลือบติดใบที่ยังไม่เป็นโรคโดยเฉพาะใบอ่อนที่แตกใหม่ ใบที่เป็นโรคแล้วไม่สามารถจะรักษาให้หายได้ ต้องเก็บรวบรวมไปเผาทำลายเชื้อราเสีย


ค. โรครากเน่า (Sclerotial root rot) โรครากเน่า มักจะเกิดกับสวนที่มีการใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์มาก สวนบางแห่งใส่ปุ๋ยคอกแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ปรากฎว่ามีโรคนี้ระบาดแต่อย่างใด และต้นเจริญเติบโตดี จึงควรจะระมัดระวังในเรื่องนี้ให้มาก
- อาการ จะปรากฎใบเหลืองแล้วแห้งตาย โดยเฉพาะใบที่อยู่ตอนล่างๆ ก่อนแล้วอาจจะเหลืองมากขึ้นจนในที่สุดอาจจะเหลืองตายหมดทั้งกอ ถ้าถอนต้นที่มีอาการใบเหลืองขึ้นมาดู จะพบรากเน่าผุเปื่อยเป็นสีน้ำตาล
- สาเหตุ โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii Sacc. เชื้อชนิดนี้สังเกตได้ง่ายเพราะมักจะมีเส้นใยสีขาว และเม็ดราเป็นก้อนสีขาวหรือสีดำ แทรกอยู่ระหว่างก้อนดินที่อยู่แถวบริเวณโคนต้น - การแพร่ระบาด เชื้อราแพร่ระบาดโดยเจริญเป็นเส้นใยแพร่ไปในดิน หรือติดไปกับดินที่ถูกเคลื่อนย้ายจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง
- การป้องกันกำจัด ในดินที่มีสภาพเป็นกรดมักจะมีเชื้อราชนิดนี้ระบาด เพราะฉะนั้น การใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ซึ่งทิ้งฤทธิ์กรดไว้ในดินมาก หรือใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียวจึงมักจะพบโรคนี้ การป้องกันกำจัด ควรปรับสภาพของดินและใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากกว่าปุ๋ยวิทยาศาสตร์


ง. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อรา Oidium Zibethii ระบาดในปีที่มีอากาศหนาว ฝนไม่ตกชุกมาก มีหมอกหรือความชื้นในอากาศสูง เชื้อโรคระบาดโดยปลิวไปกับลมหรือแมลงเป็นพาหะไปสู่ต้นอื่น
- ลักษณะอาการ เชื้อราเข้าทำลายผล ตั้งแต่เริ่มติดผลอ่อนจนกระทั่งผลแก่ ผิวของผลอ่อนจะมีผงสีขาวๆ คล้ายโรยด้วยแป้ง ในระยะที่เป็นมากๆ จะดูขาวไปทั้งผล เมื่อเป็นกับผลอ่อนจะร่วงไป แต่ถ้าเชื้อโรคเข้าทำลายเมื่อผลโตแล้วจะปรากฎเป็นขุยขาวๆ เกิดขึ้น แต่การเจริญเติบโตของผลมีขึ้นเรื่อยๆ และมีขุยดังกล่าวขึ้นปกคลุมผิวตามหนามและซอกหนาม การทำลายของโรคนี้ทำให้สีผิวผิดปกติ ผิวกร้าน ดูไม่สวยงาม โรคนี้หากเกิดในระยะติดผลอ่อนจะเป็นอันตรายมาก เพราะทำให้ผลอ่อนร่วงหล่นเป็นจำนวนมาก
- การป้องกันกำจัด ควรป้องกันด้วยการพ่นสารเคมีที่ต้นไม้จะออกผลระยะที่เริ่มติดผลอ่อนด้วยกำมะถันผงหรือกำมะถันผลชนิดละลายน้ำได้


จ. โรคราสนิม (Rust) โรคราสนิม หรือ โรครัสท์ ซึ่งแพร่ระบาดในฤดูหนาวฤดูเดียว ถ้าเป็นโรคนี้มาก ๆ ก็เกิดการเสียหายเช่นเดียวกับโรคราสนิมของพืชอื่นๆ เพราะทำให้ใบเหลืองแห้งหมด
- อาการ ใบมีจุดสีเหลืองเข้ม ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดเกิดขึ้นทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ จุดสีเหลืองนี้จะเพิ่มกระจายมากขึ้นจนทั่วทั้งใบในเวลาอันรวดเร็ว
- สาเหตุ โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Uromyces sp.
- การแพร่ระบาด เชื้อราแพร่ระบาดโดยสปอร์สีเหลืองที่เกิดบน
- การป้องกันกำจัด ใช้ยากำมะถันผลละลายน้ำฉีดพ่นหรือยาคาราเทน(Karathane) ฉีดพ่น


ฉ. เพลี้ยแป้ง (Mealy Bugs) เป็นแมลงชนิดปากดูด ลำตัวอ่อนนุ่ม ขนาดเล็ก มองจากภายนอกจะเป็นสีขาวคล้ายผงแป้ง ที่เกิดจากการกลั่นสารบางชนิดออกมาปกคลุมตัวเอง ผงแป้งนี้ไม่เปียกน้ำจึงทำให้สารป้องกันต่างๆ ซึมเข้าถึงตัวได้ยาก มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มตามยอดอ่อน โคนใบอ่อน ช่อดอก ใต้ใบ กิ่งก้าน และลำต้น ระบาดในฤดูแล้ง เพลี้ยแป้งจะกลั่นสารเหนียวออกจากลำตัว สารดังกล่าวมีรสหวานเป็นอาหารของมดแดงไฟและมดดำ เมื่อมดมากินน้ำหวาน ไข่และตัวอ่อนของเพลี้ยก็จะเกาะอาศัยไปกับตัวมด ทำให้แพร่ระบาดไปยังส่วนอื่นๆ ของต้น นอกจากนี้คราบน้ำหวานยังเป็นสาเหตุให้เกิดราดำ ลักษณะเป็นละอองสีดำคล้ายเขม่าไฟ มาเกาะกินคราบน้ำหวาน ปกคลุมอยู่ทั่วไปตามกิ่งและใบ เมื่อเพลี้ยแป้งดูดกินน้ำเลี้ยงก็จะปล่อยสารพิษบางชนิด ทำให้ต้นไม้ชะงักการเจริญเติบโตและแคระแกร็น ใบเหลือง ส่วนราดำที่เกาะปกคลุมตามใบจะทำให้ได้รับแสงไม่่เพียงพอต่อการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหาร
การป้องกันกำจัด
1. ตัดกิ่งที่มีเพลี้ยแป้งอาศัย เผาทำลายทิ้งเสีย
2. ฆ่ามดแดงไฟหรือมดดำที่เป็นพาหะด้วยยาเซฟวินหรือเอส 85 หรือสารที่มีส่วนผสมของคลอรีน เช่น ดิลดริน คลอเดน ผสมน้ำฉีดพ่นให้โดนตัวมด หรือราดดินบริเวณรังมด
3. ฉีดพ่นด้วนพาราไธออน (พาราไธน์ 4 อี) แลนเนท อโซดริน 60 ผสมน้ำให้โดนตัวเพลี้ย ทุก 15-30 วัน และควรผสมยาจับใบร่วมด้วยเพลี้ยแป้งจะกลั่นสารเหนียวออกจากลำตัว สารดังกล่าวมีรสหวานเป็นอาหารของมดแดงไฟและมดดำ เมื่อมดมากินน้ำหวาน ไข่ และ ตัวอ่อนของเพลี้ยก็จะเกาะ อาศัยไปกับตัวมด ทำให้แพร่ระบาดไปยังส่วนอื่นๆ ของต้น นอก จากนี้คราบน้ำหวานยังเป็นสาเหตุให้เกิดราดำ ลักษณะเป็นละอองสีดำคล้ายเขม่าไฟมาเกาะกินคราบน้ำหวาน ปกคลุม อยู่ทั่วไปตามกิ่งและใบ เมื่อเพลี้ยแป้งดูดกินน้ำเลี้ยงก็จะปล่อยสารพิษบางชนิดทำให้ต้นไม้ชะงัก การเจริญเติบโตและแคระแกร็น ใบเหลือง ส่วนราดำที่เกาะปกคลุมตามใบจะทำให้ได้รับแสงไม ่เพียงพอต่อการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหาร
4. ถ้ามีการระบาดมาก ใช้เทมมิค 10 จี ฝังดินรอบโคนต้นไม้ในรัศมีชายพุ่มใบ ระวังอย่าใช้ยามากเกินไปเกินกว่าที่ฉลากกำหนด

ช. หนอนผีเสื้อ (Leaf eating caterpillars) หนอนชนิดนี้จะคอยกัดกินใบ ทำให้ต้นสร้างอาการได้น้อยลงและชะงักการเจริญเติบโต แพร่ระบาดมากในช่วงต้นฤดูหนาว
- การป้องกันกำจัด จับทำลายทิ้ง หากระบาดมากใช้เซฟวิน หรือ เอส85 ดีดีที คลอเดน ฉีดพ่นบริเวณที่ถูกทำลาย

ซ. หนอนปลอก (Bagworms) ลักษณะเป็นหนอนที่มีปลอกหุ้มรอบลำต้น เพศเมียอาศัยอยู่ในปลอกตลอดชีวิตเพศผู้บินออกจากปลอกเพื่อไปผสมพันธุ์ในปลอกเพศเมียได้ หนอนปลอกจะกัดกินส่วนที่มีสีเขียวของพืช เกิดเป็นแผล มีลักษณะเป็นเยื่อโปร่งสานกัน
- การป้องกันกำจัด ปฏิบัติเช่นเดียวกับหนอนผีเสื้อ