RSS

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การจัดการปัญหากับงานดูแลสวน

การจัดการปัญหากับงานดูแลสวน

จากการศึกษาสำรวจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับพืชพรรณภายในพื้นที่โครงการไม่ว่าจะเป็นไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้คลุมดิน ในพื้นที่โครงการพอจะสรุปถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดมีลักษณะคล้ายกัน คือ ปัญหาเรื่องการดูแลทั่วๆ ไป เช่น การตัดแต่ง การรดน้ำ การพรวนดิน วัชพืช โรคและแมลงที่เข้าทำลายพืชพรรณ ปัญหาเหล่านี้ได้สร้างความเสียหายให้แก่พืชพรรณต่าง ๆ หากไม่รีบทำการแก้ไขโดยเร็วและมีการแก้ไขอย่างถูกวิธีก็จะทำให้ปัญหาเหล่านี้ลุกลามไปทั่วพื้นที่ก่อนที่จะสายเกินไป ดังนั้นการจัดการเกี่ยวกับงานดูแลรักษาภูมิทัศน์จึงเป็นสิ่งสำคัญ

การจัดการปัญหาทั่วๆ ไป
- การตัดแต่ง การตัดแต่งพืชพรรณมีวัตถุประสงค์หลายอย่างและมีรูปแบบแตกต่างกันไป แล้วแต่วัตถุประสงค์ของการออกแบบสวนและการใช้ประโยชน์ การตัดแต่งจะ ช่วยให้ต้นไม้มีรูปร่าง รูปทรงที่สวยงาม มีการเจริญเติบโตที่สม่ำเสมอ สามารถตัดแต่งได้ตามที่เราต้องการ
- การรดน้ำ การให้น้ำต้นไม้เป็นสิ่งที่จำเป็นมากหลังจากที่เราปลูกต้นไม้แล้ว ถ้าหากต้นไม้ไม่ได้รับน้ำเพียงวันเดียวหรือชั่วข้ามคืน การเจริญเติบโตก็ไม่เป็นไปตามปกติ เช่นเดียวกับคน ถ้าหากไม่ได้ทานอาหารหรือน้ำก็จะทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า เปรียบเสมือนต้นไม้ที่ไม่ได้รับน้ำการรดน้ำต้นไม้มีหลายแบบซึ่งแต่ละแบบมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป
- การพรวนดินและการสับขอบ นอกจากจะทำให้เกิดความสวยงามแล้ว การพรวนดินเป็นการแก้ไขเรื่องดินแน่นเกินไป และเป็นการคลุกเคล้าเวลาใส่ปุ๋ยแก่ต้นไม้เพื่อที่ต้นไม้จะได้น้ำได้ปุ๋ยไปใช้ได้เร็วและทั่วถึง เป็นการย่อยสลายธาตุอาหารในดิน ส่วนการสับขอบโคนต้นหรือรอบๆ แปลงปลูก มีรูปแบบ หลายอย่าง เช่น การสับขอบเป็นรูปวงกลม วงรี รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปห้าเหลี่ยม ฯลฯ ขึ้นอยู่กับการออกแบบและความสะดวกในการสับขอบ การสับขอบนอกจากจะทำให้เกิดความสวยงามแล้วยังเป็นการประหยัดและรดค่าใช้จ่าย โดยการรดน้ำเป็นการสร้างขอบเขตพื้นที่ในการรดน้ำต้นไม้ไม่ให้น้ำไหลออกนอกบริเวณอื่น
การจัดการป้องกันโรคและแมลง
โรคและแมลงที่เป็นปัญหาต่อพืชพรรณในโครงการมีด้วยกันหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีลักษณะการเข้าทำลายที่แตกต่างกันตามชนิดของโรคและแมลงศัตรูพืช การจัดการดูแลรักษาก็แตกต่างกันไป การเลือกกำจัดโรคและแมลงผู้ใช้ต้องมีความรู้ความเข้าใจมากพอสมควร เพื่อความปลอดภัยและถูกวิธี รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องซื้อยาฆ่าแมลงต่างๆปัญหาที่พบในพืชพรรณที่มีสาเหตุมาจากโรคและแมลงนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ปัญหาที่เกิดจากแมลง เช่น เพลี้ยแป้ง หนอน เพลี้ยหอย ฯลฯ และปัญหาที่เกิดจากโรคซึ่งเกิดจากเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส
ก. การกำจัดแมลง ในการกำจัดแมลงนั้นแบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ

- แบบชนิดที่แมลงกินเข้าไป หรือถูกตัวแล้วตาย (Contact Poisons)เช่น เซฟวิน (Sevin) หรือ S-85 โดยใช้กำจัดแมลงที่กัดกินใบ ตา กิ่ง ผล ดอก ซึ่งเป็นแมลงทีอยู่ภายนอกสามารถสังเกตเห็นตัวได้
- แบบชนิดที่ดูดซึมเข้าไปในต้น (Systemic Poisons) เช่น อโซดริน (Azodrin) แลนเนท (Lannate) ฟูราดาน (Furadan) ใช้กำจัดแมลงที่ใช้ปากเจาะเข้าไปดูดซึมน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของต้นไม้
ข. การกำจัดโรค ในการกำจัดโรคต่างๆ แบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ
- ยาที่ใช้ฉีดที่สำหรับกำจัดเชื้อราเช่น เบนเลท (Banlate)
- ยาที่ใช้ตรงโคนต้นสำหรับกำจัดเชื้อรา เช่น ไดเทน (Dithane)
ค. การป้องกันกำจัดแมลงและโรคในพืช แบ่งได้เป็น
- เก็บไข่แมลงหนอนผีเสื้อส่วนต่างๆ ที่เป็นโรคไปทำลายโดยการเผา
- ตัดแต่งกิ่ง ใบ ของต้นไม้ให้โปร่งเพื่อให้แสงแดดส่องเข้าไปในทรงพุ่มได้
- กำจัดวัชพืชบริเวณโดยรอบให้สะอาด
- ใช้ยากำจัดแมลงและโรคในกรณีที่มีการระบาดมาก ๆ ซึ่งวิธีการใช้และ ส่วนผสมของยาที่ถูกต้องจะมีบนฉลากยาเรียบร้อยแล้ว
โดยหลักการแล้วหากมีการจัดการที่ดีที่ถูกต้อง และพรรณไม้มีความสมบูรณ์แข็งแรงโรคต่างๆ จะไม่สามารถเข้ามาทำอันตรายให้แก่พืชพรรณได้ หรือหากมีก็จะมีจำนวนน้อย ดังนั้น นักภูมิทัศน์ละผู้ดูแลจึงควรให้ความสำคัญในขั้นตอนของการจัดการดูแลรักษางานภูมิทัศน์ อย่างสม่ำเสมอ

ตัวอย่างโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ

ก. โรคใบแห้ง ใบเหลือง (Leaf Blight) เป็นโรคที่พบมากเท่ากับโรคแอนแทรกโนสของต้นไม้และโรคทั้งสองนี้มักจะพบเกิดร่วมกัน ทำให้อาการร้ายแรงเพิ่มมากขึ้นกว่าที่จะเป็นเฉพาะโรคใดโรคหนึ่ง ต้นไม้ที่พบโรคนี้ระบาดเสมอไปทั่ว ได้แก่ พวกเข็ม คัทรียา ออนซิเดียม ลูกผสมแวนด้า รองเท้านารีฯลฯ
- อาการ ใบเริ่มแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อน บางทีมีขอบสีน้ำตาลแก่ อาการใบแห้งใบเหลืองอาจจะเริ่มจากจุดใดจุดหนึ่งนใบหรือเริ่มจากโคนใบไปหรือจากปลายใบเข้ามา แผลที่กล่าวนี้จะขยายวงกว้างออกไป ไม่มีขอบเขตจำกัด ซึ่งอาจจะทำให้ใบแห้งหมดทั้งใบหรือแห้งกว่าครึ่งใบก็มี บนเนื้อเยื่อที่แห้งเป็นสีน้ำตาล จะเห็นการเจริญของเชื้อราขยายตามออกไปด้วย โดยมีตุ่มสีดำเล็กๆ ขึ้นเรียงเป็นวงกลมซ้อนกันขยายใหญ่ออกไปตามแผล ถ้าปล่อยไว้อาจจะลามไปยังใบอื่นๆ ทำให้ต้นทรุดได้ อาการบนต้นไม้สกุลต่างกัน อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง เช่น พวกรองเท้านารีบางชนิดใบแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง
- สาเหตุ โรคนี้เกิดจากเชื้อราที่มีชื่อสกุล Phyllostucta sp.
- การแพร่ระบาด เชื้อโรคแพร่ระบาดโดยสปอร์ ซึ่งเกิดภายในตุ่มเล็ก ๆบนแผลแตกปลิวกระจายไปตามลมได้มากกว่าวิธีอื่นๆ
- การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นยาพวกแคปแทน 50 หรือยาป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดอื่นที่มีขายในท้องตลาดเป็นระยะๆ เช่นเดียวกับโรคแอนแทรกโนส การฉีดยาป้องกันโรคนี้จะคุ้มกันไปถึงโรคแอนแทรกโนสและโรคอื่นๆ อีกหลายโรค

ข. โรคใบจุดสีดำ (Black Spot) เป็นโรคที่ระบาดร้ายแรงและรวดเร็วมาก ต้นไม้ที่เป็นโรคนี้แล้วใบจะเหลืองและร่วงหมด ทำให้ต้นไม้ชะงักการเจริญเติบโต กว่าจะผลิใบและดอกใหม่อีกก็กินเวลานาน ต้นไม้อาจจะหมดกำลังถึงแก่ความตายได้ ถ้ามีการผลิใบแล้วร่วงไปหลายครั้งในเวลาติดต่อกันโรคนี้จะระบาดมากในฤดูฝนตกชุก ซึ่งอากาศมีความชื้นมาก หรือในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง
- อาการ ใบที่เป็นโรคนี้เริ่มมีจุดวงกลมสีดำที่ผิวด้านบนของใบ วงกลมนี้จะขยายวงกว้างออกไปอย่างรวดเร็วในที่มีอากาศชื้นขนาดของวงกลมแตกต่างกันบ้าง แต่ส่วนมากมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ½ - 1 เซนติเมตร ถ้าสังเกตดูดี ๆ จะเห็นเป็นวงกลมสีดำ เป็นลักษณะของเส้นใยขนาดเล็กที่เจริญแผ่ออกไปเป็นรัศมีวงกลมและอาจจะมี ก้อนสีดำเล็กๆ กระจัดกระจายอยู่ตรงกลางบนเส้นใยเหล่านั้น วงกลมสีดำ ดังกล่าวบางวงอาจจะมีเนื้อเยื่อโดยรอบแผลเป็นสีเหลือง หรืออาจจะมีเนื้อใบเหลืองแล้วร่วงหลุดไปตามก้านใบอาจจะพบแผลวงกลมลักษณะเดียวกัน ซึ่งจะทำให้ใบเหลืองและร่วงเร็วยิ่งขึ้น
- สาเหตุ โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Diplocarpon rosae Wolf ในเมืองไทยมีอากาศร้อนและความชื้นสูง เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราชนิดนี้มาก จึงพบการสร้างสปอร์และการเจริญเติบโตในลักษณะของเชื้อรา ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ อีกชื่อหนึ่งว่า Marssonina rosae (Lib.) Lind.
- การแพร่ระบาด เชื้อโรคแพร่ระบาดไปได้โดยสปอร์ของเชื้อราที่เกิดบนแผลปลิวกระจาย ไปตามลม หรือถูกฝนชะล้างไป หรือติดไปกับตัวแมลงต่างๆ ที่มีวนเวียน อยู่ในสวน เชื้อโรคอาศัยอยู่บนใบที่ตกหล่นอยู่บนพื้นดินได้เป็นระยะเวลานาน ๆ นอกจานี้การ แพร่หลายกระจายระบาดจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง เกิดได้โดยติดไปกับกิ่งพันธุ์จากสวนที่มีโรคนี้ระบาดอยู่ก่อน ในฤดูฝนโรคจะระบาดมากเพราะสภาพสิ่งแวดล้อมเหมาะสมกับการเกิดโรค

- การป้องกันกำจัด มีหลักในการปฏิบัติที่จะทำให้เกิดโรคนี้ลดน้อยลงหรือหมดไปได้ ดังนี้คือ

1. กิ่งพันธุ์ที่ซื้อมาปลูกควรจะตรวจดูอย่าให้มีใบที่มีแผลดังกล่าวติดมา ถ้ามีก็ให้รีบนำไปเผาไฟทำลายเ
2. ถ้าพบโรคนี้เกิดในสวนให้รีบทำการเก็บใบที่เป็นโรคออกให้หมด แล้วรวบรวมทำลายเสีย โดยการนำไปเผาไฟทำลาย
3. เมื่อเก็บไปทำลายแล้วจะต้องรีบทำการฉีดยาป้องกันกำจัดโรคนี้โดยเร็ว ควรจะฉีดพ่นยาทุกๆ 7-10 วัน ถ้าเกิดในฤดูที่มีฝนตกชุกจะต้องร่นระยะเวลาฉีดพ่นยาให้สั้นเข้าไปทุกๆ 5-7 วัน ต่อครั้ง ถ้าโรคระบาดมากยาป้องกันกำจัดเชื้อราที่มีประสิทธิภาพมีหลายจำพวกและหลายชนิด เช่น จำพวกสารประกอบทองแดง ซึ่งมีชื่อการค้าในตลาดแตกต่างกัน เช่น ยาคิวปราวิต (Cupravit) ยาคอปปริไซด์ (Coppricide) ฯลฯ ยาจำพวกไดไทโอคาร์บาเมท (Dithiocarbamates) ซึ่งมีชื่อการค้าต่างๆ เช่น ยาโลนาโคล (Lonacol) ยาไดเทนแซด 78 (Dithane Z78) ยาซินนิไซด์ (Zinicide) ยาโพลีแรม แซด (Poiyram Z) ฯลฯ ยาจำพวกแคปแทน (Captan) ซึ่งมีชื่อการค้าว่า Orthocide 50 ฯลฯ ยาจำพวกแพลแทน (Phaltan) และยาดาโคนิล (Daconil) ซึ่งมีจำหน่ายในท้องตลาด ยาอีกจำพวกหนึ่งเป็นยาประเภทดูดซึมเข้าไปทั่วลำต้นทำให้มีผลการป้องกันกำจัดดีขึ้น ยาประเภทนี้มีราคาสูง แต่ปริมาณที่ใช้น้อยกว่ายาจำพวกอื่นๆ ยานี้มีหลายชนิด เช่น ยาเบนโนมาย (Benomy) ซึ่งมีชื่อการค้าว่า เบนเลท (Benlate) ยาเต็กโต 90 (Tecto 90) ฯลฯ ยาที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนี้มีประสิทธิภาพต่อการป้องกันกำจัดโรคนี้เหมือนกันหมด จะได้ผลมากน้อยอย่างไรนั้นอยู่ที่ผู้ปฏิบัติบำรุงรักษา การฉีดพ่นยากุหลาบมิใช่เป็นการรักษาโรค แต่เป็นการฉีดยาไปเคลือบติดใบที่ยังไม่เป็นโรคโดยเฉพาะใบอ่อนที่แตกใหม่ ใบที่เป็นโรคแล้วไม่สามารถจะรักษาให้หายได้ ต้องเก็บรวบรวมไปเผาทำลายเชื้อราเสีย


ค. โรครากเน่า (Sclerotial root rot) โรครากเน่า มักจะเกิดกับสวนที่มีการใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์มาก สวนบางแห่งใส่ปุ๋ยคอกแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ปรากฎว่ามีโรคนี้ระบาดแต่อย่างใด และต้นเจริญเติบโตดี จึงควรจะระมัดระวังในเรื่องนี้ให้มาก
- อาการ จะปรากฎใบเหลืองแล้วแห้งตาย โดยเฉพาะใบที่อยู่ตอนล่างๆ ก่อนแล้วอาจจะเหลืองมากขึ้นจนในที่สุดอาจจะเหลืองตายหมดทั้งกอ ถ้าถอนต้นที่มีอาการใบเหลืองขึ้นมาดู จะพบรากเน่าผุเปื่อยเป็นสีน้ำตาล
- สาเหตุ โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii Sacc. เชื้อชนิดนี้สังเกตได้ง่ายเพราะมักจะมีเส้นใยสีขาว และเม็ดราเป็นก้อนสีขาวหรือสีดำ แทรกอยู่ระหว่างก้อนดินที่อยู่แถวบริเวณโคนต้น - การแพร่ระบาด เชื้อราแพร่ระบาดโดยเจริญเป็นเส้นใยแพร่ไปในดิน หรือติดไปกับดินที่ถูกเคลื่อนย้ายจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง
- การป้องกันกำจัด ในดินที่มีสภาพเป็นกรดมักจะมีเชื้อราชนิดนี้ระบาด เพราะฉะนั้น การใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ซึ่งทิ้งฤทธิ์กรดไว้ในดินมาก หรือใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียวจึงมักจะพบโรคนี้ การป้องกันกำจัด ควรปรับสภาพของดินและใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากกว่าปุ๋ยวิทยาศาสตร์


ง. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อรา Oidium Zibethii ระบาดในปีที่มีอากาศหนาว ฝนไม่ตกชุกมาก มีหมอกหรือความชื้นในอากาศสูง เชื้อโรคระบาดโดยปลิวไปกับลมหรือแมลงเป็นพาหะไปสู่ต้นอื่น
- ลักษณะอาการ เชื้อราเข้าทำลายผล ตั้งแต่เริ่มติดผลอ่อนจนกระทั่งผลแก่ ผิวของผลอ่อนจะมีผงสีขาวๆ คล้ายโรยด้วยแป้ง ในระยะที่เป็นมากๆ จะดูขาวไปทั้งผล เมื่อเป็นกับผลอ่อนจะร่วงไป แต่ถ้าเชื้อโรคเข้าทำลายเมื่อผลโตแล้วจะปรากฎเป็นขุยขาวๆ เกิดขึ้น แต่การเจริญเติบโตของผลมีขึ้นเรื่อยๆ และมีขุยดังกล่าวขึ้นปกคลุมผิวตามหนามและซอกหนาม การทำลายของโรคนี้ทำให้สีผิวผิดปกติ ผิวกร้าน ดูไม่สวยงาม โรคนี้หากเกิดในระยะติดผลอ่อนจะเป็นอันตรายมาก เพราะทำให้ผลอ่อนร่วงหล่นเป็นจำนวนมาก
- การป้องกันกำจัด ควรป้องกันด้วยการพ่นสารเคมีที่ต้นไม้จะออกผลระยะที่เริ่มติดผลอ่อนด้วยกำมะถันผงหรือกำมะถันผลชนิดละลายน้ำได้


จ. โรคราสนิม (Rust) โรคราสนิม หรือ โรครัสท์ ซึ่งแพร่ระบาดในฤดูหนาวฤดูเดียว ถ้าเป็นโรคนี้มาก ๆ ก็เกิดการเสียหายเช่นเดียวกับโรคราสนิมของพืชอื่นๆ เพราะทำให้ใบเหลืองแห้งหมด
- อาการ ใบมีจุดสีเหลืองเข้ม ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดเกิดขึ้นทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ จุดสีเหลืองนี้จะเพิ่มกระจายมากขึ้นจนทั่วทั้งใบในเวลาอันรวดเร็ว
- สาเหตุ โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Uromyces sp.
- การแพร่ระบาด เชื้อราแพร่ระบาดโดยสปอร์สีเหลืองที่เกิดบน
- การป้องกันกำจัด ใช้ยากำมะถันผลละลายน้ำฉีดพ่นหรือยาคาราเทน(Karathane) ฉีดพ่น


ฉ. เพลี้ยแป้ง (Mealy Bugs) เป็นแมลงชนิดปากดูด ลำตัวอ่อนนุ่ม ขนาดเล็ก มองจากภายนอกจะเป็นสีขาวคล้ายผงแป้ง ที่เกิดจากการกลั่นสารบางชนิดออกมาปกคลุมตัวเอง ผงแป้งนี้ไม่เปียกน้ำจึงทำให้สารป้องกันต่างๆ ซึมเข้าถึงตัวได้ยาก มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มตามยอดอ่อน โคนใบอ่อน ช่อดอก ใต้ใบ กิ่งก้าน และลำต้น ระบาดในฤดูแล้ง เพลี้ยแป้งจะกลั่นสารเหนียวออกจากลำตัว สารดังกล่าวมีรสหวานเป็นอาหารของมดแดงไฟและมดดำ เมื่อมดมากินน้ำหวาน ไข่และตัวอ่อนของเพลี้ยก็จะเกาะอาศัยไปกับตัวมด ทำให้แพร่ระบาดไปยังส่วนอื่นๆ ของต้น นอกจากนี้คราบน้ำหวานยังเป็นสาเหตุให้เกิดราดำ ลักษณะเป็นละอองสีดำคล้ายเขม่าไฟ มาเกาะกินคราบน้ำหวาน ปกคลุมอยู่ทั่วไปตามกิ่งและใบ เมื่อเพลี้ยแป้งดูดกินน้ำเลี้ยงก็จะปล่อยสารพิษบางชนิด ทำให้ต้นไม้ชะงักการเจริญเติบโตและแคระแกร็น ใบเหลือง ส่วนราดำที่เกาะปกคลุมตามใบจะทำให้ได้รับแสงไม่่เพียงพอต่อการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหาร
การป้องกันกำจัด
1. ตัดกิ่งที่มีเพลี้ยแป้งอาศัย เผาทำลายทิ้งเสีย
2. ฆ่ามดแดงไฟหรือมดดำที่เป็นพาหะด้วยยาเซฟวินหรือเอส 85 หรือสารที่มีส่วนผสมของคลอรีน เช่น ดิลดริน คลอเดน ผสมน้ำฉีดพ่นให้โดนตัวมด หรือราดดินบริเวณรังมด
3. ฉีดพ่นด้วนพาราไธออน (พาราไธน์ 4 อี) แลนเนท อโซดริน 60 ผสมน้ำให้โดนตัวเพลี้ย ทุก 15-30 วัน และควรผสมยาจับใบร่วมด้วยเพลี้ยแป้งจะกลั่นสารเหนียวออกจากลำตัว สารดังกล่าวมีรสหวานเป็นอาหารของมดแดงไฟและมดดำ เมื่อมดมากินน้ำหวาน ไข่ และ ตัวอ่อนของเพลี้ยก็จะเกาะ อาศัยไปกับตัวมด ทำให้แพร่ระบาดไปยังส่วนอื่นๆ ของต้น นอก จากนี้คราบน้ำหวานยังเป็นสาเหตุให้เกิดราดำ ลักษณะเป็นละอองสีดำคล้ายเขม่าไฟมาเกาะกินคราบน้ำหวาน ปกคลุม อยู่ทั่วไปตามกิ่งและใบ เมื่อเพลี้ยแป้งดูดกินน้ำเลี้ยงก็จะปล่อยสารพิษบางชนิดทำให้ต้นไม้ชะงัก การเจริญเติบโตและแคระแกร็น ใบเหลือง ส่วนราดำที่เกาะปกคลุมตามใบจะทำให้ได้รับแสงไม ่เพียงพอต่อการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหาร
4. ถ้ามีการระบาดมาก ใช้เทมมิค 10 จี ฝังดินรอบโคนต้นไม้ในรัศมีชายพุ่มใบ ระวังอย่าใช้ยามากเกินไปเกินกว่าที่ฉลากกำหนด

ช. หนอนผีเสื้อ (Leaf eating caterpillars) หนอนชนิดนี้จะคอยกัดกินใบ ทำให้ต้นสร้างอาการได้น้อยลงและชะงักการเจริญเติบโต แพร่ระบาดมากในช่วงต้นฤดูหนาว
- การป้องกันกำจัด จับทำลายทิ้ง หากระบาดมากใช้เซฟวิน หรือ เอส85 ดีดีที คลอเดน ฉีดพ่นบริเวณที่ถูกทำลาย

ซ. หนอนปลอก (Bagworms) ลักษณะเป็นหนอนที่มีปลอกหุ้มรอบลำต้น เพศเมียอาศัยอยู่ในปลอกตลอดชีวิตเพศผู้บินออกจากปลอกเพื่อไปผสมพันธุ์ในปลอกเพศเมียได้ หนอนปลอกจะกัดกินส่วนที่มีสีเขียวของพืช เกิดเป็นแผล มีลักษณะเป็นเยื่อโปร่งสานกัน
- การป้องกันกำจัด ปฏิบัติเช่นเดียวกับหนอนผีเสื้อ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น