RSS

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สรุปการจัดสวนและตกแต่งสถานที่

สรุปการจัดสวนและตกแต่งสถานที่

1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการจัดสวนและตกแต่งสถานที่
ปัจจุบันงานจัดสวนได้แพร่หลายและพัฒนาขยายงานด้านดอกไม้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากมนุษย์ได้เริ่มเห็นความสำคัญและคุณค่าความงดงามตามธรรมชาติ การจัดสวนและดูแลสวนจึงเกิดขึ้นทั้งในสถานที่ที่ส่วนตัวและสาธารณะ จึงทำให้เกิดอาชีพต่างๆที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น เช่น รับออกแบบสวน งานผลิตพรรณไม้ งานจัดสวนและดูแลรักษา
สำหรับรูปแบบสวนนั้นประกอบด้วย สวนตะวันออก ได้แก่สวนญี่ปุ่น จีนและไทย สวนแบบตะวันตก ได้แก่ สวนอียิปต์ เปอร์เซีย กรีสและดรมัน สเปน อิตาลี ฝรั่งเศษ อังกฤษและอเมริกา ซึ้งสวนแบบตะวันตกจะมีลักษณะคล้ายกันเนื่องจากได้รับอิทธิพลที่แผ่ขยายถึงกัน สวนรูปแบบของสวนที่จัดในเมืองไทย ปัจจุบันได้นำลักษณะของสวนทั้งสองแบบมาประยุกต์ตัดแปลงผสมผสานให้เกิดความเหมาะสมเพื่อให้เข้ากันได้กับบรรยากาศและสถานที่ในเมืองไทย

2.ทฤาฎีและองค์ประกอบของศิลปะการจัดสวน
เป็นความงดงามทางศิลปะ ซึ่งประกอบด้วยเส้นของต้นไม้ เช่น กิ่ง ก้าน ใบ ทรงพุ่ม ลำต้น ซึ่งเป็นส่วนถ่ายทอดความรู้สึกในทางความหมาย ความสวยงามและความภูมิฐาน ต้นไม้แต่ละชนิดจะมีรูปร่างและรูปพรรณ สัณฐาบอกขนาด เพื่อการเลือกใช้การจัดสวนในแต่ละสถานที่ตามความเหมาะสม นอกจากนี้ยังใช้รูปทรงมาร่วมพิจารณา เพื่อให้เห็นมิติสวนที่ชัดเจนขึ้น ขณะเดียวกันสิ่งที่แท้จริงในการมอง ได้แก่ ความหมาย รายละเอียด ของพื้นผิวซึ้งในการจัดจะพิจารณาความชัดเจน ความเป็นเอกภาพการตัดกันหรือการเข้ากันได้ของวัตถุที่ใช้ในการจัดสวน
นอกจากนี้ยังให้สีเป็นตัวเพิ่มความสวยงาม ถ่ายทอดความรู้และคุณค่าแก่ผู้พบเห็น ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงสัดส่วนที่เหมาะสม ระหว่างความดล่งและความทึบ เพราะเป็นสิ่งที่จะช่วยให้วัตถุต่างๆในสวน อาทิเช่น ต้นไม้ ก้อนหิน เฟอร์นิเจอร์ สนามหญ้า และทางเดิน มีขอบเขตที่แน่นอนและมีความเด่นชัดขึ้น จึงกล่าวได้ว่าองค์ประกอบทางศิลปะที่เหมาะสมและได้สัดส่วน จะช่วยให้สวนมีความสวนงามและทรงคุณค่ายิ่ง

3.หลักการออกแบบสวน
ในการออกแบบสวนให้สวยงามและมีความสมบูรณ์มากที่สุด ผู้ออกแบบจำเป็นต้องตระหนักถึงการนำองค์ประกอบของแบบให้เกิดจุดเด่น และจิตวิทยาในการออกแบบ ตลอดจนคุณสมบัติที่เป็นจริงของธรรมชาติมากำหนดลงในแบบให้เกิดการผสมผสานกันอย่างเหมาะสม จึงจะช่วยให้สวนที่จัดออมามีคุณค่าตามที่กำหนดไว้ในแบบเป็นอย่างดี

4.สวนประเภทต่างๆ
รูปแบบของสวนในเมืองไทย แบ่งออกได้หลายลักษณะทั้งในแง่ของหลักการและการาใช้ประโยชน์โดยยึดหลักการจัดสวนแบบประดิษฐ์ และแบบธรรมชาติเป็นพื้นฐานในการจัดสวนทุกประเภท นับตั้งแต่สวนเพื่อการอนุรักษ์และการศึกษา เช่น สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ สวนรุกขชาติ วนอุทยาน ซึ่งมีพื้นที่จำนวนมากด้วนการนำหลักการจัดสวนเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อให้เป็นที่พักผ่อนและท่องเที่ยวสำหรับสาธารณะชน นอกจากนี้ยังมีการจัดสวนในพื้นที่ขนาดเล็กเพื่อความสวยงามของสถานที่ บ้านเรือน และการเพิ่มคุณค่าให้กับตวบ้านซึ่งกำลังเป็นที่ได้รับความนิยมมากขึ้น
มนุษย์พยายามที่จะดึงธรรมชาติเข้ามาใกล้ตัวเพื่อการพักผ่อนย่อนใจ และลดความเครียด ดังนั้นรูปแบบของสวนจึงลอกเลียนแบบธรรมชาติมาดัดแปลงให้เกิดความสวยงามและใช้ประโยชน์ จึงเรียกชื่อสวนไปตามลักษณะและคุณสมบัติของสวนนั้นๆ เช่น สวนป่า สวนตกแต่ง สวนน้ำ สวนแห้ง สวนหิน สวนร่มเงา และสวนแบบเขตร้อนป็นต้น
นอกจากนี้การออกแบบสวนยังสามารถจัดสร้างขึ้นเพื่อสนองต่อจุดประสงค์ของผู้ใช้บางประเภท โดยคำนึงถึงหลักทางด้านสรีระของร่างกาย และสภาพของสถานที่ให้สามารถใช้ประดยชน์ได้คุ้มค่าต่อสาธารณะชน เช่น สวนสุขภาพ สวนเด็ก สวนชราและคนพิการ สวนสำหรับสถานที่ราชการ สวนลอยฟ้า และสวนกล เป็นต้น

5.องค์ประกอบของสวน
การกำหนดวัสดุต่างๆที่เหมาะสมกัยพื้นที่ให้กับสวนเช่น หิน ทางเดิน รั้วและประตูสวน น้ำ เฟอร์นิเจอร์ รูปปั้น แสงเงา ศาลาที่พักและซุ้มร่มเงา จะช่วยตกแต่งให้สวนสวยงามีจุดเด่น มีเสน่ห์และคุณค่า ชวนห้น่าอยู่และพักอาศัย รวมทั้งการแสดงขอบเขตให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย
การจัดสิ่งตกแต่งสวนคังกล่าวให้เข้ากันได้อย่างเหมาะสม จำเป็นต้องใช้เวลา ความรู้หลายแขนง มีสถานที่และงบประมาณที่เพียงพอ จึงจะได้สวนที่มีคุณค่าอันเนื่องมาจากมีการจัดองค์ประกอบที่ดี

6.การออกแบบและเขียนแบบจัดสวน
การออกแบบสวนที่ดีนั้น ต้องใช้หลักเกณฑ์ข้อกำหนดต่างๆ ในการออกแบบ นับตั้งแต่การสำรวจสถานที่ การพิจารณาแบบของตัวบ้าน จากนั้นจึงถ่ายทอดออกมาเป็นแบบที่ชัดเจนปฎิบัติให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ การออกแบบเขียนแบบจะไม่ยุ่งยากมากนัก ถ้ากระทำไปถาทขั้นตอนและหากออกแบบรู้จักปรับปรุงแก้ไขไปเรื่อยๆ จนเกิดความชำนาญ อย่างไรก็ดีในขั้นตอนการจัดสวนจริงๆ อาจต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมตามสถานการณ์อีกครั้งหนึ้ง เพื่อให้สวนสวยงามยิ่งขึ้น แต่ก็ควรให้เป็นไปน้อยที่สุดเพื่อความน่าเชื่อถือของผู้ออกแบบเอง

7.การดำเนินงานจัดสวน
การดำเนินงานจัดสวน มีขขั้นตอนและข้อตกลง เช่น งานก่อสร้างอาคารอย่างใดอย่างหนึ่งโดยทั่วไปกล่าวคือ ต้องมีรูปแบบที่ระบุรายระเอียดถึงชนิด ประเภท และปริมาณของวัสดุที่ใช้ตลอดจนวิธีการจัดที่ชัดเจน เพื่อการประเมินราคาได้ถูกต้องโดยอยู่บนพื้นฐานของความพอใจแห่งข้อตกลงซึ้งกันและกัน จากนั้นจึงปฎิบัติงานจัดสวนตามขั้นตอนประกอบด้วยการเตรียมวัตถุให้พร้อมสามารถใช้งานได้ทันที เมื่อต้องการจากนั้นจึงปรับดิน ปั้นเนิน เดินท่อน้ำ ท่อสายไฟใต้ดิน จัดวางหินตามรูปแบบที่กำหนดแล้วทำถนนและทางเท้า ต่อมาจึงปลูกต้นไม้ประเภทต่างๆ ได้แก่ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้คลุมดิน จากนั้นก็โรยกรวดในกรณีที่ต้องใช้มาตกแต่ง สุดท้ายคือปรับดินเพื่อการปลูกหญ้าตามที่ต้องการและก่อนมอบงานให้เจ้าของสวนควรให้คำแนะนำ และความรู้ในการดำรงรักษาสวนที่ถูกวิธี เพื่อจะได้สวนที่สวยงามตามรูปแบบที่ต้องการตลอดจนการสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันด้วย

8.พันธุ์ไม้และเครื่องมือจัดสวน
องค์ประกอบสำคํญของสวนอย่างหนึ่ง ได้แก่พันธุ์ไม้ประดับ เป็นสิ่งที่ช่วยให้สวนสดชื่น สวนจะมีบรรยากาศและทรงคุณค่ายิ่งขึ้นถ้ารู้จักเลือกปลูกพันธุ์ไม้ประเภทต่างๆ ได้ถูกต้อง หมาะสมกับสถานที่ทั้งในแง่การใช้ประโยชน์และความงดงามในเชิงสิลปะ
จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยเทคนิคและความมเข้าใจธรรมชาติเกี่ยวกับการปลูกพันธุ์ไม้แต่ละอย่างและจัดการใช้เครื่องมือจัดสวนประเภทต่างๆ ได้ถูกต้องในการบำรุงดูแลรักษาให้ต้นไม้เจริญงอกงามแลได้รูปทรงตามต้องการเป็นเวลาอันยาวนาน โดยมิต้องเปลี่ยนต้นบ่อยๆ

9.การบำรุงรักษาสวน
ส่วนประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลากชนิดล้วนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งเช่นกัน การบำรุงรักษาพันธุ์ไม้จึงเป็นหัวใจอันสำคัญยิ่งที่จะช่วยรักษาให้สวนงดงามอยู่เสมอ ไม้แต่ละชนิดได้แก่ ไม้ยืนต้น ไม้ในร่ม ไม้ใบประดับและไม้กระถางต่างต้องการบำรุงดูแลรักษาแตกต่างกันไป ซึ่งผู้ปลุกจำเป็นต้องเอาใจใส่และหมั่นสังเกตอยู่เสมอ จึงจะสามารถขจัดปํญหาต่างๆ ในการเลี้ยงดูได้
ปัจจุปันการบำรุงรักษาสวน เป็นภาระที่สำคัญสำหรับเจ้าของเนื่องจากไม่ค่อยมีเวลาดูแลวิธีการออกแบบให้ช็เวลาในการดูแลและบำรุงรักษาน้อยจึงได้รับความมนิยมมากขึ้น นอกจากนี้ผู้ออกแบบยังต้องคำนึงถึงปัญหาและข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในอดีตเพื่อใช้เป็นบทเรียนที่ดีสำหรับการออกแบบครั้งต่อไป อันจะทำให้การบำรุงรักษาสวนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และส่งผลให้สวนมีอายุยืนนานด้วยเช่นกัน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น