RSS

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาที่พบในการจัดการเครื่องมือ

ปัญหาที่พบในการจัดการเครื่องมือ



เครื่องมือในการดูแลรักษางานภูมิทัศน์ เป็นเครื่องทุ่นแรง ที่มีส่วนทำให้งานดูแลรักษาภูมิทัศน์ สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและคุณภาพของงานที่ดีขึ้น
1.1 ปัญหาที่พบในการจัดการเครื่องมืออุปกรณ์เครื่องจักรกล
- สภาพชำรุดทรุดโทรม (เก่า), สีร่อน, บิดเบี้ยว, หัก, แตก, ไม่คม, ขึ้นสนิม
- เครื่องยนต์มีเสียงดังสร้างความรบกวน
- ปัญหาเฉพาะส่วนของเครื่องจักรกล เช่น อะไหล่หายาก, กินน้ำมันมาก ฯลฯ
- ผู้ใช้เครื่องที่มีความชำนาญเฉพาะทางมีปริมาณน้อย
- การตรวจเช็คสต๊อกเครื่องมือ สารเคมี ไม่มีระบบ ไม่ต่อเนื่อง
1.2 ปัญหาที่พบในการจัดการเครื่องมือและอุปกรณ์งานดูแลรักษา
- สภาพชำรุดทรุดโทรม
- บิดเบี้ยว, หัก, แตก, ไม่คม, สนิม
- ไม่ทันสมัย
- อะไหล่สำรองไม่มีพร้อมที่จะทำการแก้ไขปัญหาในขณะนั้น
- การตรวจเช็คสต๊อกเครื่องมือไม่มีระบบ ไม่ต่อเนื่อง

การจัดการ
1) เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานทำความสะอาดและงานดิน เป็นเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาด การขุดดิน การตักดินการพรวนดิน การผสมดิน การตีดิน การเกลี่ยดิน การปรับระดับดิน การเคลื่อนย้ายดิน

การดูแลรักษา
หลังจากใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ทำความสะอาดตรวจสอบการคลอนระหว่างรอยต่อของตัวคราดกับด้ามคราด ถ้ามีปัญหาให้ขันนอต หรือขันสกรูให้เรียบร้อย เช็ดให้แห้ง เก็บไว้ในโรงเก็บเครื่องมือให้เรียบร้อย การดูแลรักษาจอบ เสียม หรือพลั่วขุดดิน และพลั่วตักดินก่อนเข้าเก็บโรงเก็บอุปกรณ์ มีดังนี้
- การทำความสะอาดในส่วนของตัวใบ ด้ามจับ แล้วเช็ดให้แห้ง
- ตรวจสอบจุดเชื่อมต่อระหว่างก้านยึดตัวใบ กับด้านมือจับ ดูการคลอนที่เกิดจากการคลายตัวของนอต สกรู ถ้ามีการคลายตัวให้แก้ไขให้แน่น
- ถ้าเกิดกรณีด้ามหัก หรือชำรุดต้องเปลี่ยนด้ามใหม่
- ลับปลายสุดของปากพลั่วใบคม เพื่อความคล่องตัวของการใช้งาน

2) เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานให้น้ำ เป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการนำน้ำจากจุดการจ่ายน้ำหรือก๊อกไปให้แก่พืชพรรณโดยใช้คนควบคุม ยกเว้นระบบติดตั้งโดยสมบูรณ์ทั่วทั้งบริเวณที่ควบคุมเวลาทำงาน โดยเครื่องควบคุมแบบอัตโนมัติ เครื่องมือและอุปกรณ์การให้น้ำที่จำเป็น
การดูแลรักษา
หลังใช้งานให้ทำความสะอาด เนื่องจากมีฝุ่น เศษใบไม้หรืออื่นๆ อุดตันได้

3) เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานใส่ปุ๋ย ป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาใช้สำหรับงานใส่ปุ๋ยแห้ง และใส่ปูนขาวเป็นหลัก แต่บางครั้งอาจนำไปใช้กับงานหว่านเมล็ดพืชที่มีเมล็ดขนาดเล็ก ยาปราบศัตรูพืชที่เป็นเม็ด
การดูแลรักษา
อย่าเก็บปุ๋ยที่เหลือใช้ไว้ในกระบะหลังใช้งานต้องล้างทำความสะอาด จนหว่านปุ๋ยช่องรูหยอดปุ๋ยให้หมด ถ้าเม็ดปุ๋ยตกค้างจะทำให้เกิดสนิมได้นื่องจากปุ๋ยดูดซับความชื้นเมื่ออยู่ในอากาศ ใช้น้ำมันหล่อลื่นหยอดแกนหมุน เพลาล้อและเก็บไว้ในโรงเก็บ

4) เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานกำจัดศัตรูพืช เป็นเครื่องมือที่ออกแบบสำหรับใช้งานกำจัดศัตรูพืช โรคแมลง วัชพืช ทั้งที่เป็นยาน้ำ และยาผง บางครั้งสามารถประยุกต์ใช้กับการใส่ปุ๋ยน้ำทางใบได้ด้วย แต่ต้องระวังเวลาเปลี่ยนกิจกรรมการใช้ ต้องล้างเครื่องมือให้สะอาด

5) เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานตัดหญ้าสนาม
การดูแลรักษา
- ทำความสะอาดทั่วไป และเน้นเฉพาะในส่วนของใบมีตัดหญ้า ฝาครอบเครื่อง ตัดหญ้าที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ สามารถใช้น้ำล้างให้สะอาดแล้วปล่อยให้แห้ง ถ้าเป็นเครื่องตัดหญ้าขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า ควรใช้ผ้าชุบน้ำให้หมาดๆ หรือผ้าเช็ดแห้งให้ทั่วดีกว่าการใช้น้ำล้าง
- การลับใบมีด ถอดใบมีดออกมาลับให้คมด้วยตะไบ หรือเครื่องลักมีด
- การหยอดน้ำมันเครื่อง ใช้กับรถตัดหญ้าแบบนั่งขับในส่วนแกน เพลา ล้อ
- ตรวจสอบเครื่องยนต์ในจุดที่สำคัญ เช่น น้ำมันเครื่อง หัวเทียน หม้อกรองอากาศ สายพาน เป็นต้น
- เครื่องไฟฟ้า ให้ตรวจสอบสายไฟ ปลั๊กไฟ และตรวจสอบในจุดที่คาดว่าจะทำให้อันตรายจากไฟฟ้ารั่วในกรณีที่ใช้เครื่องตัดหญ้าที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า

6) เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานตัดแต่งพืชพรรณ ประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ ได้แก่
ก. กรรไกรตัดแต่งกิ่งด้ามสั้น
ข. กรรไกรตัดแต่งกิ่งด้ามยาว
ค. กรรไกรตัดแต่งกิ่งแบบกระตุก
ง. เลื่อยตัดแต่ง
การดูแลรักษา
การดูแลรักษาทั่วไปหลังใช้งานควรทำความสะอาด แล้วเช็ดให้แห้ง ใช้น้ำมันหล่อลื่นเช็ดป้องกันสนิม ถอดใบมีดลับให้คม

7) เครื่องมือและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและซ่อมบำรุง อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่จำเป็น ได้แก่
1. รถเข็น แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
- รถเข็นล้อเดี่ยว
- รถเข็น 2 ล้อ
การดูแลรักษา
ทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งาน และคว่ำเก็บ ไม่ควรค้างวัสดุ ใดๆ ไว้ในกระบะ ตรวจสอบแกนเพลาล้อ ตลับลูกปืน ลมยาง นอตเชื่อมขาตั้ง การใช้งานไม่ควรให้น้ำหนักเกิดพิกัด
2. บันได (Ladders) บันได มี 2 แบบ คือ แบบพับได้และแบบบันไดพาด 2 ขา
การดูแลรักษา
หลังใช้งานให้พับเก็บและเก็บในที่ร่ม อย่าให้ถูกความชื้น ตรวจดูนอต สกรู ตัวไม้ บันไดอย่าให้เกิดชำรุดซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายเวลาปีนป่ายได้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น