RSS

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาและการจัดการบุคคล

ปัญหาและการจัดการบุคคล

เครื่องมือถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิบัติงานการดูแลรักษาภูมิทัศน์ จะต้องมีความพร้อมที่จะทำงาน โดยมีการจัดการ ดังนี้
1. ควรมีตารางการดูแล
2. ตารางเช็คจำนวน
3. ควรมีอะไหล่ที่พร้อมในการซ่อมบำรุง

การจัดการบุคคล

3.1 ปัญหาที่พบในการจัดการบุคลากร
- พนักงานขาดความรู้ ความเข้าใจในงานที่รับผิดชอบ
- การมอบหมายงานของพนักงานไม่มีระบบระเบียบ
- พนักงานภายในโครงการบางส่วน ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการทำงานที่ถูกต้องตามหลักการและวิธีการปฏิบัติ
- ปัญหาที่จัดว่าสำคัญอีกประการก็คือไม่มีหัวหน้างานในการควบคุม
- พนักงานทำงานไม่สม่ำเสมอ มาทำงานบ้างไม่มาบ้าง

การจัดการ
การจัดการบุคลากรในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากบุคลากรมาจากคนละทิศละทาง ดังนั้นผู้บริหารต้องมีแนวทางในการจัดการและวิธีการอื่นๆ อีก ทั้งนี้แล้วจะเป็นกลยุทธ์และวิธีของผู้บริหารแต่ละบุคคล ดังนั้นควรมีการวางแผนในการรับบุคคลเข้าทำงาน ดังนี้

1) การสรรหาบุคคลเข้าทำงาน
ก. ระบบอุปถัมภ์ (เป็นระบบชอบพอเป็นพิเศษ)
ข. ระบบคุณธรรม

2) การดำเนินการปฏิบัติงาน
การดำเนินการปฏิบัติงานเป็นขั้นตอนต่อจากการประมาณราคาที่มีการทำข้อตกลงหรือสัญญาบริการแล้ว การดำเนินการจะเกี่ยวข้องกับการวางแผนปฏิบัติงาน การเข้าปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน การเรียกเก็บเงิน การทำบัญชีและงบดุล

3) การวางแผนปฏิบัติงาน
เป็นการกำหนดแผนปฏิบัติ (Action Plan) ตามขอบเขตในข้อตกลงหรือสัญญาที่เข้าติงานจริง แบบการเข้างานไม่เต็มเวลา การดำเนินแผนปฏิบัติจะกำหนดเป็น 12 เดือนโดยระบุวันเวลาที่เข้าปฏิบัติงานตามรายละเอียดเกี่ยวกับงานที่จะต้องปฏิบัติบรรจุลงในตารางการปฏิบัติงาน แผนปฏิบัติงานควรแจ้งให้ฝ่ายปฏิบัติ เจ้าของโครงการหรือผู้ว่าจ้างได้รับทราบ เพื่อให้เข้าใจตรงกัน การรับรู้ในเวลาเนื้องานที่ปฏิบัติในครั้งนั้น ๆ โดยทำเป็น ปฏิทินการปฏิบัติงาน และสรุปเป็นกิจกรรม การปฏิบัติงาน การดูแลบำรุงรักษาในแต่ละเอียด ในรอบ 1 ปี ปฏิทินปฏิบัติงานดังกล่าว ฝ่ายควบคุมการปฏิบัติควรบรรจุเก็ยข้อมูล ในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือทำเป็นบอร์ดติดไว้ในที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนแก่คนงาน เพราะการทำงานในแต่ละเดือนประกอบไปด้วยหลายโครงการ การจัดทำปฏิทิน จะลดปัญหาความซับซ้อนและความวุ่นวาย เพื่อที่สามารถจัดคนเข้าทำงานได้อย่างเหมาะสมกับงาน

4) การเข้าปฏิบัติงาน
ฝ่ายควบคุมงานจะต้องจัดชุดเข้าปฏิบัติงานในแต่ละแห่งเป็นชุดทั่ว ๆไป เพื่อสะดวกในการควบคุมงานและชี้แจงงาน ให้เข้าใจในหลักการทำงานร่วมกัน กำหนดหน้าที่ปฏิบัติแต่ละคนในชุดนั้นรับทราบ งานใดเป็นงานปฏิบัติแยก งานใดเป็นงานปฏิบัติรวมกัน ให้แต่ละชุดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ เครื่องอำนวยความสะดวก ยานพาหนะให้พร้อมต่อการเข้าปฏิบัติงาน ก่อนเข้าปฏิบัติควรที่จะมีการแจ้งให้เจ้าของโครงการทราบว่าเราจะเข้าทำงานในวันนั้นๆ ทราบอีกครั้งหนึ่งก่อนที่มีการทำงานจริง
ก่อนลงมือทำงาน หัวหน้างานหรือผู้ควบคุมงานต้องชี้แจงงานที่จะต้องปฏิบัติในวันนั้นให้ผู้ที่ปฏิบัติงานทราบในขอบเขตการทำงาน ตลอดจนคำนึงถึงความปลอดภัย ขณะปฏิบัติงานหัวหน้างานหรือผู้ควบคุมควรที่จะประจำอยู่ที่โครงการนั้นๆ จนกว่าภารกิจจะสำเร็จเรียบร้อยสมบูรณ์ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วควรแจ้งให้ผู้ตรวจสอบผลงานทราบ เพื่อที่จะได้นำมาทำการตาวจสอบผลงานความเรียบร้อยทั้งหมดว่าเป็นไปตามปฏิทินที่กำหนดไว้หรือไม่

5) การตรวจสอบผลงาน
ฝ่ายตรวจสอบงานจะตระเวนตรวจงานในแต่ละโครงการที่ได้รับแจ้งจากผู้ควบคุมงาน เพื่อตรวจความเรียบร้อยของงานในแต่ละครั้งของการเข้าปฏิบัติงาน การเข้าปฏิบัติงานตามปฏิทินที่กำหนด โดยมีแบบฟอร์มตรวจสอบบันทึกเพื่อส่งงาน เมื่อฝ่ายตรวจสอบแล้วงานเรียบร้อยถูกต้องแล้ว ให้ทำใบส่งมอบงานหรือใบส่งของ 1 ชุด (ประกอบไปด้วยตัวจริงและสำเนา) เพื่อให้เจ้าของโครงการลงนามรับทราบในแต่ละครั้งหลังสิ้นสุดการทำงาน ซึ่งใบส่งมอบงานหรือใบส่งของดังกล่าวจะรวบรวมไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บเงินในขั้นต่อไป

บุคลากร

ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการประกอบธุรกิจ บริษัทที่มีการทำงานในหลายๆ รูปแบบและหลายๆ หน้าที่ของแต่ละคน ดังกล่าวแล้วต้องเป็นไปตามความสามารถของแต่ละคน ดังนั้น ในการจัดการมีแนวทางดังนี้
1. มอบหมายตำแหน่งให้แต่ละคนในการทำงานให้ชัดเจน
2. มอบค่าตอบแทนให้คุ้มต่อการทำงาน
3. ควรมีตารางการปฏิบัติงานของแต่ละคนให้ชัดเจน
4. ควรจัดให้มีเวลาพักผ่อน วันหยุดต่างๆ และควรจัดให้มีวันหยุดทุกวันอาทิตย์ (ปัจจุบันจัดให้มีวันหยุดเพียงวันที่ 1 ของเดือนเพียงครั้งเดียว)
5. ควรมีความเห็นอกเห็นใจกันในการทำงานไม่ควรแบ่งแยกระหว่างผู้บริหารกับลูกจ้าง
6. ควรเลือกใช้บุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ ในการทำงานได้รวดเร็ว และถูกต้องตามหลักการ และวิธีปฏิบัติ ไม่ควรใช้พนักงานชาวเขาต่างๆ เพราะจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น การสื่อสารที่ไม่เข้าใจต่อกัน, ขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ เป็นต้น
7. ควรมีการจัดประชุม สรุปผลงานที่ทำในแต่ละเดือน ว่าพบปัญหาและอุปสรรคอย่างไรบ้างเพื่อนำไปประยุกต์ปรับปรุงการปฏิบัติงานครั้งต่อไปให้ดีกว่าเดิม

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น